Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 มีนาคม 2556

เศรษฐกิจต่างประเทศ

การตัดลดงบประมาณอัตโนมัติของสหรัฐฯ: แม้ยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ...แต่ผลกระทบน่าจะจำกัด (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2328)

คะแนนเฉลี่ย

ท้ายชั่วโมงการซื้อ-ขายของตลาดการเงินในเอเชียในวันที่ 1 มี.ค. 2556 ทำเนียบขาวและสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ยังคงไม่สามารถหาข้อสรุปของแนวทางการหลีกเลี่ยงการตัดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติ (Sequestration) วงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ได้ ทั้งนี้ วงเงินราวครึ่งหนึ่งของการตัดลดงบประมาณฯ ดังกล่าว ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2556 นี้ จะเป็นการตัดลดงบประมาณทางด้านกลาโหม (ราว 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ) ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะเป็นการตัดลดงบประมาณอื่นๆ ภายในสหรัฐฯ

โดยแม้วงเงินของการตัดลดงบประมาณฯ ดังกล่าว จะมีขนาดไม่สูงเทียบเท่าโจทย์หน้าผาทางการคลัง 6.0 แสนล้านดอลลาร์ฯ เมื่อต้นปี 2556 ของสหรัฐฯ แต่ความเป็นไปได้ที่มาตรการการตัดลดงบประมาณฯ จะมีการบังคับใช้จริง ก็ย่อมเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า จุดยืนที่แตกต่างกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองของสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้การแก้โจทย์ทางการคลังของสหรัฐฯ คืบหน้าได้อย่างช้าๆ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากการตัดลดงบประมาณฯ ของสหรัฐฯ มีผล 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ อย่างเต็มที่แล้ว สหรัฐฯ คงยากจะหลีกเลี่ยงแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เศรษฐกิจโลกก็อาจจะเผชิญกับข้อจำกัดมากขึ้นในการประคองสัญญาณเสถียรภาพด้วยเช่นกัน แต่กระนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สหรัฐฯ ยังมีเวลาในการแก้ไขให้ผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณฯ ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในกรอบที่จำกัด ซึ่งในกรณีนี้ ผลต่อไทยก็น่าจะจำกัดด้วยเช่นกัน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ