Display mode (Doesn't show in master page preview)

6 พฤศจิกายน 2558

เศรษฐกิจต่างประเทศ

แผนพัฒน์ฯฉบับที่ 13 ของจีน (2016-2020) ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียว เร่งปฏิรูป เพิ่มบทบาทในเวทีโลก (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2672)

คะแนนเฉลี่ย
ทางการจีนได้ประกาศร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 (2016-2020) ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าในการเพิ่มจีดีพี และรายได้ต่อหัวของประชาชนเป็น 2 เท่าในระยะเวลา 10 ปีนับจาก 2553-2563 ส่งผลให้ในอีก 5 ปีต่อจากนี้เศรษฐกิจจีนจะต้องมีการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.5 ต่อปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนั้น ในระยะสั้น 1-2 ปีข้างหน้า คาดว่าน่าจะยังได้เห็นการใช้นโยบายการเงินและการคลังของทางการจีนเพื่อประคองเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ในแผนฯฉบับนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่
  • การยกเลิกนโยบายลูกคนเดียว (One-Child Policy) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผลของนโยบายนี้ต่อเศรษฐกิจจีนในระยะ 5 ปีข้างหน้าจะยังจำกัด เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ดี ในระยะยาว 10-20 ปีข้างหน้า ประชากรที่เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศโดยเฉพาะในภาคการศึกษาและที่อยู่อาศัย
  • การปฏิรูปสู่ ‘New Normal' ในแผนฯฉบับนี้ทางการจีนยังคงมุ่งเน้นที่การปฏิรูปภาคการเงินและรัฐวิสาหกิจ อาทิ การพัฒนาตลาดทุนเพื่อลดอุปสรรคการเข้าถึงเงินทุนของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs การเพิ่มบทบาทของหยวนในตลาดการเงินโลก และการปรับปรุงการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ยกระดับอำนาจทางเศรษฐกิจในเวทีโลกผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทางการจีนได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจของจีนในประชาคมโลก อาทิโครงการ One Belt, One Road ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าการลงทุน และอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนในอนาคต

สำหรับนัยต่อไทย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนตามแผนฯ นับเป็นโอกาสทางธุรกิจของไทย แต่ผู้ประกอบการไทยคงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและกลยุทธ์ในการเข้าตลาดให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ