Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 มกราคม 2558

เศรษฐกิจต่างประเทศ

คาดเศรษฐกิจอาเซียนโตร้อยละ 4.7-5.8 ในปี 2558 โดยแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2577)

คะแนนเฉลี่ย

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างหนักในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 โดยลดลงถึงร้อยละ 48 จากราคาที่สูงกว่า 105 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในเดือนก.ค. 2557 เหลือเพียง 54.2 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในวันที่ 31 ธ.ค. 2557 ซึ่งนับเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี น่าจะส่งผลบวกต่ออาเซียน ผ่านฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการคลังที่ปรับตัวดีขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดราวร้อยละ 2 ของ GDP ในปี 2558 นี้ อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ลดลงย่อมนำมาสู่การบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ทั้งนี้ การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงก็มีผลลบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจอาเซียนด้วยเช่นกัน ผ่านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิรายใหญ่อย่างรัสเซีย และกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลสุทธิจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบ กอปรกับภาพการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังมองอาเซียนเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจ น่าจะทำให้เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 สามารถขยายตัวได้ในอัตราเร่งขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 ที่ร้อยละ 4.7-5.8

นอกจากประเด็นด้านราคาน้ำมันแล้ว ในปี 2558 เศรษฐกิจอาเซียนยังมีประเด็นท้าทายที่ต้องจับตาจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของสหรัฐฯที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้ง การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจในหลายประเทศยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอันจะส่งผลต่อความยั่งยืนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ