Display mode (Doesn't show in master page preview)

29 ตุลาคม 2553

เศรษฐกิจไทย

เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนก.ย. 2553...ชะลอตัวทั้งการผลิตและการส่งออก (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2974)

คะแนนเฉลี่ย

าพรวมตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนกันยายน 2553 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สะท้อนถึง ทิศทางการชะลอตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของเครื่องชี้การใช้จ่ายภายในประเทศ การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า เศรษฐกิจไทยกำลังโน้มชะลอลงเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2553 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินในเบื้องต้นว่า อัตราการเติบโตของ GDP ในช่วงไตรมาส 3/2553 อาจหดตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า และแม้ว่าอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) อาจมีค่าเป็นบวกสูงกว่าร้อยละ 5.5 เล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นทิศทางที่ชะลอลงจากอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักที่ร้อยละ 10.6 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553

สำหรับภาพรวมของไตรมาสสุดท้ายของปี 2553 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยน่าที่จะโน้มชะลอลงต่อเนื่องอีกท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทางการไทยไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาท แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ผลกระทบจากอุทกภัย/ภัยธรรมชาติ ซึ่งย่อมจะสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลต้องเร่งผลักดันมาตรการเยียวยาผลกระทบดังกล่าวข้างต้นออกมาให้ทันท่วงที ทั้งนี้ ก็เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะสะดุดลงตามความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลากหลายปัจจัยลบที่รอกดดันเศรษฐกิจ แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (ที่รองรับผลกระทบจากภาวะอุทกภัยร้อยละ 0.1-0.2 แล้ว) อาจขยายตัวได้ในกรอบร้อยละ 6.8-7.0 ในปี 2553 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย