26 กันยายน 2565
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
19 กันยายน 2565
5 กันยายน 2565
29 สิงหาคม 2565
8 สิงหาคม 2565
25 กรกฎาคม 2565
21 สิงหาคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นได้เพียงช่วงสั้นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เนื่องจากการปรับตัวลงของบอนด์ยิลด์สหรัฐฯ หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยถูกกดดันจากความไม่แน่นอนของปัจจัยในประเทศ ทั้งประเด็นทางการเมือง และสถานการณ์ของโควิด-19 รวมถึงแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังสามารถฟื้นตัวขึ้นได้บางส่วน หลังรายงานการประชุมเฟดไม่ได้สะท้อนว่า สหรัฐฯ จะมีโอกาสใช้ Yield Curve Control ในระยะใกล้ๆ นี้... อ่านต่อ
14 สิงหาคม 2563
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนก่อนกำหนดการหารือความคืบหน้าของการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายจากความไม่แน่นอนของบทสรุปของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ของสหรัฐฯ ซึ่งทำเนียบขาวและสภาคองเกรสยังมีจุดยืนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดรอติดตามท่าทีระหว่างสหรัฐฯ-จีน และการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/63 ของไทยในช่วงสัปดาห์ถัดไป ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจหดตัวลงในอัตราตัวเลขสองหลัก... อ่านต่อ
31 มกราคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลง สอดคล้องกับทิศทางของหลายสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ ขณะที่แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนของผู้ประกอบการในประเทศก็เป็นปัจจัยลบของเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
27 ธันวาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบแนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ อย่างไรก็ดี กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังค่อนข้างแคบ ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายเริ่มเบาบาง เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงวันหยุดของเทศกาลปลายปี... อ่านต่อ
15 พฤศจิกายน 2562
เงินบาททยอยแข็งค่า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางเงินเยนซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่ได้รับแรงหนุนท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์การเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีสัญญาณเชิงลบตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวว่ายังไม่มีการตอบตกลงเรื่องการทยอยลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และสหรัฐฯ อาจปรับเพิ่มภาษีอีกครั้ง หากสองประเทศไม่บรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอประเมินความคืบหน้าของดีลการค้าของสหรัฐฯ-จีนอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียและสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายต่อเนื่อง หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณอ่อนแอตอกย้ำโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ เงินบาทเพิ่มช่วงบวกและทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีครั้งใหม่ที่ 30.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงหนุนจากปัจจัยทางเทคนิคหลังเงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนในประเด็นการเจรจาการค้า และระหว่างสหภาพยุโรปและอังกฤษในเรื่องรายละเอียดของข้อตกลง BREXIT อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่ธปท. ส่งสัญญาณเตรียมจะออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทใน 1-2 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ แรงหนุนสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นรับความคาดหวังเชิงบวกต่อผลการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยกดดันของเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
4 ตุลาคม 2562
เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงจากสงครามการค้า สถานการณ์ BREXIT และสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตในสหรัฐฯ และยูโรโซน นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตอกย้ำทิศทางชะลอตัว อาทิ การจ้างงานภาคเอกชน และดัชนี ISM ภาคบริการในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
9 สิงหาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทได้รับแรงหนุนในช่วงต้นสัปดาห์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ประกอบกับตลาดมีความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนมากขึ้น เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ (แม้ว่าจะมีจังหวะอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังกนง. มีมติปรับลดดอกเบี้ยนอกเหนือการคาดการณ์ของตลาดลงมาที่ 1.50%) โดยเงินบาทน่าจะมีแรงหนุนบางส่วนจากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก จังหวะการเข้าซื้อพันธบัตรไทยของต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ และทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ยังอ่อนแอเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ขณะที่ สกุลเงินในภูมิภาคบางส่วนเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากที่อ่อนค่าลงตามเงินหยวนในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงในระยะใกล้ๆ นี้ ประกอบกับมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ในทางกลับกัน เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับงบประมาณของสหรัฐฯ และการที่ IMF ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางส่วนที่ออกมาดีกว่าที่คาด ทำให้ตลาดระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินมุมมองดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสิ้นเดือนก.ค. ... อ่านต่อ
19 กรกฎาคม 2562
เงินบาทกลับมาแข็งค่าปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะการขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยฟื้นกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดัน ทั้งจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด และจากถ้อยแถลงของประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมสิ้นเดือนก.ค. นี้ นอกจากนี้ รายงานของ IMF ที่ระบุว่าเงินดอลลาร์ฯ มีมูลค่าสูงเกินจริง ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยกดดันจากกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ เงินเฟ้อที่ชะลอลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
7 มิถุนายน 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ 31.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติระหว่างสัปดาห์ สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งกระตุ้นกระแสการคาดการณ์ว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงภายในปีนี้ นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ที่อ่อนแอก็เป็นปัจจัยลบของเงินดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
31 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินเอเชียบางส่วนที่เผชิญแรงกดดันจากสัญญาณความตึงเครียดของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถทยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิหุ้น และพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานทบทวนนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ซึ่งไทยไม่ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ถูกติดตาม (Monitoring List) ตามที่มีความกังวลในช่วงก่อนหน้านี้ ... อ่านต่อ
17 พฤษภาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวนและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ก่อนจะดีดตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับรายงานนโยบายค่าเงินของประเทศคู่ค้าโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์เช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความไม่แน่นอนของประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่คาด... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าทดสอบระดับ 31.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางสัญญาณที่ตึงเครียดขึ้นของประเด็นทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินบาทบางส่วนหลังตลาดกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. แต่ฟื้นตัวกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนได้ช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าผิดหวัง ประกอบกับนักลงทุนยังคงรอติดตามการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
3 พฤษภาคม 2562
เงินบาทขยับอ่อนค่าเล็กน้อย แต่ภาพรวมตลอดสัปดาห์ยังคงทรงตัวอยู่ในกรอบแคบใกล้ระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ไม่ได้รับแรงหนุนมากนักก่อนการประชุมเฟดกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้นหลังการประชุมเฟด เนื่องจากเฟดยังไม่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าไปที่ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงหนุนเพิ่มเติม หลังเงินยูโร ถูกกดดันจากสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีและยูโรโซนในภาพรวม อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
19 เมษายน 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังตลาดในประเทศกลับมาเปิดทำการจากช่วงวันหยุดยาว โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ ยอดขาดดุลการค้าที่ลดลงในเดือนก.พ. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ยังคงปรับตัวลงตลอด 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา และยอดค้าปลีกในเดือนมี.ค. ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น)... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนก.พ. ที่หดตัวลง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางสัญญาณขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ ขณะที่ การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ของ IMF ลงมาที่ 3.3% เพิ่มแรงกดดันต่อสกุลเงินในภูมิภาค เงินบาทฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับค่าเงินหยวน หลังตัวเลขส่งออกเดือนมี.ค. ของจีน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
29 มีนาคม 2562
เงินบาทฟื้นตัวท้ายสัปดาห์ หลังอ่อนค่าลงในช่วงแรก โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับสัญญาณไหลออกของเงินทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทย ขณะที่ นักลงทุนรอติดตามปัจจัยทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนบางส่วนจากความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เงินบาทปรับตัวแตะระดับอ่อนค่าสุดของสัปดาห์ที่ 31.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ... อ่านต่อ
22 มีนาคม 2562
เงินบาทแกว่งตัวระหว่างสัปดาห์ตามผลการประชุมกนง. และเฟด โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ก่อนจะอ่อนค่าไปที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ (อ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์) ช่วงกลางสัปดาห์หลังผลการประชุมกนง. ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% และมีการปรับลดตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลง อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าในช่วงต่อมา ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการประชุมเฟด โดยเฟดส่งสัญญาณว่า อาจจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในปีนี้ เงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งในประเทศ... อ่านต่อ
8 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือน ที่ 31.97 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.พ. ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
1 มีนาคม 2562
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยเงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ แต่ขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยท่ามกลางสัญญาณคลี่คลายของประเด็นตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 31.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนให้แข็งค่าขึ้น จากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/61 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยเงินบาทขยับแข็งค่าในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของค่าเงินและตลาดหุ้นในภูมิภาค ท่ามกลางความหวังว่า สหรัฐฯ และจีนอาจสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างกันได้ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมระหว่างสัปดาห์จากความคิดเห็นที่สนับสนุนการชะลอเวลาการขึ้นดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนแอ โดยเฉพาะยอดค้าปลีก และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
8 กุมภาพันธ์ 2562
เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ก่อนจะกลับมาอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์ แม้ภาพรวมทิศทางของเงินบาทในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ จะเป็นกรอบการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างแคบ แต่เงินบาทก็ขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยตามแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากธปท. ส่งสัญญาณพร้อมเข้าดูแลหากพบความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของเงินบาท ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยช่วงปลายสัปดาห์เช่นกัน... อ่านต่อ
18 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน ก่อนลดช่วงบวกลงเล็กน้อยปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด สัญญาณที่ตอกย้ำแนวโน้มการชะลอการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากรองประธานเฟด และภาวะชัตดาวน์หน่วยงานราชการสหรัฐฯ ที่ยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนลงก่อนปิดตลาดในประเทศช่วงปลายสัปดาห์ ... อ่านต่อ
11 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครั้งใหม่ที่ 31.87 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงกดดันเงินดอลลาร์ฯ ที่มาจากหลายด้าน โดยเฉพาะสัญญาณชะลอจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (ซึ่งถูกตอกย้ำทั้งจากการแสดงความคิดเห็นของประธานเฟด และบันทึกการประชุมเฟด) รวมถึงความกังวลต่อความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อของภาวะชัตดาวน์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และเงินหยวน ก็เป็นปัจจัยที่หนุนการแข็งค่าของเงินบาทด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
4 มกราคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 7 เดือนที่ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด เพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงแข็งค่าเล็กน้อยก่อนปิดตลาดปลายสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน หลังธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง RRR ลง 1% เพื่อหนุนเศรษฐกิจจีน ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่การเคลื่อนไหวระหว่างสัปดาห์ยังคงอยู่ในกรอบแคบ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนลงบางส่วน หลังมีรายงานข่าวระบุว่า จีนอาจพิจารณาปรับลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ หลัง ECB ปรับลดตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยูโรโซนลง ประกอบกับน่าจะมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมเฟด (18-19 ธ.ค.) ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
7 ธันวาคม 2561
เงินบาทแกว่งตัวเป็นกรอบ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงิน-ตลาดหุ้นในภูมิภาค ตลอดจนสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดัน หลัง ปธน. สหรัฐฯ และจีนเห็นพ้องให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ ออกไป 90 วัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกบางส่วนและกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงปีหน้า กระตุ้นให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงและปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ... อ่านต่อ
30 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดกำลังเข้าใกล้ระดับที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ โดยถ้อยคำดังกล่าว ถูกตีความเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะมีจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงในช่วงปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งค่าของเงินบาทยังคงจำกัด เนื่องจากตลาดยังคงรอประเมินสัญญาณจากการหารือนอกรอบประชุม G20 ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นทางการค้า ... อ่านต่อ
23 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดบางส่วนเริ่มประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปีหน้าอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต่อมา โดยมีปัจจัยลบจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ของไทยที่เติบโตน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากตลาดยังคงรอความชัดเจนของข้อตกลง BREXIT และประเด็นทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
16 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาแข็งค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ท่ามกลางปัจจัยหนุนเงินดอลลาร์ฯ จากแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยฟื้นตัวขึ้นในช่วงต่อมา ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย ท่ามกลางความคาดหวังต่อข้อสรุปการเจรจาข้อตกลง BREXIT ระหว่างอังกฤษและอียู และข้อพิพาททางการค้าสหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ เงินบาทอาจจะได้รับแรงหนุนบางส่วนจากผลการประชุมกนง. (14 พ.ย.) ซึ่งแม้ว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% ตามเดิม แต่ก็มีคณะกรรมการฯ จำนวนมากขึ้นที่มองว่า ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ ทั้งนี้ เงินบาทกลับมาทรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ ตลาดยังคงรอความชัดเจนของประเด็น BREXIT และการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ และจีนอย่างใกล้ชิด... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่ากว่าระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง เงินบาทแกว่งตัวในช่วงต้นสัปดาห์รอผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ก่อนจะขยับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงกดดันของเงินดอลลาร์ฯ หลังผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ สิ้นสุดลงด้วยการครองเสียงข้างมากในแต่ละสภาของทั้ง 2 พรรค โดยเดโมแครตกลับมาครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ขณะที่ รีพับลิกันครองเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นหลังผลการประชุมเฟดแม้เฟดจะยืนดอกเบี้ยไว้ตามเดิม เนื่องจากสัญญาณจากเฟดยังคงย้ำถึงการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องในระยะใกล้ๆนี้ โดยเฉพาะการประชุมเฟดเดือนธ.ค. ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าจนหลุดแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันจากข้อมูลการส่งออกไทยที่ออกมาหดตัวกว่าที่คาด ประกอบกับมีปัจจัยลบตลอดสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากการเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งเรื่องแผนงบประมาณของอิตาลี และสหภาพยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมช่วงปลายสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ อาทิ ข้อมูลการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าในช่วงแรก แต่ลดช่วงบวกลงท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนก.ย. ที่เพิ่มน้อยกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากบันทึกการประชุมเฟด (25-26 ก.ย.) ซึ่งตอกย้ำแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในช่วงปีหน้า ขณะที่ การอ่อนค่าของเงินหยวน หลังจีดีพีไตรมาส 3 ของจีนออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด ก็เป็นปัจจัยลบต่อสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และเงินบาท เช่นกัน ... อ่านต่อ
12 ตุลาคม 2561
เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามทิศทางค่าเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี CPI และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินหยวนที่กลับมาเคลื่อนไหวในกรอบที่มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าในช่วงต้นสัปดาห์ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินในภูมิภาคและเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าทดสอบแนว 32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งกว่าที่คาด (อาทิ ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) เป็นปัจจัยบวกของค่าเงินดอลลาร์ฯ และหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ... อ่านต่อ
28 กันยายน 2561
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่ภาพรวมยังเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางภาวะตึงเครียดเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีรายงานข่าวระบุว่า จีนยกเลิกแผนการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ก่อนเส้นตายของมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเริ่มมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ ยังมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมเฟดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
เงินบาทกลับมาแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน หลังการประชุมกนง. โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจากจีนรอบใหม่ อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวขึ้น และแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ 32.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมกนง. ล่าสุดที่มีคณะกรรมการกนง. 2 เสียงเสนอให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ แถลงการณ์หลังการประชุมกนง. ระบุเพิ่มเติมถึงแนวโน้มการทยอยลดความจำเป็นสำหรับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
7 กันยายน 2561
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลง สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ที่เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ทั้งประเด็นกับจีนและแคนาดา ที่ยังอยู่ระหว่างการรอแนวทางสรุปที่ชัดเจน นอกจากนี้ แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัดในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด กระตุ้นแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ปลายสัปดาห์... อ่านต่อ
31 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนครั้งใหม่ที่ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงแรก สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ รับรายงานข่าวที่สหรัฐฯ และเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นี้ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวออกมาดีกว่าที่คาด นอกจากนี้ แรงขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ และสัญญาณจากธปท. ที่สะท้อนว่า มีการติดตามและเข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นปัจจัยกดดันเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังเงินหยวนและสกุลเงินภูมิภาคในภาพรวมขยับแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังต่อการเจรจารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพื่อลดความขัดแย้งในประเด็นด้านการค้าระหว่างสองประเทศ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขายอย่างหนัก หลังจากปธน. ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของประธานเฟด โดยไม่อยากให้เฟดดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดจนเกินไป อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้น ตามแรงซื้อคืนของนักลงทุนก่อนการประชุมประจำปีของเฟดที่เมือง Jackson Hole ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากผลการเจรจาทางการค้าที่ไร้ข้อสรุประหว่างสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
17 สิงหาคม 2561
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ หลังความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตค่าเงิน Lira ของตุรกี กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ สกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงเงินบาท อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบดังกล่าวลง และทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงต่อมา โดยมีแรงหนุนจากการฟื้นตัวขึ้นของเงินหยวน และสกุลเงินเอเชียในภาพรวม หลังจากที่มีรายงานระบุว่า ทางการจีน และสหรัฐฯ อาจมีการเจรจาเพื่อลดความขัดแย้งทางด้านการค้าระหว่างสองประเทศอีกครั้งในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ เงินบาทยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
10 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเล็กน้อยปลายสัปดาห์ เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการฟื้นตัวขึ้นของเงินหยวนระหว่างสัปดาห์ หลังสัญญาณจากธนาคารกลางจีน สะท้อนว่ายังมีการติดตามดูแลเสถียรภาพของเงินหยวนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ แรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลง ก็เป็นปัจจัยหนุนของเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวก และกลับมาอ่อนค่าลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ ความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า หนุนเงินดอลลาร์ฯ ให้แข็งค่าขึ้นในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ... อ่านต่อ
3 สิงหาคม 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทแข็งค่าช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ สอดคล้องกับเงินหยวนและเงินในภูมิภาค สวนทางกับเงินดอลลาร์ฯ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังแถลงการณ์หลังการประชุมเฟดหนุนโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้าเดือนก.ย. นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ก็ช่วยหนุนการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์ฯ ก่อนตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2561
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น โดยการฟื้นตัวของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า แนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ที่แข็งค่าขึ้น อาจทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยลบในระหว่างสัปดาห์จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด อาทิ ดัชนี PMI เดือนก.ค. และยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย. ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าได้ต่อเนื่องจนถึงช่วงท้ายๆ สัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทย ... อ่านต่อ
13 กรกฎาคม 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน เงินบาททยอยอ่อนค่าลง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือนที่ 33.36 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ขยับขึ้น และการปรับลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์) ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 8 เดือนที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนการปรับลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนในภาพรวม ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นที่ยืดเยื้อของข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะในเรื่องมาตรการกีดกันการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันในระหว่างสัปดาห์จากแรงขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าทดสอบแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ (อ่อนค่าสุดในรอบ 7 เดือน) โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนต่อเนื่องจากถ้อยแถลงของประธานเฟดที่ระบุถึงแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ความกังวลต่อความไม่แน่นอนในเรื่องข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้า ก็เป็นปัจจัยที่กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และกดดันสกุลเงินเอเชียในภาพรวมด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
8 มิถุนายน 2561
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับโอกาสที่ ECB จะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไปอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ มีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการประชุม G-7 ช่วงสุดสัปดาห์ และการประชุมเฟดในวันที่ 12-13 มิ.ย.นี้... อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2561
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงกว่าระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของหลายๆ สกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองของอิตาลี อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถฟื้นตัวกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขาย หลังปัญหาทางการเมืองของอิตาลีเริ่มคลี่คลาย และตลาดเปลี่ยนจุดสนใจมาที่ข้อพิพาททางการค้าของสหรัฐฯ และกับประเทศคู่ค้า... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเพียงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ หลังจากสหรัฐฯ และจีนบรรลุความเห็นชอบร่วมกันที่จะไม่ทำสงครามการค้า อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาทยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเจรจาทางการค้าของสหรัฐฯ-จีน กดดันให้เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง ประกอบกับเงินบาท ก็มีปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้าซื้อสุทธิพันธบัตรไทยอีกครั้ง... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2561
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และผลสำรวจกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด และจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ที่ระดับ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ ยังเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
11 พฤษภาคม 2561
เงินบาทปรับตัวทะลุแนว 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 32.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าท่ามกลางแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ จากกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายทำกำไร หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
เงินบาทอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนบางส่วนทยอยขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชันก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกทั้งหมด และกลับมาปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุน หลังจากที่แถลงการณ์หลังการประชุมเฟด สะท้อนภาพแรงกดเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ ... อ่านต่อ
27 เมษายน 2561
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนในระหว่างสัปดาห์ เงินบาททยอยอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ขยับแข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเหนือระดับ 3.0% ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี) นอกจากนี้ ทิศทางที่อ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ตลอดจนสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
20 เมษายน 2561
เงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่ในภาพรวมยังถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างแคบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนกลับมาบางส่วนจากการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูงมองว่า เงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นเข้าสู่ระดับเป้าหมายของเฟดในปีนี้ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ยังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ