Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 กรกฎาคม 2561

เศรษฐกิจไทย

เสถียรภาพไทยยังแข็งแกร่งรับมือความผันผวนของเงินทุนไหลออกได้ ... จับตาความผันผวนที่รุนแรงมากขึ้นจากสงครามการค้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2918)

คะแนนเฉลี่ย

​​         ความตึงเครียดของสงครามทางการค้าในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับเป็นช่วงจังหวะเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดการเงินภายในภูมิภาคต้องเผชิญกับความผันผวนของเงินทุนไหลออก ส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์และค่าเงินสกุลภูมิภาคทุกสกุลโดยถ้วนหน้า

ทั้งนี้ แม้ความผันผวนของเงินทุนไหลออกในระดับภูมิภาคดังกล่าวไม่ได้เหนือความคาดหมาย ทว่า ความเคลื่อนไหวของเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะข้างหน้า คงเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากกว่าที่จะเป็นปัจจัยในระดับภูมิภาค กล่าวคือ

  • กลุ่มประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่เปราะบาง คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการขาดดุลทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลัง ขณะที่ มาเลเซียแม้ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทว่า มีสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นในระดับที่วิกฤติ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกประเทศในกลุ่มนี้ถือเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันและสกัดเงินทุนไหลออกในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทำให้ทางการของประเทศเหล่านี้คงมีเครื่องมือเชิงนโยบายการเงินที่จำกัดมากขึ้นในระยะข้างหน้าสำหรับการรองรับความผันผวนของเงินทุนไหลออก จึงมีความเสี่ยงที่เงินลงทุนเก็งกำไรระยะสั้นที่จะไหลออกอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 2561
  • กลุ่มประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง คือ ไทย ซึ่งมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่ำเมื่อเทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ ทำให้คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีน่าจะเผชิญแรงกดดันจากเงินทุนไหลออกในระดับที่จำกัดมากขึ้น ในส่วนจีนเอง แม้จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดควบคู่ไปกับการขาดดุลการคลัง แต่ทางการจีนมีทรัพยาการทางการเงินและเครื่องมือเชิงนโยบายที่หลากหลาย คงทำให้จีนประคองตัวผ่านความผันผวนในครั้งนี้ได้

 อย่างไรก็ดี คงต้องคอยติดตามผลกระทบจากสงครามทางการค้า ที่หากยืดเยื้อคงเริ่มมีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงในระยะ 2-4 ปีช้างหน้า กอปรกับวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น คงทำให้ประเด็นกังวลกลับไปสู่ความเสี่ยงด้านเสถียรภายภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีความเปราะบางด้านหนี้ภาคธุรกิจหรือหนี้ภาคครัวเรือน ที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงเชิงระบบได้ในระยะข้างหน้า



ดูรายละเอียดฉบับเต็ม