29 ธันวาคม 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
รถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-สปป.ลาวก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 การขนส่งสินค้าระหว่างจีนตอนใต้กับอาเซียนน่ามีพัฒนาการคึกคักขึ้นอีก ประกอบกับสัญญาณบวกของทางการจีนในการทยอยผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ที่คาดว่าน่าจะได้เห็นการเปิดประเทศของจีนในปี 2566 จะยิ่งส่งผลบวกต่อการค้าและการท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง... อ่านต่อ
FileSize KB
30 มกราคม 2563
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ยังคงส่อเค้าความรุนแรงต่อเนื่อง นำมาซึ่งมาตรการสูงสุดของทางการจีนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคคาบเกี่ยวกับช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ชาวจีนมีการเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ต่อเศรษฐกิจจีนเบื้องต้นในกรอบระยะเวลา 1 เดือน อาจสูงถึง 3 แสนล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP จีนทั้งปี ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2563 อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5-5.9 โดยมีผลกระทบหลักๆ ผ่านทางภาคค้าปลีก ภาคขนส่ง และภาคบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการท่องเที่ยว ... อ่านต่อ
17 มกราคม 2563
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าโดยขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 (YoY) ซึ่ง ปัจจัยบวกจากการเจรจาทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้ภาคการส่งออกและภาคการผลิตของจีนพลิกกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 4/2562 โดยมีการเร่งส่งออกหลังจากที่สหรัฐฯ ส่งสัญญาณระงับการขึ้นภาษีและเจรจากับจีน อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจจีนโดยรวมในปี 2562 นั้นชะลอลงจากปี 2561 ค่อนข้างมาก โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในไตรมาส 4/2562 ถูกผลักดันจากปัจจัยชั่วคราวและฐานที่ต่ำเป็นหลัก ทั้งนี้ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ช่วยประคองเศรษฐกิจจีนในปี 2562 ได้ในระดับหนึ่ง ท่ามกลางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีความเปราะบาง ... อ่านต่อ
21 ตุลาคม 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.0 (YoY) ในไตรมาส 3 ปี 2562 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี โดยชะลอลงจากร้อยละ 6.2 (YoY) ในไตรมาส 2 ปี 2562 ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แย่ลงและอยู่ที่กรอบล่างของกรอบเป้าหมายของทางการจีนจะเป็นปัจจัยกดดันให้ทางการจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 6.0-6.5 (YoY) ทั้งนี้ อุปสงค์ภายในและภายนอกที่อ่อนแรงลงต่างเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทางการจีนนำออกมาใช้อาจไม่เพียงพอในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ทางการจีนจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้นโยบายการเงิน... อ่านต่อ
5 กันยายน 2562
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในแง่ของมูลค่าสินค้าที่เรียกจัดเก็บและระดับความรุนแรงของอัตราภาษีนำเข้า อาจทำให้ผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาแตะมูลค่าใกล้เคียง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนเพิ่มเติมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการจีนพร้อมที่จะตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยการลดค่าเงิน ซึ่งทางการจีนอาจใช้มาตรการลดค่าเงินเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะไม่ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากจนเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของจีนและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ จัดให้จีนเป็นประเทศที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับจีนได้อีกเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายคงหยิบมาตรการด้านอื่นออกมาใช้ตอบโต้กันอย่างร้อนแรงซึ่งจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงและมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในระยะอันใกล้ สำหรับไทย คงยากที่จะหลบเลี่ยงผลกระทบที่ตามมา โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ การส่งออกของไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยชะงักงันในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยจำเป็นต้องเร่งพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายกระตุ้นทางการคลัง เช่น การปรับลดภาษีต่างๆ ที่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถทำได้... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2562
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศลุกลามไปยัง “ประเด็นค่าเงิน” จากที่ก่อนหน้านี้ การตอบโต้ระหว่างกันมักจะอยู่ในขอบเขตของเรื่องภาษีและการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ล่าสุดระบุว่า “จีนเป็นผู้บิดเบือนค่าเงิน” ซึ่งนับเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้น หลังจากที่ทางการจีนปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าทะลุแนว 7 หยวนต่อดอลลาร์ฯ... อ่านต่อ
17 เมษายน 2562
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.4 (YoY) ในไตรมาส 1 ปี 2562 ทรงตัวจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 โดยแม้ว่าการส่งออกของจีนจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแรง อย่างไรก็ดี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเริ่มส่งผลเป็นรูปธรรม อีกทั้งความคืบหน้าของการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ช่วยประคองโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงปลายไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 2562 ยังคงอ่อนแรง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2562 จะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 (กรอบคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.0-6.4) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนน่าจะผ่านจุดสูงสุดที่ไตรมาสแรก และคงชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจัยเชิงบวกจะมีจำกัดจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาหนี้ที่เร่งตัวสูงขึ้น ในขณะที่ปัจจัยภายนอกยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกไทยไปจีนจะหดตัวในกรอบร้อยละ (-)0.5-3.0 ในปี 2562 หลังจากที่การส่งออกไทยไปจีนหดตัวถึงร้อยละ (-)9.2 (YoY) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยการส่งออกไทยไปจีนมีแนวโน้มที่จะหดตัวน้อยลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากข้อพิพาททางการค้าที่เริ่มคลี่คลาย และมาตรการกระตุ้นการเศรษฐกิจของทางการจีน สำหรับในด้านการท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2562 ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยมีแนวโน้มเติบโตได้และตลาดนักท่องเที่ยวจีนจะยังเป็นตลาดสำคัญอันดับหนึ่งของไทย แต่อัตราการขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวจีนคงจะไม่แตะระดับสูงเท่าในอดีตที่ผ่านมา ... อ่านต่อ