Display mode (Doesn't show in master page preview)

30 มีนาคม 2566

เศรษฐกิจไทย

บรรยากาศเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกระทบภาพรวมการส่งออกไทยปี 2566 มีแนวโน้มหดตัวเพิ่มขึ้นที่ -1.2% (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3996)

คะแนนเฉลี่ย

        การส่งออกไทยในช่วงต้นปี 2566 ยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2566 การส่งออกไทยหดตัวที่ -4.7 (YoY) เป็นการหดตัวติดต่อกันเดือนที่ 5 โดยได้รับแรงกดดันหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของประเทศดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 และส่งผลให้การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดสำคัญเกือบทั้งหมดยกเว้นยูโรโซนหดตัวโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังตลาดจีนมีทิศทางดีขึ้นโดยติดลบน้อยลงหลังได้รับแรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการควบคุมโควิดไปในช่วงต้นปี 2566
        ทั้งนี้ สำหรับภาพรวมการส่งไทยในปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า การส่งออกไทยจะยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนที่เผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นจากปัญหาภาคธนาคาร ซึ่งอาจจะกระทบต่อภาคการค้าของไทย นอกจากนี้ การส่งออกไทยยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยฐานในปีก่อนหน้าที่อยู่ในระดับสูง และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับลดลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่อานิสงส์จากความต้องการสินค้าของจีนมีลักษณะที่ทยอยปรับตัวดีขึ้นหลังยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมีมุมมองว่าการส่งออกไทยในปี 2566 คงติดลบเพิ่มขึ้นที่ -1.2% (จากที่คาดการณ์เดิมเมื่อเดือนมกราคม 2566 ว่าหดตัวที่ -0.5%)

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม