Display mode (Doesn't show in master page preview)

9 กุมภาพันธ์ 2564

เศรษฐกิจไทย

โควิด-19 ระลอกใหม่ฉุดดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยเดือนม.ค. 64 ให้ลดลงจากเดือนก่อน แต่ระดับดัชนียังสูงกว่าการระบาดรอบแรก

คะแนนเฉลี่ย
    • ​​​ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนม.ค. 64 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดต่ำลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมากอยู่ที่ 37.2 และ 38.8 ตามลำดับ ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะภาวะการจ้างงานและรายได้ หลังการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนกลับมาชะงักชะงันตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ถูกนำกลับมาใช้
    • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับเมื่อเทียบกับการระบาดในรอบแรก ซึ่งผลสำรวจระบุว่าครัวเรือนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง โดยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติแต่มีการระมัดระวังเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับระดับดัชนีที่แม้ปรับลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าในเดือนเม.ย. 2563 (การระบาดรอบแรก) บ่งชี้ว่าครัวเรือนมีความกังวลในระดับต่ำกว่าการระบาดในรอบแรก อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐยังคงมีความจำเป็น โดยความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุดยังคงเป็นการจ่ายเงินเยียวยาเช่นเดียวกับการระบาดในรอบแรก
    • การกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนกลับมาชะงักงันอีกครั้ง การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้เวลานานขึ้​น อย่างไรก็ตาม มาตรการการควบคุมการระบาดในครั้งนี้ไม่ได้เข้มงวดเท่ากับการระบาดในรอบแรก อีกทั้งภาครัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น โครงการเราชนะ เพื่อเยียวยาผลกระทบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีความหวังในเรื่องของวัคซีน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคเศรษฐกิจจึงน่าจะไม่รุนแรงเท่ากับในการระบาดในรอบแรก อย่างไรก็ตาม ฐานะการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อ่อนแออยู่เดิมจากผลกระทบการระบาดในรอบแรกอาจส่งผลให้ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในระดับปกติ

 


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจไทย