Display mode (Doesn't show in master page preview)

4 พฤศจิกายน 2553

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ความเสี่ยงเงินเฟ้อ และฟองสบู่นอกสหรัฐฯ...ผลกระทบจาก QE 2 ของเฟด (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 2978)

คะแนนเฉลี่ย

ลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาเป็นไปตามที่คาด โดยเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในกรอบร้อยละ 0.0-0.25 ตามเดิม พร้อมกับประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์รอบสอง (QE 2) มูลค่าประมาณ 6.0 แสนล้านดอลลาร์ฯ จนถึงกลางปี 2554 ทั้งนี้ เฟดระบุเพิ่มเติมว่า เฟดจะทำการทบทวนจังหวะการเข้าซื้อ รวมถึงขนาดของโครงการซื้อสินทรัพย์รอบสองนี้ เป็นระยะๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จุดยืนเชิงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของเฟดดังกล่าว อาจเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางอ้อม (Side Effect) ต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอื่นๆ นอกสหรัฐฯ ซึ่งย่อมจะทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านั้น มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงิน ควบคู่ไปกับมาตรการด้านอื่นๆ ในการดูแล-ควบคุมความเสี่ยงเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่ต้องรับมือกับความแปรปรวนของกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ;ผลกระทบทางอ้อม” ประการแรก ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็คือ การปรับตัวแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ;ผลกระทบทางอ้อม” ที่ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ก็คือ การก่อตัวขึ้นของภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ของไทย (ทั้งตลาดหุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์) รวมไปถึงภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อจุดยืนเชิงนโยบายของธปท.เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีข้างหน้า ซึ่งอาจครอบคลุมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์

แม้ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย อาจเป็นสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็คาดว่า ธปท.และธนาคารกลางในภูมิภาค อาจจำต้องพิจารณาใช้มาตรการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมาตรการดังกล่าว อาจไม่ได้มุ่งเป้าหมายไปที่เสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เพื่อเสริมสร้างให้การดำเนินนโยบายการเงินด้วยเครื่องมืออัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลภารกิจด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระดับราคาในประเทศมีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ทางการไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านการคลัง ก็อาจพิจารณาจุดยืนนโยบายการคลังเป็นเชิงผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศที่ต้องรับมือกับความเสี่ยงหลายด้าน รวมถึงการชะลอตัวของการส่งออกในปีข้างหน้า

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ