Display mode (Doesn't show in master page preview)

17 มกราคม 2566

เศรษฐกิจต่างประเทศ

โควิดเป็นศูนย์กดดันเศรษฐกิจจีนปี 2565 โตที่ 3.0% ต่ำที่สุดในรอบกว่า 50 ปี (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3987)

คะแนนเฉลี่ย

        ในไตรมาส 4/2565 เศรษฐกิจจีนเติบโตชะลอลงอยู่ที่ 2.9%YoY จาก 3.9% YoY ในไตรมาส 3/2565 ปัจจัยหนุนสำคัญของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4/2565 มาจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่สะท้อนผ่านตัวเลขยอดค้าปลีกยังคงหดตัว ตลอดทั้งปี 2565 เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ที่ 3.0% ได้รับปัจจัยหนุนหลักมาจากการลงทุน โดยตลลอดทั้งปี การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเติบโตอยู่ที่ 5.1% YoY ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคได้รับปัจจัยกดดันจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ ด้านการส่งออกชะลอตัวในช่วงปลายปีจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยทั้งปีเติบโตได้เพียง 7.0% YoY
        การยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์จะเข้ามาช่วยหนุนเศรษฐกิจจีนปี 2566 ให้ฟื้นตัวดีขึ้น นำโดยการใช้จ่ายภายในประเทศ  ในขณะที่การค้าระหว่างประเทศได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมาก สถานการณ์การเปิดเมืองของจีนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในเรื่องของระบบสาธารณสุข ดังนั้น ในช่วงแรกของการผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงน่าจะยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มที่ อย่างไรก็ดี หลังผ่านเทศกาลตรุษจีนไปอีก 1-2 เดือน คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดของการระบาดไปแล้วและทยอยลดลง ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มเกิดขึ้นในไตรมาส 2/2566 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว นำโดยการใช้จ่ายภายในประเทศ  อย่างไรก็ตาม จีนจะเผชิญความเสี่ยงที่สำคัญหลายด้านที่ต้องจับตา คือ 1.สถานการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่คลี่คลาย 2.ความเสี่ยงทางรัฐภูมิศาสตร์ที่ยังตึงเครียดทั้งสถานการณ์ในไต้หวัน และความขัดแย้งกับสหรัฐฯ 3.ปัญหาเชิงโครงสร้างและความไม่แน่นอนทางนโยบาย  
        กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจจีนในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตที่ 4.6% YoY โดยคาดว่าการเติบโตจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ท่ามกลางความเสี่ยงสำคัญที่ยังต้องจับตามอง

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ