9 พฤษภาคม 2567
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
5 เมษายน 2567
6 มีนาคม 2567
6 กุมภาพันธ์ 2567
8 มกราคม 2567
7 ธันวาคม 2566
3 พฤศจิกายน 2566
4 ตุลาคม 2566
5 กันยายน 2566
3 สิงหาคม 2566
6 กรกฎาคม 2566
12 มิถุนายน 2566
10 พฤษภาคม 2566
10 เมษายน 2566
ดัชนี KR-ECI เดือนมี.ค.66 ปรับตัวลดลง ครัวเรือนเริ่มกังวลภาระในการชำระหนี้มากขึ้น... อ่านต่อ
10 มีนาคม 2566
ดัชนี KR-ECI เดือน ก.พ. 66 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและค่าครองชีพที่เริ่มชะลอลง ขณะที่ครัวเรือนยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น... อ่านต่อ
13 กุมภาพันธ์ 2566
ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหนุนให้ดัชนี KR-ECI เดือนม.ค.66 ปรับตัวดีขึ้น โดยครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางค่าครองชีพที่สูง ครัวเรือนมีการลดการจับจ่ายใช้สอยลง เช่น งดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย และลดการใช้พลังงาน... อ่านต่อ
11 มกราคม 2566
ภาวะค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงยังกดดันดัชนี KR-ECI ในเดือนธ.ค.65 อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยจากภาครัฐฯ และภาคการท่องเที่ยวหนุนมุมมองต่อดัชนีในระยะข้างหน้า ในปี 2566 ครัวเรือนกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพมากที่สุด โดยเฉพาะเงินเฟ้อ ค่าไฟฟ้า... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2565
ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนพ.ย. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ขณะที่ช่วงสิ้นปีครัวเรือนส่วนใหญ่มีแผนสังสรรค์กับเพื่อนและครอบครัว... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2565
ในเดือนต.ค.65 แม้ดัชนีเงินเฟ้อได้ปรับขึ้นในอัตราที่ชะลอลง แต่ความกังวลของครัวเรือนเกี่ยวกับระดับราคาสินค้ายังคงอยู่ ประกอบกับผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างจากเดือนก่อนสร้างความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์รายได้และการจ้างงาน ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ทรงตัวอยู่ที่ 33.8 อย่างไรก็ดี ดัชนี KR-ECI ใน 3 เดือนข้างหน้าปรับดีขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 35.7 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการจ้างงาน หลังภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบต่อสถานการณ์น้ำท่วมพบว่ามีครัวเรือนร้อยละ 64.3 ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของสถานการณ์น้ำท่วมมากกว่า 5,000 บาท (เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในเดือนก.ย. 65 ที่ร้อยละ 19.2) ... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2565
ในเดือนก.ย.65 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปัจจุบัน และ 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวอยู่ที่ 33.9 และ 35.2 โดยสถานการณ์ราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัวส่งผลให้ครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อระดับราคาสินค้าในหลายหมวด ยกเว้นในส่วนของอาหารและเครื่องดื่มที่ครัวเรือนกลับมามีความกังวลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรต่าง ๆ ยังส่งผลให้ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์รายได้และการจ้างงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นหลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งนี้ จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 19.2 มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 5,000 บาท (ผลสำรวจของจัดทำขึ้นในช่วง 21-27 ก.ย.65)... อ่านต่อ
7 กันยายน 2565
ในเดือนส.ค.65 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 33.9 และ 35.7 จาก 32.5 และ 34.0 จากในเดือนก.ค.65 แต่ยังต่ำกว่าระดับ 50 โดยครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อรายได้และการจ้างงาน หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยกลับมา นอกจากนี้ ดัชนี KR-ECI ยังได้รับปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากระดับราคาสินค้าบางรายการที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่เริ่มชะลอลงจากเดือนก่อน อีกทั้งยังมีการลงทะเบียน “คนละครึ่งระยะที่ 5” ที่จะเริ่มใช้ในเดือนก.ย.65 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของดัชนีคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับราคาพลังงาน สาธารณูปโภค และบริการพื้นฐานยังปรับเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่า การฟื้นตัวของดัชนี KR-ECI ยังมีแนวโน้มเปราะบาง ระดับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจะยังเป็นปัจจัยกดดันให้ครัวเรือนบางส่วนยังมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย ... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2565
แม้ราคาพลังงานจะยังอยู่ในระดับสูงแต่ปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิ.ย.65 หนุนให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน และ 3 เดือนข้างหน้าที่สำรวจในเดือนก.ค.65 ปรับดีขึ้นจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 32.5 และ 34.0 จาก 30.8 และ 32.9 ในเดือนมิ.ย.65 นอกจากนี้ การทยอยผ่อนคลายมาตรการการเปิดประเทศทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยหนุนมุมมองเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบของดัชนี พบว่า ครัวเรือนส่วนมากยังมองว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้น ขณะที่จำนวนครัวเรือนที่กังวลเรื่องอนาคตจึงใช้จ่ายลดลงในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น... อ่านต่อ
7 กรกฎาคม 2565
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนมิ.ย.65 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนี KR-ECI ปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 30.8 และ 32.9 จาก 31.2 และ 34.0 ในเดือนพ.ค.65 แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะรายได้และการจ้างงาน หลังภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม ทั้งในส่วนของการเริ่มเปิดสถานบันเทิงในจังหวัดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวัง รวมถึงลดเงื่อนไข Thailand Pass เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นสะท้อนจากระดับเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.65 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปี ยังคงกดดันดัชนีให้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์... อ่านต่อ
9 มิถุนายน 2565
ในเดือนพ.ค.65 ที่ผ่านมา มาตรการบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐได้ทยอยสิ้นสุดลง ทั้งโครงการคนละครึ่งระยะที่สี่ รวมถึงสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร และเริ่มปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลแบบขั้นบันได (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 34 บาทต่อลิตร) ด้าน 10 มาตรการบรรเทาค่าครองชีพเน้นบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก ขณะที่ระดับราคาสินค้ายังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงทั้งจากปัจจัยด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหลังหลายประเทศเริ่มกลับมาเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ และปัจจัยฝั่งอุปทานจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนพ.ค. 65 ให้ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยดัชนี KR-ECI ปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าลดลงอยู่ที่ 31.2 และ 34.0 จาก 32.5 และ 35.5 ในเดือนเม.ย.65 ... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2565
ในเดือนเม.ย. 65 ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังบ่งชี้ถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาที่สินค้าที่อยู่ในระดับสูง โดยดัชนี KR-ECI ปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าเดือนเม.ย.65 ลดลงอยู่ที่ 32.5 และ 35.5 จาก 33.4 และ 36.1 ในเดือนมี.ค.65 เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของดัชนีพบว่า ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับ “ราคาอาหารและเครื่องดื่ม” “ราคาพลังงาน” และ “ราคาสาธารณรูปโภค“ หลังภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้มและทยอยปรับราคาแบบขั้นบันได รวมถึงในเดือนพ.ค. 65 ได้ยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร และจะเริ่มทยอยปรับขึ้นเป็นขั้นบันไดเช่นกัน ขณะที่มาตรการคนละครึ่งระยะที่สี่สิ้นสุดลงในเดือนที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2565
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่สามารถเจรจากันได้ และยังไม่มีท่าทีหรือจุดสิ้นสุดของความขัดแย้งที่ชัดเจนส่งผลให้ระดับราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญอยู่ในระดับสูง ระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นได้กดดันภาวะดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) มี.ค.65 ปัจจุบันขยับลงอยู่ที่ 33.4 จาก 33.9 ในเดือนก.พ. ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับต่ำที่ 36.1 จาก 36.0 ในเดือนก.พ.65 ... อ่านต่อ
11 มีนาคม 2565
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าปรับดีขึ้นอยู่ที่ 33.9 และ 36.0 จากมาตรการภาครัฐที่ทยอยออกเพื่อมาบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทั้งโครงการคนละครึ่งระยะที่ 4 ที่เลื่อนขึ้นมาเร็วกว่ากำหนดเดิม และการปรับลดภาษีสรรพาสามิตน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ในเดือนก.พ. ที่ผ่านมาระบบ Test&Go ได้เปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้ง และเป็นช่วงเริ่มโครงการเราเที่ยวกันระยะที่ 4 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมพบว่าครัวเรือนบางส่วนเริ่มมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยมีการซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลง ปัจจัยดังกล่าวบ่งชี้ระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนที่ยังมีภาวะเปราะบางและอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว ทั้งนี้ ผลสำรวจดัชนีฯ ในรอบเดือนก.พ. จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 18-25 ก.พ.65 ซึ่งยังไม่ได้เกิดผลกระทบจากการยกระดับของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับ130 $/barrel ในช่วงต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
10 กุมภาพันธ์ 2565
แม้ว่าการระบาดของโอมิครอนหลังช่วงปีใหม่จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาด ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงมีจำกัด แต่อย่างไรก็ตามระดับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งอาหารสด เช่น เนื้อหมู รวมถึงราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องได้เข้ามากดดันกำลังซื้อของภาคครัวเรือนส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 30.9 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 33.2 บ่งชี้ว่าครัวเรือนยังมีมุมมองว่าค่าครองชีพจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
12 มกราคม 2565
ในเดือนธ.ค.64 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของราคาอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพ.ย. (ผลสำรวจจัดทำปลายเดือนธ.ค.64 ยังไม่รวมผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว)... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2564
ในเดือนต.ค. 64 ครัวเรือนมีกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพ เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้ราคาพืชผักสูงขึ้น โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนต.ค. 64 และอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงอยู่ที่ 34.9 และ 36.7 จากในเดือนก.ย.64 ที่ 36.6 และ 38.4 แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเริ่มทรงตัว สถานการณ์โควิด-19 จะเริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังอัตราการฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการทยอยผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ราคาสินค้าต่าง ๆ ที่ปรับสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน ... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2564
สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนก.ย. เริ่มมีทิศทางทรงตัวส่งผลให้มีการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มการระบาดบางส่วน เช่น ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารที่เริ่มกลับมาเปิดทำการได้ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนก.ย.ปรับตัวเพิมขึ้นอยู่ที่ 36.6 จาก 33.0 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 38.4 จาก 35.5 ในเดือนส.ค. โดยครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามดัชนียังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากครัวเรือนบางส่วนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ไม่รวมภาระหนี้รวมถึงราคาพลังงาน ค่าสาธารณูปโภค และบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ... อ่านต่อ
10 กันยายน 2564
ในเดือนส.ค.64 ครัวเรือนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่อง โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) อยู่ที่ 33.0 ซึ่งยังคงเป็นระดับที่ต่ำกว่าในช่วงล็อกดาวน์ทั้งประเทศในปีก่อน ครัวเรือนส่วนมากมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมภาระหนี้ ขณะที่ความกังวลด้านรายได้และการจ้างงานยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตามมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างใน 9 กิจการที่ได้รับผลกระทบและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่เริ่มทรงตัวในช่วงปลายเดือนช่วยสนับสนุนให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยอยู่ที่ 35.5 จาก 33.8 ในเดือนก.ค. แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2564
นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่มีการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงมาต่อเนื่องจนในเดือนก.ค. 64 อยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าในเดือนเม.ย. 63 (มีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ) ที่อยู่ที่ 35.1 ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 36.6 ปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ 38.9 บ่งชี้ว่าครัวเรือนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของภาวะการจ้างงานและรายได้ ... อ่านต่อ
9 กรกฎาคม 2564
สถานการณ์การจ้างงานที่เปราะบางส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือน มาตรการภาครัฐเพิ่มเติมควบคู่ไปกับการจัดหาและแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมีความจำเป็นเร่งด่วน... อ่านต่อ
10 มิถุนายน 2564
การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในช่วงกลางเดือนพ.ค. และมาตรการเยียวยาของภาครัฐที่ทยอยออกมาช่วยหนุนให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ 37.3 จาก 37.0 ในเดือนเม.ย. นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้าพบว่าทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนเม.ย.ที่ 39.4 บ่งชี้ว่าครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลต่อภาวะการครองชีพจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่มีความยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเม.ย. โดยเฉพาะในเรื่องของมุมมองต่อเงินออมที่ปรับลดลงจากเดือนก่อนอย่างมาก ... อ่านต่อ
11 พฤษภาคม 2564
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนเม.ย. ส่งผลกระทบให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนเม.ย. ปรับตัวลดลงอย่างมากอยู่ที่ 37.0 จาก 40.4 ในเดือนมี.ค. มีนัยต่อความเปราะบางของกำลังซื้อครัวเรือนจากจังหวะเวลาเกิดการระบาดหนัก ในขณะที่มาตรการเยียวยาเพิ่มเติมยังไม่ออกมา รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มอย่างมาก โดยสะท้อนจากดัชนีที่ปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะในส่วนของมุมมองต่อการมีรายได้และงานทำ รวมถึงค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่ไม่รวมภาระหนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวสอดคล้องไปกับทิศทางของดัชนีราคาผู้บริโภคที่ปรับสูงขึ้นในรอบ 8 ปี ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนในระยะข้างหน้า ... อ่านต่อ
9 เมษายน 2564
สถานการณ์โควิด-19 ได้กลับมารุนแรงขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยศูนย์กลางการระบาดในครั้งนี้อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ และกระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็วส่งผลให้สถานการณ์เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของครัวเรือนรวมถึงภาคธุรกิจกลับมาเผชิญความไม่แน่นอนสูงอีกครั้ง ในระยะข้างหน้าภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนจะถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยครัวเรือนมีแนวโน้มกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่อภาคเศรษฐกิจ ทำให้ผลสำรวจช่วงปลายเดือนมี.ค. 64 ที่พบว่าครัวเรือนไทย (KR-ECI) มีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ดีขึ้น จะไม่ได้สะท้อนภาพผลกระทบของการระบาดของไวรัสในรอบใหม่นี้ต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนในระยะอีก 2-3 เดือนข้างหน้า... อ่านต่อ
9 มีนาคม 2564
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.พ. 64 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 39.5 และ 41.3 ตามลำดับ บ่งชี้ว่าครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะการครองชีพลดลงจากเดือนก่อน หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันปรับลดลงต่อเนื่องส่งผลให้มีมาตรการผ่อนปรนพื้นที่ควบคุมต่าง ๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้มาตรการเยียวยาของภาครัฐฯ ออกมาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ขณะที่วัคซีนได้เข้ามาถึงในไทยในช่วงปลายเดือนก.พ. 64 และเริ่มมีการแจกจ่ายไปตามจังหวัดต่างๆ (ผลสำรวจจัดทำช่วงปลายเดือนก.พ.) ... อ่านต่อ
9 กุมภาพันธ์ 2564
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนม.ค. 64 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดต่ำลงจากเดือนก่อนค่อนข้างมากอยู่ที่ 37.2 และ 38.8 ตามลำดับ ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะภาวะการจ้างงานและรายได้ หลังการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนกลับมาชะงักชะงันตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ถูกนำกลับมาใช้ ... อ่านต่อ
8 มกราคม 2564
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนธ.ค. 63 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 40.2 และ 40.7 ตามลำดับ ดัชนีปรับลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานและรายได้ หลังเริ่มมีการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 ในช่วงกลางเดือนธ.ค. 63 (การสำรวจดำเนินในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค. 63) ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพ.ย. 2563 ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันอยู่ที่ 41.0 ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19ในเดือนม.ค.63 ที่ 40.6 เนื่องจากมุมมองต่อภาวะการจ้างงานและรายได้ โดยเฉพาะครัวเรือนเกษตรดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐหนุนให้มุมมองต่ออำนาจการซื้อปรับเพิ่มขึ้น ... อ่านต่อ
11 พฤศจิกายน 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนต.ค.2563 และ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยใน 3 เดือนข้างหน้าโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน เนื่องจากมุมมองต่อภาวะการจ้างงานและรายได้ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนเกษตรมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะการจ้างงานและรายได้ สอดคล้องไปกับราคาสินค้าเกษตรที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งข้าว ผัก และผลไม้ โดยเฉพาะราคายางพาราในช่วงเดือนต.ค.ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังมีมุมมองต่อภาวะการจ้างงานและรายได้ไม่ดีขึ้น สอดคล้องกับผลสำรวจเพิ่มเติมของการจ้างงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ระบุว่าสถานการณ์การเลิกจ้างยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ย. 2563 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากการสำรวจในช่วงเดือน ส.ค. 2563 บ่งชี้ว่าครัวเรือนไทยมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับภาวะการครองชีพเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องไปกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยปรับตัวดีขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงมาตรการภาครัฐในการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในประเทศ และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ อย่างไรก็ตาม ระดับของดัชนีในเดือนก.ย. และอีก 3 เดือนข้างหน้าโดยรวมยังต่ำกว่า 50 และต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 สะท้อนว่ามุมมองของครัวเรือนไทยต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ... อ่านต่อ
10 กันยายน 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนส.ค. 2563 และอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับเพิ่มขึ้นจากการสำรวจในช่วงเดือน ก.ค. 2563 บ่งชี้ว่าครัวเรือนมีการปรับมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะการครองชีพสอดคล้องไปกับทิศทางการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะการจ้างงาน และค่าตอบแทนในการทำงาน เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และมาตรการคลายล็อกที่เข้าสู่ระยะที่ 6 ... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค. 2563 อยู่ที่ระดับ 35.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 36.0 ในเดือนมิ.ย. 2563 จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่าย รวมถึงระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ แม้ ธปท. จะออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 มาอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังถูกจำกัดโดยประเด็นด้านรายได้และการมีงานทำ... อ่านต่อ
10 กรกฎาคม 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนมิ.ย. 2563 อยู่ที่ระดับ 36.0 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนพ.ค. 2563 ที่อยู่ในระดับ 36.1 แม้รายได้และการมีงานทำของครัวเรือนจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ในขณะเดียวกัน ครัวเรือนก็มีรายจ่าย (ไม่รวมหนี้) เพิ่มขึ้นจากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นและครัวเรือนบางส่วนมีรายจ่ายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน... อ่านต่อ
15 มิถุนายน 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพ.ค. 2563 ปรับตัวดีขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 36.1 จากระดับ 35.1 ในเดือนเม.ย. 2563 จากความกังวลที่ลดลงของครัวเรือนต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ หลังจากที่ภาครัฐทยอยออกมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1-2 ให้กิจการและกิจกรรมในกลุ่มสีขาวและกลุ่มสีเขียวกลับมาดำเนินการตามปกติ... อ่านต่อ
17 เมษายน 2563
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่รุนแรงต่อเนื่องในต่างประเทศ และมาตรการ Social Distancing เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการครองชีพของครัวเรือนไทยในปัจจุบันและอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) และดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นมากต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ เงินออม และค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้สิน) อย่างไรก็ดี ครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้า จากราคาพลังงงานในประเทศที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก และประเด็นเรื่องภาระหนี้สิน เนื่องจากครัวเรือนบางส่วนขอพักชำระหนี้กับธนาคารพาณิชย์ ... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2563
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกในช่วงเดือนก.พ. 2563 เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) และดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 73 เดือน โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในทุกมิติการครองชีพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง... อ่านต่อ
12 กุมภาพันธ์ 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) และดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 72 เดือน โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในเกือบทุกมิติการครองชีพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงานที่สัญญาณการเลิกจ้างยังอยู่ในสัดส่วนที่สูง และประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้าในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นในหลายหมวดสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ... อ่านต่อ
15 มกราคม 2563
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนธ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 42.4 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.0 โดยครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ส่วนหนึ่งเป็นผลของปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ช่วยหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตร อย่างไรก็ดี แม้ดัชนีฯ ในเดือนธ.ค. 2562 จะขยับขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก ... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ทำการสำรวจในเดือนพ.ย. 2562 ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับ 42.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 27 เดือน จากความกังวลของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ... อ่านต่อ
12 พฤศจิกายน 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในปัจจุบัน (KR-ECI) และในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลง แสดงให้เห็นถึงความกังวลของครัวเรือนต่อสภาวะเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยในการสำรวจเดือนต.ค. 2562 พบสัญญาณการเลิกจ้างในองค์กร/บริษัทที่ครัวเรือนสังกัดหรือเป็นเจ้าของปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือนก.ค. 2562 ชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทยอยส่งผ่านผลกระทบมายังกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานในประเทศ ... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ย. 2562 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.3 จากความกังวลที่ลดลงของครัวเรือนต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่าย เงินออม ภาระหนี้ และระดับราคาสินค้าในประเทศ แต่กลับมีความกังวลเพิ่มขึ้นต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับข้อจำกัดของรายได้ครัวเรือน ... อ่านต่อ
9 กันยายน 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนส.ค. 2562 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 41.9 จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศและประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการของภาครัฐ ... อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค. 2562 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากระดับ 43.1 ในเดือนมิ.ย. 2562 มาอยู่ที่ระดับ 41.5 ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 66 เดือน จากความกังวลในทุกมิติเศรษฐกิจของครัวเรือนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สินของครัวเรือน ... อ่านต่อ
12 กรกฎาคม 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) และดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ทำการสำรวจในเดือนมิ.ย. 2562 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 และ 44.9 ตามลำดับ โดยครัวเรือนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองทั้งในปัจจุบันและในอนาคตมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้าภายในประเทศ ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมภาระหนี้สิน) รวมถึงรายได้และการมีงานทำของครัวเรือน ... อ่านต่อ
13 มิถุนายน 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) เดือนพ.ค. 2562 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 43.7 จากอานิสงส์มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ประกอบกับครัวเรือนบางส่วนมีความกังวลเรื่องภาระหนี้สินลดลง เนื่องจากมีการชำระคืนค่างวดที่ได้กู้ยืมไปเพื่อชำระค่าเล่าเรียนปีการศึกษาใหม่ของบุตรหลานเมื่อเดือนเม.ย. 2562 ... อ่านต่อ
13 พฤษภาคม 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) และดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ที่ทำการสำรวจในเดือนเม.ย. 2562 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 และระดับ 45.7 ตามลำดับ จากความกังวลต่อภาวะการครองชีพ ทั้งด้านรายได้และการมีงานทำ ระดับราคาสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สินของครัวเรือน... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 45.9 ในเดือนมี.ค. 2562 อานิสงส์จากกิจกรรมการหาเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งช่วยหนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ส่งผลดีทำให้ครัวเรือนผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น... อ่านต่อ
14 มีนาคม 2562
KR-ECI ในเดือนก.พ. 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 45.7 จากระดับ 45.5 ในเดือนม.ค. 2562 เนื่องจากครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สิน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน มาอยู่ที่ระดับ 47.4 ในการสำรวจช่วงเดือนก.พ. 2562 เนื่องจากครัวเรือนไทยมีความคาดหวังเชิงบวกต่อภาพเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตในบางสินค้าเกษตรสำคัญของครัวเรือนเกษตรประกอบกับมีข่าวคราวการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2562 ประเด็นสำคัญที่จะต้องติดตามในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ได้แก่ สถานการณ์ภัยแล้งที่ในปีนี้มาเร็วและคาดว่าจะยาวนานกว่าปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อทั้งรายได้ครัวเรือนเกษตรและภาระค่าครองชีพครัวเรือนจากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น และผลการเลือกตั้งไทยที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ซึ่งจะกำหนดทิศทางเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ... อ่านต่อ
8 กุมภาพันธ์ 2562
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 46.0 ในเดือนธ.ค. 2561 มาอยู่ที่ระดับ 45.5 ในเดือนม.ค. 2562 เนื่องมาจากครัวเรือนไทยบางส่วนมีรายได้ลดลงโดยเปรียบเทียบ หลังผลของปัจจัยชั่วคราวอย่างมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 500 บาท/คน ในช่วงปลายปี 2561 หมดลง ประกอบกับเพิ่งผ่านพ้นช่วงเดือนสิ้นปีที่ครัวเรือนบางส่วนได้รับเงินโบนัส หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงยังเป็นปัจจัยที่กดดันรายได้ครัวเรือนเกษตร ... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2561
• ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในปัจจุบัน และในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จากราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับภาครัฐออกมาตรการเพิ่มเติมแก่ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยและครัวเรือนเกษตร โดย KR-ECI เดือนพ.ย. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.3 มาอยู่ที่ระดับ 45.7 ในขณะที่ KR-ECI ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.9 มาอยู่ที่ระดับ 47.4 • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังต้องติดตามประเด็นเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งจะส่งผลให้ค่าครองชีพของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในระยะข้างหน้า ... อ่านต่อ
14 พฤศจิกายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในการสำรวจช่วงเดือนต.ค. 2561 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อรายได้และการจ้างงานในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลทางฤดูกาลที่เข้าสู่ช่วงการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีของครัวเรือนนอกภาคเกษตรและเข้าสู่ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตของครัวเรือนในภาคเกษตร ... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ย. 2561 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.2 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นเรื่องรายได้และการจ้างงาน ซึ่งช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพบางส่วนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 46.5 แต่เมื่อพิจารณาในองค์ประกอบของดัชนีฯ พบว่า ครัวเรือนไทยมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อรายได้ในอนาคต แต่ก็มองว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีน่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่น ประกอบกับราคาสินค้าในประเทศน่าจะปรับตัวสูงขึ้น ในช่วงไตรมาสที่ 4/2561 ยังมีหลายประเด็นที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลงในบางรายการ ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนเกษตร ในขณะเดียวกัน ระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาผักผลไม้ในช่วงเทศกาลกินเจ และทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐทยอยออกมา ไม่ว่าจะเป็นมาตรการผู้มีรายได้น้อย มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ก็น่าจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของครัวเรือนบางส่วนได้ในระดับหนึ่ง ... อ่านต่อ
12 กันยายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ขยับขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ระดับ 46.5 ในเดือนส.ค. เนื่องจากครัวเรือนเกษตรบางส่วนมีความกังวลลดลงในเรื่องภาระหนี้สิน ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากมาตรการลดภาระหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อยของภาครัฐ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนส.ค. 2561 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าและค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้) ที่เพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังต้องติดตามในเรื่องของระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่คาดว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ทั้งในส่วนของราคาอาหารสดและราคาพลังงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อภาวะการครองชีพของครัวเรือนในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 45.1 เนื่องจากครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อประเด็นในเรื่องรายได้และการมีงานทำ อีกทั้งยังมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.3 ในการสำรวจช่วงเดือนก.ค. 2561 โดยเสียงสะท้อนจากครัวเรือนส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่องสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพของครัวเรือนในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ... อ่านต่อ
11 กรกฎาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.5 ในการสำรวจช่วงเดือนมิ.ย. 2561 จากความกังวลเรื่องภาระค่าครองชีพที่ลดลง แต่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน (KR-ECI) ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 44.7 จากค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว อย่างไรก็ดี แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะการครองชีพในอีก 3 เดือนข้างหน้า แต่ยังต้องติดตามในประเด็นเรื่องรายได้และค่าใช้จ่าย เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรกรรมและการค้าขาย รวมถึงมีช่วงวันหยุดยาวหลายโอกาสที่ทำให้ครัวเรือนมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้น ... อ่านต่อ
12 มิถุนายน 2561
จากการสำรวจภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพ.ค. 2561 พบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน (KR-ECI) และในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9 และ 46.2 ตามลำดับ จากปัจจัยทางด้านสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศเป็นสำคัญ แต่รายได้และการมีงานทำของครัวเรือนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยผลทางด้านราคาที่ลดลง และหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตร... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในเดือนเม.ย. 2561 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นทางด้านภาระค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะบรรเทาลง หลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงครัวเรือนบางส่วนมีการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานไปบ้างแล้ว ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนมี.ค. 2561 และในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงจากประเด็นร่วมเรื่องค่าใช้จ่าย (ไม่รวมหนี้สิน) เป็นสำคัญ โดยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวที่เป็นไปตามเทศกาลและกระแสนิยม ... อ่านต่อ
13 กันยายน 2559
12 กุมภาพันธ์ 2559
10 กันยายน 2558
14 สิงหาคม 2558
13 กรกฎาคม 2558
9 มิถุนายน 2558
8 พฤษภาคม 2558
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนธ.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 42.4 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.0 โดยครัวเรือนมีความกังวลลดลงต่อประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำ ส่วนหนึ่งเป็นผลของปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหลายรายการ