18 พฤศจิกายน 2567
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
19 สิงหาคม 2567
20 พฤษภาคม 2567
13 มีนาคม 2567
20 กุมภาพันธ์ 2567
12 ธันวาคม 2566
21 พฤศจิกายน 2566
26 กันยายน 2566
21 สิงหาคม 2566
11 กรกฎาคม 2566
4 กรกฎาคม 2566
15 พฤษภาคม 2566
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2566 ขยายตัวที่ 2.7% YoY ขณะที่เมื่อปรับฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2566 ขยายตัวได้ 1.9% QoQ จากไตรมาสที่ผ่านมา ใกล้เคียงกับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 1/2566 มีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งออกภาคบริการขยายตัวได้ถึง 87.8% YoY นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ 5.4% YoY ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ชะลอลง ... อ่านต่อ
20 กุมภาพันธ์ 2566
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2565 ขยายตัวต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ที่ 3.7% จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก แม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะกดดันการส่งออกไทย (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3992)... อ่านต่อ
13 มกราคม 2566
การเปิดประเทศเร็วของจีนคาดส่งผลบวกให้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 25.5 ล้านคน และการส่งออกหดตัวลดลงที่ -0.5% ในปี 2566 ในขณะที่คงส่งผลต่อเงินเฟ้อโลกให้ลดลงช้ากว่าที่คาด... อ่านต่อ
19 ธันวาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับตัวเลขประมาณการจีดีพีปี 2566 มาที่ร้อยละ 3.2 จากเดิมที่อยู่ในกรอบร้อยละ 3.2-4.2 แม้ว่าจะปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีสำหรับทั้งปี 2565 จากร้อยละ 2.9 มาที่ร้อยละ 3.2 ก็ตาม... อ่านต่อ
28 กันยายน 2565
ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ นำโดยสหรัฐฯ ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัว... อ่านต่อ
1 กรกฎาคม 2565
วันที่ 2 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันครบรอบการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ดังนั้นในช่วงเวลานี้ของทุกปีจึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะย้อนกลับไปทบทวนสิ่งที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนของโครงสร้างเศรษฐกิจการเงินไทยในเวลานั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเดินซ้ำรอยอดีต และเปรียบเทียบเพื่อประเมินจุดเหมือนหรือแตกต่างกับบริบทปัจจุบันเพื่อให้รู้เท่าทันสถานการณ์ และสามารถปรับแนวทางเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่เส้นทางการฟื้นตัวที่มีความต่อเนื่องและมั่นคงขึ้นในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
28 มิถุนายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินทิศทางเศรษฐกิจ จากแผนการเปิดประเทศและสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายลง หนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิม และมีอานิสงส์ต่อเนื่องมายังการปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีสำหรับทั้งปี 2565 เป็น 2.9% ... อ่านต่อ
25 มีนาคม 2565
21 ธันวาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 22 ธ.ค. นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ท่ามกลางความเสี่ยงที่มีมากขึ้นจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งอาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทยอาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักอีกครั้ง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ คาดว่ากนง. น่าจะยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ในการประชุมนโยบายการเงินที่จะถึงนี้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยกนง. คงให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากกว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มีมากขึ้น โดยมีมุมมองว่าแม้เงินเฟ้อไทยจะพุ่งสูงขึ้นตามแนวโน้มเงินเฟ้อโลก แต่คาดว่าระดับเงินเฟ้อไทยจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของกนง. นอกจากนี้ ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งนี้จะมีการประกาศประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ซึ่งคาดว่าธปท. อาจมีอาจปรับประมาณการเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในปีนี้และลดลงในปีหน้า สำหรับในด้านของเงินเฟ้อ คาดว่าธปท. อาจปรับประมาณการเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทั้งในปีนี้และปีหน้า หลังจากเงินเฟ้อโลกมีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกสักระยะหนึ่งท่ามกลางปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน... อ่านต่อ
7 ธันวาคม 2564
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทยกลับมามีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังเริ่มปรากฏการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Omicron ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับอัตราการแพร่เชื้อและประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม การที่หลายประเทศเริ่มคุมเข้มด้านการเดินทาง ก็อาจทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 โดยเฉพาะในไตรมาสแรกได้รับผลกระทบ... อ่านต่อ
27 ตุลาคม 2564
เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวที่ 3.7% จากความครอบคลุมของประชากรที่จะได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% น่าจะช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้การดำเนินธุรกิจในประเทศไม่หยุดชะงัก โดยปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมาจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำและผลของ pent-up demand รวมถึงการลงทุนรวม ในขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิดที่ยังมีอยู่ ประกอบกับความเสี่ยงจากราคาน้ำมันและเงินเฟ้อ ทำให้มุมมองต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ไม่ได้เร่งตัวได้สูงอย่างที่ควรจะเป็น... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2564
เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาด จากตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ที่ขยายตัว 7.5% YoY เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ และการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นเป็นหลัก ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.0% YoY อย่างไรก็ดี หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพียง 0.4% QoQ แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแรงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ... อ่านต่อ
15 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด จึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ในขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐคาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชน แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2564
จากมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่ให้มีการหยุดงานก่อสร้างโดยเน้นไปที่โครงการขนาดใหญ่ อย่างน้อย 30 วัน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวมถึงการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้เปิดดำเนินการได้เฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น และอื่นๆ โดยให้เริ่มตั้งแต่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ตามมาด้วยการออกมาตรการเยียวยาผลกระทบต่อลูกจ้างและนายจ้างทั้งในและนอกระบบประกันสังคมของภาครัฐภายใต้วงเงินเบื้องต้น 7,500 ล้านบาทเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในบทความนี้ จะเน้นวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม... อ่านต่อ
10 มิถุนายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 1.8% โดยมองว่าเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการฉีดวัคซีน แต่หากสามารถเร่งกระจายวัคซีนได้มากพอภายใน 2-3 เดือนนี้ คงทำให้ภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2564
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2564 หดตัวที่ -2.6% YoY น้อยกว่าตลาดคาดที่ -3.3% โดยถูกขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก โดยการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เข้ามาช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของครัวเรือน เช่น โครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง โครงการ ม.33 เรารักกัน เป็นต้น... อ่านต่อ
20 เมษายน 2564
จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มเติบโตลดลงที่ 1.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6% โดยมองว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ในขณะที่แม้ว่าจะไม่ได้มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน อย่างไรก็ตาม ประมาณการเศรษฐกิจใหม่ได้รวมปัจจัยบวกจากแนวโน้มการส่งออกที่จะเติบโตดีกว่าที่เคยประเมินไว้จากอานิสงส์ของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด นอกจากนี้ยังได้รวมถึงปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปแล้ว โดยมีโครงการที่ยังดำเนินอยู่ เช่น โครงการเราชนะ และโครงการเรารักกัน ขณะที่มีมุมมองว่า ภาครัฐจะมีมาตรการต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศภายใต้วงเงินกู้ 1 ล้านล้าน ซึ่งยังมีวงเงินคงเหลืออยู่ราว 2.4 แสนล้านบาท ประกอบกับยังมีเงินจากงบกลาง ภายใต้ พรบ.งบประมาณปี 2564 ที่สามารถนำมาใช้ได้อีกราว 1.3 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีความกังวลถึงการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2 ล้านคน... อ่านต่อ
8 มีนาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 2.6% ในกรณีพื้นฐาน แต่ปรับกรอบประมาณการจากเดิมที่ 0.0-4.5% มาที่ 0.8%-3.0%... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2564
เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวน้อยกว่าที่คาดจากมาตรการภาครัฐที่ช่วยประคองเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวที่ร้อยละ -6.1 ซึ่งต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ที่ร้อยละ -6.7 เล็กน้อย โดยหลักๆ แล้วเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นจากมาตรการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งที่มีเม็ดเงินใช้จ่ายผ่านโครงการดังกล่าวในไตรมาสที่ 4 ถึงร้อยละ 0.3 ของ GDP ... อ่านต่อ
22 ธันวาคม 2563
จากสถานการณ์ COVID-19 รอบใหม่ที่เริ่มต้นจากตลาดกุ้งในสมุทรสาคร จนกระทั่งมีการล็อกดาวน์จังหวัดสมุทรสาครตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 ขณะเดียวกันก็พบจำนวนผู้ติดเชื้อที่กระจายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ ในหลายจังหวัด ในเบื้องต้น ภายใต้กรณีที่ไม่พบคลัสเตอร์ของจำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดอื่นหรือเหตุการณ์ไม่ลุกลามจนนำมาสู่การล็อกดาวน์เป็นวงกว้าง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยอาจได้รับความสูญเสียจากการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 คิดเป็นมูลค่าราวๆ 45,000 ล้านบาทในกรอบเวลา 1 เดือน ... อ่านต่อ
16 พฤศจิกายน 2563
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2563 หดตัวดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -8.0% YoY โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ที่ฟื้นตัวดีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่สะสมมาจากช่วงก่อนหน้าหลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศรวมถึงไทย ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่าจะยังหดตัวอยู่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายครัวเรือนของภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวไม่ต่ำกว่า -7.0%... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยแตะระดับต่ำสุดเมื่อไตรมาส 2 ของปีนี้จากมิติการหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) คาดปีนี้จีดีพี -10% ขณะที่ หากเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวแบบ U-Shaped ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร ยังน่าห่วง... อ่านต่อ
17 สิงหาคม 2563
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 หดตัวที่ -12.2% YoY ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ -13.0% ถึง -17.0% YoY เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่พลิกกลับมาขยายตัวในไตรมาส 2/2563 ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่อง 3 เดือน ในโครงการ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ที่มีการจ่ายเงินในช่วงไตรมาส 2/2563 ขณะที่อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ในไตรมาส 2/2563 ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำและงบประมาณรายจ่ายลงทุนก็สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ภาคก่อสร้างยังคงขยายตัวได้ในไตรมาส 2/2563 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลึกสุดในไตรมาส 2/2563 และทยอยหดตัวน้อยลงในช่วงที่เหลือของปี... อ่านต่อ
6 มีนาคม 2563
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ยังส่อเค้าความรุนแรงและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นทั่วโลก หลังจากยอดผู้ติดเชื้อนอกจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่า 90,000 คน ครอบคลุมมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยห่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่อเค้ารุนแรงและกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังเป็นเหตุการณ์ที่ไม่นิ่งซึ่งทำให้การประเมินผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมีความซับซ้อนตามไปด้วย... อ่านต่อ
17 กุมภาพันธ์ 2563
ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มาในจังหวะที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ภาวะชะลอตัวจากผลกระทบต่อเนื่องของสงครามการค้า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาวะภัยแล้งที่รุนแรง ซึ่งปัจจัยต่อเนื่องดังกล่าวมีผลให้ GDP ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินที่ 1.6% ต่อปี และเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2562 ขยายตัว 2.4% ทั้งนี้ เมื่อรวมผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2563 ลดลงอย่างรวดเร็ว รายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะหายไปราว 2.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีภาคการส่งออก-นำเข้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเกี่ยวเนื่องกับจีนที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดผลิตของโรงงานในจีน ส่งผลให้ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2563 มีแนวโน้มจะไม่ขยายตัว... อ่านต่อ
31 มกราคม 2563
ประเด็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มเติมจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่จะกระทบรายได้จากการท่องเที่ยวมาในจังหวะเวลาที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 มีแนวโน้มล่าช้าในการบังคับใช้ ทำให้เครื่องมือทางการคลังจะยังไม่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อย่างเต็มที่ จึงต้องอาศัยนโยบายการเงินให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวพยุงเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภาวะภัยแล้งที่กดดันกำลังซื้อของเกษตรกร และการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ยังต้องรอเม็ดเงินใหม่ๆ จากงบประมาณประจำปี 2563 จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่เจอปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาพร้อมกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุม กนง. ในวันที่ 5 ก.พ. นี้ คณะกรรมการฯ คงพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อย 0.25% ในกรณีที่คณะกรรมการฯ ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่ามีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ทางเลือกในการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมี 2 แนวทาง ได้แก่ ทางเลือกแรก พิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบเดือนก.พ. ลง 0.25% และพิจารณาปรับลดเพิ่มเติมในการประชุมรอบเดือนมี.ค. อีก 0.25% หรือ ทางเลือกที่สอง พิจารณาปรับลดลงในคราวเดียวกันได้ถึง 0.50% จากระดับปัจจุบันที่ 1.25% มาอยู่ที่ 0.75% ต่อปี... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2562
สำหรับในปี 2563 คาดการณ์จีดีพีขยายตัวที่ 2.7% (กรอบประมาณการ 2.5%-3.0%) โดยหวังแรงหนุนจากภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อน บนเงื่อนไขสำคัญคือรัฐบาลต้องเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สถานการณ์ทางการเมือง ส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันเม็ดเงินงบประมาณใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และมีผลลบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภาคเอกชน ก็อาจทำให้จีดีพีปีหน้าวิ่งเข้าหากรอบล่างของประมาณการที่ 2.5% หรือต่ำกว่านั้น ในขณะที่ภาคการส่งออกคาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง เพราะตลาดส่งออกหลักยังมีทิศทางชะลอตัว ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่น่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในอนาคตอันใกล้ และเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่า โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าที่คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม ซึ่งจะกดดันให้เงินดอลลาร์ฯ ยังอ่อนค่า... อ่านต่อ
18 พฤศจิกายน 2562
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ยังให้ภาพที่ชะลอตัว ตามผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกที่ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ประเด็นค่าเงินบาทที่ลดทอนขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก ท่ามกลางการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังโตในกรอบจำกัด ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนยังสามารถเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง โดยทิศทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 จะยังคงมีภาพที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 แต่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยประคองภาพรวมการใช้จ่ายครัวเรือน ตลอดจนความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 น่าจะโตดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ 3 แต่คงไม่เพียงพอที่จะทำให้ภาพรวมทั้งปี 2562 ขยายตัวได้ตามที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.8 ในขณะที่ยังมองกรอบล่างไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2562
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินมาตรการตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. จนถึง 30 พ.ย. 2562 โดยในปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จบางส่วนได้เริ่มออกมาใช้สิทธิ์ตามจังหวัดปลายทางต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 1 โดยผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ... อ่านต่อ
2 ตุลาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเดิม 3.1% ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0% จากหลายปัจจัยลบ... อ่านต่อ
19 สิงหาคม 2562
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.3 (ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี) ส่งผลให้ครึ่งปีแรก GDP ไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลต่อการส่งออกและท่องเที่ยวให้ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนยังสามารถเป็นแรงหนุนต่อเศรษฐกิจได้แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดงานเสวนาเรื่อง “มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง” เมื่อวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา โดยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.1% จากเดิมที่ 3.7% จากภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการค้าโลก หลังสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีโอกาสยืดเยื้อ... อ่านต่อ
21 พฤษภาคม 2562
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส อยู่ที่ 2.8% ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 3.2% จากแรงฉุดด้านการส่งออกที่หดตัวลง ตามภาวะการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามการค้า ในขณะที่ภาพรวมการใช้จ่ายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นตัวหนุนให้เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวเป็นบวกได้ ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจดังกล่าวคาดว่า จะยังต่อเนื่องไปยังไตรมาสที่ 2 ของปี โดยการใช้จ่ายครัวเรือนจะยังเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกลางปี แต่ยังต้องติดตามภาวะภัยแล้งที่มีความเสี่ยงจะลากยาวออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรในไตรมาสที่ 2 ... อ่านต่อ
18 กุมภาพันธ์ 2562
ภาพเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.7 YoY ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากแรงฉุดจากภาคต่างประเทศลดลง ในขณะที่การใช้จ่ายในประเทศยังโตต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยครึ่งแรกของปี 2562 คาดว่า จะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการทั้งปี 2562 ที่ร้อยละ 4.0 ซึ่งนอกจากผลของฐานที่สูงในช่วงครึ่งแรกของปี 2561แล้ว ยังเผชิญมีความไม่แน่นอนทั้งปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน สถานการณ์ Brexit รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสหภาพยุโรป และปัจจัยภายในประเทศคงจะอยู่ที่การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคมนี้ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอย่างเรียบร้อย ปัจจัยดังกล่าวน่าจะสร้างผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ไว้ที่ร้อยละ 4.0 โดยมีกรอบประมาณการที่ร้อยละ 3.5-4.2 ... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
• ภาพเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2561 ขยายตัว 3.3% YoY ต่ำสุดในรอบปี จากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก ในขณะที่การใช้จ่ายในประเทศกลับส่งสัญญาณดีทั้งการบริโภคครัวเรือนและการลงทุนเอกชน • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีว่าน่าจะยังกลับมาโตได้ไม่ต่ำกว่า 4.0% เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทั้งที่เริ่มดำเนินการไปแล้ว และที่อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ การส่งออกและท่องเที่ยวที่สะดุดไปในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น แม้อาจจะไม่โตได้เท่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยในเบื้องต้นประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 น่าจะยังขยายตัวได้ในช่วงกรอบล่างของประมาณการที่ 4.3-4.8% • การพึ่งพิงการเติบโตจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศมีความไม่แน่นอนมากขึ้น กลายโจทย์ที่ท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนในประเทศ สอดรับไปกับการก่อสร้างของโครงการโครงสร้างพื้นฐาน EEC ที่จะมีการประมูลแล้วเสร็จในช่วงต้นปีหน้า และคาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ... อ่านต่อ
20 สิงหาคม 2561
ภาพเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2561 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปี จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี โดยการใช้จ่ายในประเทศได้กลายเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมามาก เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายประการทั้งจากประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยืดเยื้อ ปัญหาเศรษฐกิจตุรกีที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งประเด็นดังกล่าวมองว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกัน ยังต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งนี้ จากภาพเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกที่โตกว่าที่คาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2561 ในเบื้องต้นว่า มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.0-5.0 (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.5) ... อ่านต่อ
6 กรกฎาคม 2561
ความผันผวนของเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันในระดับภูมิภาคเป็นผลมาจากการส่งสัญญาณเร่งจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผนวกกับแรงกดดันด้านสงครามการค้า เมื่อประเด็นกังวลคลี่คลาย แรงกดดันด้านเงินทุนไหลออก น่าจะขึ้นกับปัจจัยเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ โดยไทยซึ่งมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง คงเผชิญกับการไหลออกของเงินทุนอย่างจำกัดในช่วงที่เหลือของปี 2561 ... อ่านต่อ
21 พฤษภาคม 2561
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2561 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ร้อยละ 4.8 (YoY) จากแรงหนุนของการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง ขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนเริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ ผลผลิตภาคเกษตรที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมากก็เป็นตัวหนุน GDP ที่สำคัญในไตรมาสนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 น่าจะเป็นระดับที่สูงที่สุดของปี 2561 นี้ โดยในช่วงที่เหลือของปี GDP น่าจะยังคงรักษาระดับการเติบโตที่สูงกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี ในแต่ละไตรมาสไว้ได้ โดยตัวขับเคลื่อนหลักยังคงมาจากการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่จะขยายตัวเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการเศรษฐกิจที่ร้อยละ 3.5-4.5 (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.0)... อ่านต่อ
22 มกราคม 2561
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนล่าสุดของไทยในไตรมาส 3/2560 ชะลอลง มาอยู่ที่ 78.3% ต่อจีดีพี จากระดับ 78.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาส 2/2560 โดยอาจกล่าวได้ว่า การลด... อ่านต่อ
20 พฤศจิกายน 2560
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี สูงกว่า consensus survey ที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี โดยภาคต่างประเทศยังเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจที่... อ่านต่อ
21 สิงหาคม 2560
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 โตกว่าที่ตลาดคาด จาก GDP ในไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 สูงกว่าที่ตลาดคาด (Bloomberg and Reuter consensus) ไว้ที่ร้อยละ 3.2 โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยการลงทุนภาครัฐยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2560 ท่ามกลางการลงทุนภาคเอกชนที่ทยอยฟื้นตัว ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิรกรไทยมองว่า ตัวเลข GDP ในช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวดีกว่าที่คาด มีโอกาสส่งผลให้ GDP ตลอดทั้งปี 2560 ขยับเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการ (กรอบประมาณการปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.0-3.6) อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งออกที่ได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่อาจจะเป็นแรงกดดันกำลังซื้อเพิ่มเติม โดยในระหว่างนี้ ศูนย์วิจัยกสิรกรไทยยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2560 GDP ไว้ที่ร้อยละ 3.4 เพื่อประเมินผลกระทบจากประเด็นความท้าทายทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2560
Misspelled Wordศูนย์วิจัยกสิกรไทย Misspelled Wordประเมินในเบื้องต้นว่า Misspelled Wordเหตุอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Misspelled Wordได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในหลายจังหวัด (Misspelled Wordจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมาก Misspelled Wordอาทิ Misspelled Wordสกลนคร Misspelled Wordมหาสารคาม Misspelled Wordศรีสะเกษ Misspelled Wordนครราชสีมา Misspelled Wordกาฬสินธุ์) ... อ่านต่อ
15 พฤษภาคม 2560
ภาคเกษตร การส่งออก และการใช้จ่ายครัวเรือนหนุนการเติบโตของ GDP ในไตรมาสแรกให้ขยายตัวสูงกว่าที่คาดที่ร้อยละ 3.3 ท่ามกลางการลงทุนเอกชนที่ยังไม่ฟื้น โดย... อ่านต่อ
20 กุมภาพันธ์ 2560
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2559 เติบโตได้ร้อยละ 3.2 ใกล้เคียงกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ โดยการส่งออกสินค้ากลับมาเป็นแรงช่วยพยุงเศรษฐกิจท่... อ่านต่อ
9 มีนาคม 2559
16 กุมภาพันธ์ 2558
31 มกราคม 2554
24 พฤศจิกายน 2551
25 สิงหาคม 2551
26 พฤษภาคม 2551
30 เมษายน 2551