Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 มีนาคม 2564

เศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจจีน อาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ จากการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลัง อย่างระมัดระวัง และการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3915)

คะแนนเฉลี่ย

​              ตัวเลขการส่งออกล่าสุดของไทยในเดือนมกราคม 2564 แม้จะเติบโตเพียงร้อยละ 0.3 (YoY) แต่เมื่อหักทองคำออกยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 6.3 (YoY) สะท้อนภาพบวกของการฟื้นตัวของตลาดคู่ค้าไทยจากการเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัวอานิสงส์ต่อภาพรวมการส่งออกของไทยปี 2564 กลับมาเติบโตสดใสร้อยละ 4.5 (กรอบประมาณการที่ร้อยละ 3.5-5.5) ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และจีนกลับมาเติบโตดีกว่าตลาดอื่นๆ ขณะที่การส่งออกสินค้าในภาพรวมก็ดีด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นหัวใจสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามวิถีใหม่ (New Normal) อาทิ สินค้า IT ถุงมือยาง สามารถเติบโตได้ต่อจากปีก่อน สินค้าที่ตอบโจทย์การบริโภคทั้งสินค้าจำเป็นและสินค้าคงทนต่างก็กลับมาขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อ รวมทั้งแรงหนุนด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำให้การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติกเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการส่งออกในปีนี้ได้อีกทางหนึ่ง

              อย่างไรก็ดี สัญญาณบวกดังกล่าวอาจเป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์ในระยะสั้น เพราะส่วนใหญ่ได้อานิสงส์จากฐานที่ต่ำและเป็นจังหวะที่สินค้าไทยยังสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกในเวลานี้ แต่โครงสร้างการส่งออกของไทยในปัจจุบันอาจไม่เอื้อให้สินค้าไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะต่อไป ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของไทยราวร้อยละ 40 ล้วนพึ่งพานักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่าง ICs ไดโอดและ HDDs ที่เป็นสินค้าสร้างรายได้ของไทยในขณะนี้กำลังสูญเสียความได้เปรียบในการผลิตยิ่งท้าทายโอกาสเปิดรับเม็ดเงินลงทุนใหม่เพื่อขับเคลื่อนการส่งออกในระยะข้างหน้า

              ​ดังนั้น โจทย์สำคัญของไทยก็ยังคงต้องเร่งสร้างความยั่งยืนจากการส่งออกสินค้าที่มาจากรากฐานการผลิตที่เป็นของไทยเอง โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นจุดเด่นของไทยอย่างสินค้าเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง) อาหารแปรรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ที่ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางที่มีมูลค่าเพิ่มไม่สูง ซึ่งการต่อยอดการผลิตสินค้าเดิมให้กลายเป็นสินค้ามีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการยกระดับการผลิตไทยไปสู่การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงให้เกิดได้จริงก็จะยิ่งทำให้ไทยเป็นแหล่งรับการลงทุนจากต่างชาติในสินค้าที่เหนือชั้นกว่าคู่แข่ง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ควรหันมาให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะขับเคลื่อนการส่งออกของไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างแท้จริง


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ