Display mode (Doesn't show in master page preview)

25 พฤษภาคม 2564

สถาบันการเงิน

ความต้องการใช้สภาพคล่องระบบการเงินไทยปี’-64-เร่งตัวขึ้น-หลังการระบาดของโควิด-19-ยืดเยื้อ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3225)

คะแนนเฉลี่ย

แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 19 จะยังคงยืดเยื้อ และส่งผลทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้องล่าช้าออกไป แต่เมื่อดูในมิติของปัจจัยที่กระทบสภาพคล่องในระบบกา​รเงินไทยปีนี้ กลับมีมากขึ้น ทั้งจากการระดมทุนของภาครัฐที่ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อประคองเศรษฐกิจ และการระดมทุนภาคเอกชนทั้งที่ผ่านการออกหุ้นกู้และการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการประเมินแนวโน้มความต้องการใช้สภาพคล่องและปริมาณสภาพคล่องในระหว่างปี 2564 โดยพบว่า ในปี 2564 นี้ จะมีความต้องการใช้สภาพคล่องส่วนเกินอยู่ประมาณ 1.46 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดี มองว่า ปัจจัยความต้องการใช้สภาพคล่องส่วนเกินนี้ ยังอยู่ในวิสัยที่บริหารจัดการได้ และคงไม่กดดันให้ผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยตลาดพุ่งขึ้นจนถึงขั้นกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะที่เหลือของปี เนื่องจากธปท. ยังคงมีกลไก/เครื่องมือที่สามารถดูแลปริมาณสภาพคล่องโดยรวม ประกอบกับสามารถนำสภาพคล่องสะสมจากส่วนอื่นๆ ในระบบมาบริหารจั​ดการได้ นอกจากนี้คาดว่าแรงกดดันต่อดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะทยอยลดน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2564  

แม้ประเด็นด้านสภาพคล่องยังอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถบริหารจัดการได้ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมุมมองตามเดิมว่า ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกดดันต้นทุนการระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรให้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในระยะที่เหลือของปี 2564 โดยคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ณ สิ้นปี 2564 อาจขยับสูงขึ้นไปที่กรอบ 1.70-2.10% โดยแนวโน้มขาขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวย่อมจะส่งผลทำให้ต้นทุนการออก​​หุ้นกู้ภาคเอกชนขยับสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ทิศทางดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะอิงกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินและสภาพเศรษฐกิจไทยมากกว่า​​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


สถาบันการเงิน