Display mode (Doesn't show in master page preview)

11 กรกฎาคม 2548

เศรษฐกิจต่างประเทศ

เวียดนาม : คู่ค้า & คู่แข่งระวังเกินดุลลด

คะแนนเฉลี่ย

เวียดนามถือเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบล่าสุดของไทยในอาเซียน เนื่องจากเวียดนามเพิ่งพัฒนาแหล่งพลังงานในประเทศเพื่อการพาณิชย์อย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจเมื่อปี 2529 ทำให้เวียดนามมีปริมาณน้ำมันดิบเพียงพอที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ในช่วง 5 เดือนแรก 2548 ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากเวียดนามเป็นมูลค่า 65.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 2 รองจากเครื่องจักรไฟฟ้า การนำเข้าน้ำมันดิบจากเวียดนามจำนวนมาก ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าโดยรวมจากเวียดนามเพิ่มขึ้นรวดเร็วตามไปด้วย โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว เป็นมูลค่า 306.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 5 เดือนแรก 2548

แต่ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าไทยไปเวียดนามชะลอลงอยู่ในระดับ 18% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับอัตราขยายตัวที่สูงถึง 49% ในปี 2547 สาเหตุสำคัญเนื่องจากสินค้าจีนแย่งตลาดสินค้าไทยในเวียดนาม หลังจากที่เวียดนามได้พัฒนาความร่วมมือทางการค้ากับจีนแนบแน่นขึ้น ปัจจุบันจีนก้าวขึ้นเป็นประเทศที่เวียดนามนำเข้าสินค้ามากเป็นอันดับ 1 ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ 6 รองจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา

การส่งออกของไทยไปเวียดนามที่ขยายตัวในอัตรา 18% เทียบกับการนำเข้าจากเวียดนามที่พุ่งขึ้น 98% ในช่วงต้นปีนี้ ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าของไทยกับเวียดนามลดลง 3.9% เหลือมูลค่า 530.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 5 เดือนแรก 2548 คาดว่าไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากเวียดนามในช่วงที่เหลือของปีนี้ ขณะที่การส่งออกซบเซาลง ก็มีความเป็นไปได้ว่าไทยอาจจะกลับกลายเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับเวียดนามในระยะต่อไป ทั้งๆ ที่ไทยเกินดุลการค้ากับเวียดนามมาโดยตลอด

หลังจากเวียดนามดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าและมีเสถียรภาพมั่นคงขึ้น รวมทั้งสามารถผลิตสินค้าหลายประเภทที่คล้ายคลึงกับไทย ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้เวียดนามเปรียบเสมือนเป็นคู่แข่งของไทยในการส่งสินค้าออกไปขายแข่งขันกันในตลาดโลก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ทั้งเวียดนามและไทยส่งสินค้าออกไปขายมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% และ 15% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของเวียดนามและของประเทศไทย ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม (นอกเหนือจากน้ำมันดิบ) ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเล เฟอร์นิเจอร์ไม้ ข้าว ยางพารา รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เช่น กาแฟ ชา พริกไท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น

เวียดนามมีความสามารถในการส่งออกสินค้าหลายประเภทที่คล้ายคลึงกับไทย จนเปรียบเสมือนเป็นคู่แข่งกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าไทยกับเวียดนามน่าจะเปลี่ยนฐานะเป็น "คู่หู" มากกว่าจะเป็น "คู่ปรับ" ทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อาทิ

1. พันธมิตรส่ง ออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวและยาง พารา การผนึกความร่วมมือกันจะช่วยให้ราคาข้าวและราคายาง พาราในตลาดโลกมีเสถียรภาพมากขึ้น เป็นผลดีต่อประเทศไทยและเวียดนาม รวมทั้งประเทศผู้ส่ง ออกข้าวและยาง พารารายอื่นๆ ด้วย

2. พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน แม้ว่าไทยและเวียดนามไม่มีพรมแดนติดต่อกัน แต่ประเทศทั้ง สองสามารถเชื่อมโยง เส้นทางคมนาคมระหว่าง ประเทศ โดยผ่านประเทศลาว ได้แก่ เส้นทาง หมายเลข และหมายเลข คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจระหว่าง ประเทศทั้ง สามคึกคักขึ้น เพราะจะได้รับประโยชน์จากการขนส่ง สินค้าที่สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย

3. เปิดเสรีท่อง เที่ยวข้ามแดน การผ่อนคลายกฎระเบียบในการเดินทาง ข้ามแดนระหว่าง ไทย-ลาว-เวียดนาม จะกระตุ้นการเดินทาง ท่อง เที่ยวผ่านทาง ชายแดนระหว่าง 3 ประเทศให้เฟื่อง ฟูยิ่งขึ้น คาดว่าทาง การไทยและรัฐบาลเวียดนามจะอนุญ าตให้นักท่อง เที่ยวสามารถขับรถข้ามแดนไปมาหาสู่ระหว่าง กันได้ในเร็วๆ นี้

4. ร่วมลงทุนกับเวียดนาม เวียดนามเป็นแหล่งลงทุนเปิดใหม่ที่มีศักยภาพ มีที่ตั้งไม่ห่างไกลจากไทยนัก ประกอบกับทางการเวียดนามมีมาตรการจูงใจด้านภาษี ได้แก่ จัดเก็บภาษีขาเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าจากจีนในอัตราที่ต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราภาษีขาเข้าของไทยที่นำเข้าวัตถุดิบจากจีน รวมทั้งค่าจ้างแรงงานของเวียดนามค่อนข้างถูก หากนักธุรกิจไทยสามารถปรับตัว เรียนรู้และเข้าใจสภาพตลาดของเวียดนาม ก็น่าจะทำให้ธุรกิจไทยประสบความสำเร็จในการขยายการลงทุนในเวียดนามต่อไป

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ