Display mode (Doesn't show in master page preview)

7 พฤศจิกายน 2561

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ผลเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ... แรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมมีจำกัด ในขณะที่สงครามการค้ายังเดินหน้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2935)

คะแนนเฉลี่ย

​           ผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ปรากฏว่าพรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ซึ่งมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยาก โดยเฉพาะการผ่านร่าง พรบ. งบประมาณที่จะต้องเผชิญกับการต่อรองมากขึ้นจากพรรคเดโมแครต รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มีนาคม 2562 นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อความผันผวนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจจะชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงท่าทีของสหรัฐฯ ในการเดินหน้านโยบายกีดกันทางการค้ากับจีน

   นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งดังกล่าวยิ่งกระตุ้นให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้นโยบายด้านต่างประเทศแบบแข็งกร้าวและเดินบนเส้นทางโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น เนื่องจากนโยบายการค้ายังอยู่ในอำนาจของประธานาธิบดี โดยเฉพาะการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ตามมาตรการปกป้องการค้าที่ไม่เป็นธรรม มาตรา 301 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผลักดันให้เกิดการจ้างานและการลงทุนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และกลายเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่นำทางไปสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในวาระถัดไป อย่างไรก็ดี สงครามการค้าที่สหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มขึ้นในปี 2561 ทวีความรุนแรงเรื่อยมาและจะยังคงส่งผลกระทบรุนแรงลากยาวไปตลอดปี 2562 ซึ่งนับว่าปี 2562 เป็นปีแห่งความยากลำบากที่นานาชาติรวมทั้งไทยต้องเผชิญผลกระทบ 2 ฝั่ง ประกอบด้วย 1) ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ส่งผ่านมายังห่วงโซ่การผลิตของไทย และ 2) ผลกระทบจากการอ่อนแรงของเศรษฐกิจและกำลังซื้อของตลาดทั่วโลก โดยรวมแล้วทำให้การส่งออกไทยในปี 2562 สูญเสียประโยชน์สุทธิ 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6-0.9 ของ GDP ไทย และหลังจากนั้นในปี 2563 น่าจะเป็นปีที่สงครามการค้าเริ่มคลี่คลาย ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศของไทยกับต่างประเทศมีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับ

​​​

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม