Display mode (Doesn't show in master page preview)

15 พฤษภาคม 2557

เศรษฐกิจต่างประเทศ

การเลือกตั้งอินโดนีเซีย 2557: ภาพสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจแดนอิเหนาในฐานะแหล่งลงทุนระดับโลก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2503)

คะแนนเฉลี่ย

ผลการเลือกตั้งทั่วไปของอินโดนีเซียที่ออกมาเมื่อวันที่ 9 .. 2557 พรรค PDI-P (Indonesian Democratic Party – Struggle) ของนางเมการ์วาตี ซูการ์โน่บุตรีได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดร้อยละ 18.95 ทำให้คาดว่านายโจโก้ วิโดโด้ ซึ่งเป็นตัวแทนพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในเดือน ก.. 2557 มีโอกาสสูงที่จะชนะการเลือกตั้ง

ในช่วงที่ผ่านมา อินโดนีเซียถือเป็นจุดหมายของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน โดยได้รับเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศในปี 2556 ที่ผ่านมาถึง 18.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน (ไม่รวมสิงคโปร์) ซึ่งการเข้ามาของรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน คงจะยิ่งเพิ่มแรงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้เข้าสู่อินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น และคงมีส่วนผลักดันเศรษฐกิจอินโดนีเซียให้สามารถเติบโตตามศักยภาพระยะยาวของประเทศได้

แนวทางของพรรค PDI-P ยังคงมุ่งเน้นและต้อนรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ แต่เริ่มให้น้ำหนักต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรรูปทรัพยากรทางธรรมชาติและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น รัฐบาลอินโดนีเซียที่กำลังจะเข้าดำรงตำแหน่งควรเร่งผลักดันการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักลงทุนในระยะยาว

หากมองในระยะสั้น การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากการเลือกตั้งปีนี้ คงส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียในปี 2557 ในกรอบที่จำกัด เนื่องจากกว่าประธานาธิบดีคนใหม่จะรับตำแหน่งคงเป็นช่วงปลายปี 2557 อีกทั้ง อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยังคงกดดันภาพรวมการบริโภคทั้งจากภาครัฐและเอกชน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ในปี 2557 ในขณะที่ มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังอินโดนีเซียคาดว่าจะอยู่ในกรอบร้อยละ -2.7 ถึง 0.6

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ