Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 กันยายน 2559

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ผลการประชุมเฟด และ BOJ ... ตอกย้ำแนวโน้มของดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องในปีหน้า (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3638)

คะแนนเฉลี่ย

ผ่านพ้น 2 เหตุการณ์สำคัญของเดือนก.ย. 2559 ที่ตลาดการเงินทั่วโลกรอจับตาอย่างใกล้ชิด ก็คือ ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยประเด็นหลักที่นักวิเคราะห์/นักลงทุน ต่างคาดหวังว่าจะเห็นจากการประชุมในรอบนี้ คือ การส่งสัญญาณของเฟดที่อาจบ่งชี้ถึงจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC รอบที่เหลือของปีนี้และในช่วงปีข้างหน้า และบทสรุปที่ได้จากการทบทวนกรอบการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของ BOJ ซึ่งสัญญาณล่าสุดจากผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำให้ตลาดได้ข้อสรุปว่า ภาวะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลกจะยังคงอยู่ต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง โดยแม้เฟดจะจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาสมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ก็จะใช้ความระมัดระวัง และประเมินสัญญาณเศรษฐกิจเป็นระยะ ขณะที่ BOJ ก็จะเดินหน้าผ่อนคลายมาตรการทางการเงินภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงิน QQE with Yield Curve Control ที่เพิ่งจะประกาศใหม่ ซึ่งตลาดก็คงจะให้เวลา และรอประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายนี้ต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในช่วงประมาณ 6 เดือนหลังจากนี้

สำหรับผลต่อไทยนั้น แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ยังต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีกว่าจะกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจในระยะยาว (ขณะที่ ธนาคารกลางอื่นๆ ยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง) ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธปท. อาจสามารถยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ไปตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ และอาจจะต่อเนื่องในปีข้างหน้า เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ประเด็นที่ยังต้องจับตาใกล้ชิดคือ สถานการณ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่เฟดกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบปลายปีนี้ และเปิดเผย dot plot ชุดใหม่ ซึ่งย่อมจะมีผลต่อการประเมินจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และแนวโน้มการลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกในปีถัดไป

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ