11 พฤศจิกายน 2567
เศรษฐกิจต่างประเทศ
... อ่านต่อ
FileSize KB
22 ตุลาคม 2567
18 ตุลาคม 2567
26 กันยายน 2567
16 กรกฎาคม 2567
11 กรกฎาคม 2567
9 กรกฎาคม 2567
24 มิถุนายน 2567
13 มิถุนายน 2567
10 มิถุนายน 2567
17 พฤษภาคม 2567
17 เมษายน 2567
14 มีนาคม 2567
5 มีนาคม 2567
29 กุมภาพันธ์ 2567
17 มกราคม 2567
19 ตุลาคม 2566
19 เมษายน 2566
17 มกราคม 2566
ในปี 2566 เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ แต่คาดว่าระดับการเติบโตจะยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ท่ามกลางความเสี่ยงจากภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาทางรัฐภูมิศาสตร์ที่ยังคงอยู่... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2565
เศรษฐกิจจีนเติบโตดีกว่าคาดการณ์ที่ 3.9%YoY และปรับดีขึ้นกว่าในไตรมาส 2/2565 ที่ 0.4% YoY โดยเศรษฐกิจจีนใน 9 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวอยู่ที่ 3.0% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนคลายล็อกดาวน์ในเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ ทำให้ภาคการผลิตเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ที่มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านหยวนยังเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ... อ่านต่อ
19 กันยายน 2565
จีนเผชิญคลื่นความร้อนและภัยแล้งครั้งรุนแรง แม้สถานการณ์ได้เริ่มบรรเทาลงบ้างแล้วในบางพื้นที่ แต่คาดว่า วิกฤติคลื่นความร้อนนี้อาจลากยาวและส่งผลต่อพืชที่กำลังจะเก็บเกี่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้ ดันความต้องการนำเข้าจากจีน โดยเฉพาะข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดว่า จีนน่าจะนำเข้าข้าวจากไทยเป็นหลักในช่วงที่เหลือของปี 2565 ในจังหวะที่ผลผลิตข้าวไทยกำลังออกสู่ตลาด ขณะที่เวียดนาม ปากีสถาน รวมถึงอินเดีย น่าจะมีข้อจำกัดด้านผลผลิตและมาตรการจำกัดการส่งออก โดยข้าวหอมมะลิไทยน่าจะได้รับผลบวกในการส่งออกไปจีน คาดอยู่ที่ 95,000-100,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7-11.3 (YoY) อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาสถานการณ์น้ำท่วมในไทยที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจทำให้การส่งออกข้าวไทยไปจีนไม่ได้ผลบวกอย่างเต็มที่... อ่านต่อ
16 กรกฎาคม 2565
มาตรการโควิดเป็นศูนย์กดดันเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2/2565 ขยายตัวเพียง 0.4%YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์1/ที่ 1.5%YoY โดยช่วงครึ่งปีแรกเติบโตเพียง 2.5% เนื่องจากในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 65 จำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเร่งตัวสูงขึ้นทำให้ จีนมีการล็อกดาวน์เมืองสำคัญ เช่น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ชะลอตัวลง ทั้งในส่วนของการผลิตสินค้า การขนส่งต่าง ๆ... อ่านต่อ
18 เมษายน 2565
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 1/2565 เติบโตร้อยละ 4.8 (YoY) และ 1.3 (QoQ) แม้เศรษฐกิจจีนจะแสดงแนวโน้มการฟื้นตัวได้ดีในไตรมาสแรก แต่จีนยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระยะที่เหลือของปี จากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย ประเด็นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีการผิดนัดชำระหนี้ทยอยออกมาใหม่ซึ่งคาดว่าจะยังเป็นความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจจีนต่อไป นอกจากนี้การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มแรงกดดันให้กับนโยบาย Zero-Covid ของจีน และการใช้มาตรการล็อกดาวน์เข้มงวดอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่เหลือของปีหากมีการระบาดไปยังเมืองต่างๆ ของจีนมากขึ้น ทำให้การบริโภคฟื้นตัวได้ช้า และเพิ่มแรงกดดันด้านโลจิสติกส์ต่อผู้ส่งออก ดังนั้น จากปัจจัยความไม่แน่นอนที่เศรษฐกิจจีนเผชิญส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ในกรอบร้อยละ 4.4-4.8 โดยแรงหนุนหลักยังคงมาจากแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของทางการจีน การลงทุนของภาครัฐและเอกชน การส่งออกที่ยังเติบโตได้... อ่านต่อ
17 มกราคม 2565
เศรษฐกิจจีนทั้งปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1(YoY) สูงกว่าเป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.0 (YoY) โดยในไตรมาส 4/2564 เศรษฐกิจเติบโตที่ 4.0 (YoY) นับเป็นการขยายตัวรายไตรมาสที่ต่ำที่สุดในรอบปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า โดยการชะลอตัวในไตรมาสที่ 4 นี้เป็นผลจากการเผชิญกับประเด็นหนี้และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลาย การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศซึ่งนำไปสู่การล็อกดาวน์จากการดำเนินนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Covid-Zero) และราคาต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ทางการจีนเลือกใช้นโยบายทางการเงินในการเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการประกาศปรับลดสัดส่วนกันสำรองธนาคารพาณิชย์ (RRR) และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) สำหรับการกู้ 1 ปี มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจจีนในปี 2565... อ่านต่อ
1 พฤศจิกายน 2564
การประชุม ครม. เมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ได้หารือเรื่องความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ซึ่งการพิจารณาเข้าร่วมความตกลงดังกล่าวกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อจีนหันมาสนใจสมัครสมาชิก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตามมาด้วยไต้หวัน รวมถึงสหราชอาณาจักรที่สมัครเป็นสมาชิกเมื่อต้นปี โดยท่าทีของนานาชาติโดยเฉพาะจีนยิ่งทำให้ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างใกล้ชิดกับจีนหวนกลับมาพิจารณา CPTPP อย่างจริงจังอีกครั้ง... อ่านต่อ
18 ตุลาคม 2564
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3/2564 เผชิญกับประเด็นทางเศรษฐกิจจากหลากหลายปัจจัย ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนนั้นมีอย่างจำกัด ทำให้ภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3/2564 นี้ชะลอตัวที่ร้อยละ 4.9 (YoY) ต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 18.3 (YoY) และไตรมาส 2/2564 ที่ร้อยละ 7.9 (YoY) ตามลำดับ โดยมีรายละเอียด ... อ่านต่อ
16 กรกฎาคม 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 14 ของจีน ตั้งเป้าหมายจะเป็นประเทศปลอดคาร์บอนให้ได้ในอีก 4 ทศวรรษข้างหน้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 กลับทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของจีนเร่งตัวสูงขึ้นอย่างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จีนยังต้องใช้เวลาในการบรรลุเป้าหมาย โดยอุตสาหกรรมจีนที่เป็นมูลเหตุในการก่อก๊าซคาร์บอนจะยังอยู่ในการควบคุมของทางการจีนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อาทิ ถ่านหิน เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ การผลิตพลังงานความร้อน เคมีภัณฑ์ และยานยนต์ โดยการส่งออกของไทยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มสินค้าพลังงานและแร่มีเพียงร้อยละ 2 ของการส่งออกของไทยไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 693 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2563 ... อ่านต่อ
15 กรกฎาคม 2564
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสที่ 2/2564 เติบโตที่ร้อยละ 7.9 (YoY) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2564 ที่เติบโตร้อยละ 18.3 (YoY) อย่างไรก็ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และสถานการณ์การความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ทั้งในประเทศจีนเองและประเทศคู่ค้า รวมถึงมาตรการของชาติตะวันตกที่อาจออกมาเพิ่มเติมเพื่อกดดันจีน... อ่านต่อ
16 เมษายน 2564
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 1/2564 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.3 (YoY) จากไตรมาสที่ 4/2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 (YoY) ซึ่งเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจรายไตรมาสที่สูงสุดในรอบ 29 ปี นับตั้งแต่ที่จีนเริ่มเก็บสถิติในปี 2535 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากประสิทธิภาพของทางจีนการในควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินได้อย่างปกติ แม้จะมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในหลากหลายหัวเมือง จนทำให้ทางการจีนต้องมีคำสั่งปิดเมือง และระงับการเดินทางข้ามเขตในช่วงเทศกาลตรุษจีน แต่หลักๆ แล้วมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาส 1/2563 ที่หดตัวร้อยละ (-)6.8 (YoY) เนื่องจากหากเปรียบเทียบการเติบโตรายไตรมาส ที่อาจสะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีกว่า จะเห็นว่าเศรษฐกิจจีนเติบโตเพียงร้อยละ 0.6 (QoQ) จากความเปราะบางของการบริโภคภาคเอกชน ภาคการผลิตและการลงทุนที่ฟื้นตัวไม่เท่ากันในแต่ละหมวดหมู่อุตสาหกรรม รวมถึงภาพรวมการส่งออกที่ยังถูกกดดันจากการที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่กลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ... อ่านต่อ
22 มีนาคม 2564
นายกรัฐมนตรีจีน นายหลี่ เค่อเฉียง แถลงรายงานนโยบายรัฐบาล ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 ตั้งเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจจีนปี 2564 ที่ไม่ต่ำกว่า 6% ต่อปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า การกำหนดเป้าหมายการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำนี้ เป็นคำพูดเชิงสัญลักษณ์ เพื่อสะท้อนถึงก้าวแรกในทิศทางนโยบายรัฐบาลจีนที่จะเปลี่ยนไป เพื่อเป็นการปรับกระบวนทัศน์ของประเทศใหม่ มุ่งสู่การพัฒนาที่เน้นการเติบโตแบบมีคุณภาพและยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหันมาให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน 7 หมวดหมู่ เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศทั้งในเรื่องตลาดและเทคโนโลยี เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการไว้ในกรอบเดิมที่ 8.0-8.5% แต่มีความเป็นไปได้ที่การเติบโต อาจลงมาใกล้กรอบล่างที่ 8.0% เนื่องจาก การปรับเข้าสู่การใช้นโยบายทางการเงินและการคลังแบบปกติ (Policy Normalization) เร็วกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงภาวะชะลอตัวของการบริโภคภายประเทศ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาคการส่งออก... อ่านต่อ
18 มกราคม 2564
ในปี 2563 ประเทศจีนนับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงในการแก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ทั้งในแง่การควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศ ให้กลับมายืนได้ในระดับปกติได้อย่างรวดเร็วฉับไว ผ่านการผสานมาตรการผ่อนคลางทางการเงินที่เจาะจงและเล็งเห็นผล โดยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ และมาตรการทางการคลังที่เน้นช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการเพิ่มความเชื่อมั่นเพื่อกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชนให้กลับมาเป็นปกติ นับเป็นความสำเร็จอย่างประจักษ์โดยชี้ชัดจากการขยายตัวของ GDP ไตรมาส 4/2563 ที่เติบโตร้อยละ 6.5 YoY ส่งผลให้ GDP จีนทั้งปี 2563 เติบโตร้อยละ 2.3 YoY ... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2563
เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2563 ขยายตัวร้อยละ 4.9 (YoY) ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 (YoY) โดยยังคงเป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนของจีน ประกอบกับกิจกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์