Display mode (Doesn't show in master page preview)

3 พฤศจิกายน 2558

เศรษฐกิจต่างประเทศ

การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของเมียนมา 8 พ.ย. ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น แต่ยังต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2669)

คะแนนเฉลี่ย

ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า (8 พ.ย. 2558) ก็จะถึงวันเลือกตั้งทั่วไปครั้งสำคัญของเมียนมา ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น และสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมามีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากนี้ ย่อมจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันมาให้ความสำคัญกับเมียนมาในฐานะแหล่งลงทุนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอาเซียน รวมทั้งในปัจจุบันเมียนมาได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Generalized Scheme of Preferences: GSP) คืนจากสหภาพยุโรปแล้วตั้งแต่เดือนก.ค. 2556 และมีโอกาสได้รับสิทธิ GSP คืนจากสหรัฐฯในอนาคตอันใกล้นี้ สิ่งเหล่านี้จะยิ่งสนับสนุนให้มี FDI เข้ามาในเมียนมามากขึ้น
เพื่อรองรับการหลั่งไหลของการลงทุนจากต่างประเทศในอนาคตหลังจากนี้ เมียนมาจึงจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยต่างๆในประเทศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนอย่างเร่งด่วน เนื่องจากความท้าทายสำคัญของเมียนมา ณ ขณะนี้ คือ ปัญหาคอขวดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Bottleneck) รวมไปถึงความมีประสิทธิภาพของภาครัฐ กระนั้น ในขณะนี้รัฐบาลเมียนมาเองก็มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะแสดงให้เห็นว่าเมียนมามีการเตรียมพร้อมรองรับการเข้ามาของ FDI อาทิ การเปิดให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาในประเทศ และความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ทั้งนี้ การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆของเมียนมาได้เปิดโอกาสให้กับธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าไปเมียนมามากขึ้น และการที่เมียนมาได้สิทธิ GSP กลับคืนมาก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายฐานการผลิตไปยังเมียนมาเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบ GSP โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลต่อต้นทุนธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ในระยะนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรขยายธุรกิจเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ของเมียนมาที่มีความพร้อมก่อน

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ