Display mode (Doesn't show in master page preview)

8 เมษายน 2554

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ภัยพิบัติญี่ปุ่นครบรอบ 1 เดือน : วิกฤตนิวเคลียร์ยังไม่คลี่คลาย ...อาจฉุดเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 0.8 (YoY) ในปี 2554 (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2251)

คะแนนเฉลี่ย

เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ได้ก่อความเสียหายทางกายภาพที่ประเมินเบื้องต้นในวันที่ 22 มีนาคมโดยรัฐบาลญี่ปุ่นไว้ที่ระหว่าง 16 – 25 ล้านล้านเยน (1.97 – 3.08 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่อย่างไรก็ดี ในรอบ 1 เดือนหลังจากวันที่เกิดเหตุ สถานการณ์การระเบิดและรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ ยังคงไม่คลี่คลายลง รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจขยายออกไปมากกว่าที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้คาดไว้ ซึ่งล่าสุด เริ่มมีสัญญาณด้านลบจากภาคการผลิต ทั้งในส่วนของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Manager Index) และ Tankan Business Condition ในเดือนมีนาคม เนื่องจากภาคการผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนไฟฟ้า จนกระทั่งเกิดปัญหาไปทั่วโลกจากการขาดแคลนสินค้าทุนที่ผลิตในญี่ปุ่น นอกจากนั้น การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ยังมีผลกระทบด้านความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรส่งออกและการท่องเที่ยวในญี่ปุ่นอีกด้วย จนมีผลต่อห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดการณ์ว่า GDP ของญี่ปุ่นอาจชะลอตัวลงในปี 2554 เหลือร้อยละ 0.8 (YoY) โดยอาจหดตัวลงในไตรมาสแรกของปี 2554 ที่ร้อยละ 0.4 (QoQ) และอาจหดตัวรุนแรงยิ่งขึ้นในไตรมาสที่สองที่ร้อยละ 1.4 (QoQ) แต่อาจขยายตัวเป็นบวกได้ในครึ่งปีหลังจากการเร่งซ่อมแซมความเสียหายในด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ

นอกจากนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังอาจส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซ LNG ถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป จากการนำเข้าเพื่อทดแทนส่วนที่เคยผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่เสียหาย อีกทั้งราคาเหล็ก และทองแดงในตลาดโลกอาจสูงขึ้น จากการเร่งก่อสร้างซ่อมแซมความเสียหายในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งอาจยิ่งเร่งการเพิ่มขึ้นของต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกในปีนี้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ