Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 มิถุนายน 2563

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปี 2563 … กำลังซื้อของผู้บริโภคยังเป็นโจทย์สำคัญ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3119)

คะแนนเฉลี่ย

​         ​ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เครื่องชี้กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ปรับลดลงตามสภาพปัจจัยแวดล้อม โดยอัตราการรจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 เฉลี่ยหดตัวประมาณ 75% (YoY) ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4% (YoY) จากปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก รวมถึงแผนกิจกรรมการตลาดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยต้องเลื่อนออกไป ซึ่งเดิมการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในประเทศก็อยู่ภายใต้แรงกดดันอยู่แล้วจากกำลังซื้อที่เปราะบาง ประเด็นมาตรการและกฎระเบียบด้านภาษี ทั้งมาตรการ LTV และกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

            สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปี 2563 น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยยังพอมีปัจจัยด้านบวกอย่างมาตรการการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท (สิ้นสุด 24 ธ.ค. 63) และแคมเปญกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการ จึงอาจเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี แนวโน้มเศรษฐกิจที่กระทบภาคธุรกิจและกำลังซื้อครัวเรือนเป็นวงกว้าง ทำให้การซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลทั้งปี 2563 คงยากจะพลิกเป็นบวก โดยคาดว่าจะมีจำนวน 62,000-67,000 หน่วย หรือหดตัว 37.9% ถึงหดตัว 32.9% จากปีก่อน

         ดังนั้น ภายใต้ภาพความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่ชะลอลง ผู้ประกอบการหลายรายจึงมีการปรับลดการลงทุนและรอจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าอาจจะส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อแนวโน้มผลประกอบการทางธุรกิจ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นการปรับสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าในพอร์ตของผู้ประกอบการให้มีเสถียรภาพ ภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดมีที่อยู่อาศัยรอขายสะสมเหลืออยู่จำนวนมากโดยทั้งปี 2563 คาดว่าการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีจำนวนประมาณ 68,000 -72,000 หน่วย ลดลง 42.8% ถึงลดลง 39.5% จากปีก่อน


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม