24 กรกฎาคม 2567
เศรษฐกิจต่างประเทศ
... อ่านต่อ
FileSize KB
7 มิถุนายน 2567
24 เมษายน 2567
15 มีนาคม 2567
30 มกราคม 2567
8 ธันวาคม 2566
30 ตุลาคม 2566
18 กันยายน 2566
24 กรกฎาคม 2566
9 มิถุนายน 2566
1 พฤษภาคม 2566
20 มีนาคม 2566
การประชุม FOMC วันที่ 21 – 22 มี.ค. คาดเฟดมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่เฟดคงส่งสัญญาณให้ความเชื่อมั่นต่อตลาดการเงินว่าประเด็นธนาคารสหรัฐฯ ปิดกิจการจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาเชิงระบบในวงกว้าง... อ่านต่อ
14 มีนาคม 2566
ส่องมาตรการรับมือปัญหาแบงก์ในสหรัฐฯ ... ทำไมถึงไม่เรียกว่าเป็นการ Bailout แบงก์... อ่านต่อ
13 มีนาคม 2566
เป็นที่แน่นอนว่า ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ รอบนี้ไม่มีสถานการณ์ Too Big to Fail เกิดขึ้น เพราะมีการปิดตัวลงจริงของสถาบันการเงินที่เผชิญปัญหา ขณะหน่วยงานของทางการสหรัฐฯ และธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งออกมาตรการมุ่งเป้าดูแลในส่วนของผู้ฝากเงินและสถาบันการเงินอื่นๆ ที่ยังดำเนินการอยู่เพื่อสกัดไม่ให้ผลกระทบขยายวงจนกลายเป็นชนวนให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ โดยในส่วนของมาตรการดูแลผู้ฝากเงินนั้น ได้มีการคลายข้อจำกัดด้านการคุ้มครอง โดยทางการสหรัฐฯ มองว่า ปัญหาของ Silicon Valley Bank และ Signature Bank สามารถเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบได้ เลยให้ผู้ฝากเงินทุกรายสามารถเข้าถึงเงินฝากของตัวเองได้นับตั้งแต่วันจันทร์ 13 มี.ค. 2566 ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ผ่อนปรนเกณฑ์เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ได้แก่ 1) การตั้ง Bank Term Funding Program (BTFP) เพื่อทำการปล่อยเงินกู้แบบมีหลักประกันอายุไม่เกิน 1 ปีให้กับธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เผชิญปัญหาด้านสภาพคล่อง และ/หรือจากเงินฝากไหลออก และ 2) อาจจะมีการปรับลดเงื่อนไขของ Discount Window ซึ่งเป็นช่องทางการกู้เงินของสถาบันการเงินจากเฟด ... อ่านต่อ
27 มกราคม 2566
คาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 0.25 หลังเงินเฟ้อมีทิศทางอ่อนแรงลง อย่างไรก็ดี เส้นทางดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าคงขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ออกมาเป็นสำคัญ... อ่านต่อ
1 พฤศจิกายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ เฟดจะพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ซึ่งจะนับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75 ต่อครั้งในการประชุม 4 รอบติดต่อกัน ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเร่งตัวสูงขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 6.6% ขณะที่ดัชนีราคาพื้นฐานจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Core PCE) ที่เฟดให้ความสำคัญนั้นยังคงเร่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าราคาพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันนั้นจะเริ่มปรับลดลง ในส่วนของตลาดแรงงานสหรัฐฯ นั้นยังคงสะท้อนภาวะตึงตัว โดยอัตราว่างงานเดือนก.ย. พลิกกลับมาลดลงมาอยู่ที่ 3.5% ขณะที่แม้ตัวเลขการจ้างงานจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงแต่ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ... อ่านต่อ
20 กันยายน 2565
ในการประชุม FOMC วันที่ 20-21 ก.ย. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง โดยจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือนส.ค. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ แม้ว่าจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าตลาดคาด ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่หักราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนสูงนั้นกลับเร่งตัวสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในภาพรวมที่ยังคงเร่งตัวสูงขึ้นเป็นวงกว้าง แม้ว่าราคาพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันนั้นจะเริ่มปรับลดลง นอกจากนี้ ในด้านของตลาดแรงงานนั้น ตัวเลขล่าสุดยังคงบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง แม้อัตราว่างงานเดือนส.ค. จะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ตลาดคาด ในขณะที่ตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสัปดาห์ 4-10 ก.ค. 2565 ก็ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน ... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2565
ในการประชุม FOMC วันที่ 26-27 ก.ค. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง โดยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ที่ออกมาล่าสุดยังคงเร่งตัวสูงขึ้นและแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปีที่ 9.1% YoY ส่งผลให้เฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นหลัก ขณะที่มองความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 1.00 นั้นยังคงมีน้อยกว่าความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 ในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ เนื่องจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 1.00 จะถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อครั้งที่มากสุดในรอบ 40 กว่าปี ซึ่งอาจสร้างความวิตกกังวลต่อตลาดได้ โดยตลาดจะมีมุมมองว่าเฟดมีความวิตกกังวลอย่างมากต่อตัวเลขเงินเฟ้อและมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถควบคุมได้จึงจำเป็นต้องให้ยาแรงกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ ดังนั้น เฟดคงต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากจะดำเนินนโยบายอย่างแข็งกร้าวมากขึ้น ... อ่านต่อ
30 เมษายน 2565
ในการประชุม FOMC วันที่ 3-4 พ.ค. นี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.50 ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวในระดับสูง โดยเฟดยังคงให้น้ำหนักต่อประเด็นการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นหลัก ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค. 2565 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 8.5% YoY ซึ่งราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัย ท่ามกลางผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อโลก ส่งผลให้เฟดคงจำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้อีกร้อยละ 0.50 รวมถึงคงจะต้องเริ่มปรับลดขนาดงบดุลมูลค่ารวมเกือบ 9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในการประชุม FOMC ครั้งนี้ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.50 ถือเป็นยาแรงที่เฟดคงต้องเลือกทำเพื่อยับยั้งวัฏจักรเงินเฟ้อ โดยเฟดคงมีมุมมองว่าหากปรับขึ้นดอกเบี้ยน้อยหรือช้าเกินไปอาจไม่เพียงพอที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อปรับลดลงมาได้ ... อ่านต่อ
14 มีนาคม 2565
ในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและยังเร่งตัวขึ้น ... อ่านต่อ
21 มกราคม 2565
ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวอย่างต่อเนื่องและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เข้าสู่ระดับเต็มศักยภาพ (Full employment) คาดว่าเฟดคงเริ่มวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค 2565 ตามที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานและปัญหาขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยังไม่คลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะยืนอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางอุปทานที่ยังตึงตัวและความเสี่ยงจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกที่มีความตึงเครียดขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะข้างหน้า ขณะที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราว่างงานเดือนธ.ค. 2564 ลดลงมาสู่ระดับต่ำกว่าระดับ 4.0% ที่ 3.9% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ระดับเต็มศักยภาพ (Full employment) ขณะที่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนคาดว่าจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งตลาดแรงงานสหรัฐฯ เพียงชั่วคราว และในภาพรวมตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอยู่... อ่านต่อ
16 ธันวาคม 2564
จากการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 14-15 ธ.ค. ที่ผ่านมา เฟดแถลงว่าเฟดจะลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิม ซึ่งจะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2565 พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2565 ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นอย่างมาก ประกอบกับตลาดแรงงานที่เข้าใกล้อัตราจ้างงานเต็มที่ (full employment) ... อ่านต่อ
14 ธันวาคม 2564
ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเฟดอาจพิจารณาปรับแผนลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นกว่าเดิม และมีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปีที่ 6.8% YoY ซึ่งท่ามกลางปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานและปัญหาขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ ที่ไม่น่าจะคลี่คลายลงในระยะเวลาอันใกล้ ทำให้มองว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะข้างหน้า ในขณะที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ก็มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าเฟดคงเผชิญแรงกดดันให้ถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินเป็นแบบตึงตัวเร็วกว่าขึ้นกว่าเดิม โดยเฟดอาจพิจารณาปรับแผนลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเพื่อให้วงเงิน QE ทั้งหมดสิ้นสุดลงเร็วกว่าเดือนมิ.ย. 2566 ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า อีกทั้งเฟดอาจเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่เคยส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2564
การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 2-3 พ.ย. ที่จะถึงนี้ จะเป็นรอบการประชุมที่สำคัญ เนื่องจากเฟดน่าจะมีการประกาศการลดวงเงิน QE อย่างเป็นทางการ หลังจากได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้าว่าเฟดจะเริ่มลดวงเงิน QE ภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าจะสิ้นสุดการลดวงเงิน QE ภายในกลางปี 2565 ซึ่งแปลว่าเฟดอาจทยอยลดวงเงิน QE เดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการลดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเดือนละ 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวงเงินปัจจุบันที่ 8.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน และการลดการเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (mortgage-backed securities) เดือนละ 0.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวงเงินปัจจุบันที่ 4.0 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ซึ่งจะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดที่ 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนในปัจจุบันหมดลงในช่วงกลางปีหน้าตามที่เฟดได้ส่งสัญญาณไว้... อ่านต่อ
21 กันยายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% และน่าจะยังคงไม่ประกาศการลดวงเงิน QE (QE tapering) ในการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 21-22 ก.ย. นี้ โดยเฟดน่าจะยังคงมีมุมมองต่อการปรับลด QE ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ตลาดรับรู้ไปแล้วว่าเฟดจะเริ่มลดวงเงิน QE ในสิ้นปีนี้ โดยในการประชุมนโยบายการเงินครั้งนี้ คาดว่าเฟดคงส่งสัญญาณผ่านถ้อยแถลงว่าเฟดมีมุมมองระมัดระวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจบางตัวออกมาต่ำกว่าที่คาด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี คาดว่าเฟดคงมีมุมมองที่มั่นใจว่าในภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีโมเมนตัมการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและมีความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายของเฟด ซึ่งถ้อยแถลงของเฟดคงจะเป็นการเน้นย้ำให้ตลาดยังคงคาดการณ์ว่าเฟดจะมีการเริ่มลดวงเงิน QE ในสิ้นปีนี้ตามที่ตลาดรับรู้ไปแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความตื่นตระหนกในตลาดและเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของเฟด โดยเฟดคงจะประกาศแผนลดวงเงิน QE ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้าในเดือนพ.ย. และเริ่มลดวงเงิน QE ในเดือนธ.ค. ที่จะถึงนี้ ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 27-28 ก.ค. นี้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ และจำนวนคนว่างงานยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าในช่วงก่อนโควิด-19 อย่างมาก ขณะที่ แม้ว่าเฟดเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่คาดว่าเฟดจะยังคงให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และน่าจะยังคงยืนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับความเสี่ยงเชิงลบมากขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง สหรัฐฯ กลับมาเผชิญจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้าที่มีการแพร่กระจายได้ง่าย อีกทั้ง ยังคงมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อื่นๆ เช่น สายพันธุ์แลมด้า และสายพันธุ์เอปซีลอน ซึ่งประสิทธิผลของวัคซีนที่มีอยู่ต่อสายพันธุ์เหล่านี้ยังคงไม่แน่ชัด อีกทั้ง อัตราการฉีดวัคซีนของสหรัฐฯ เริ่มชะลอลง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานการณ์แพร่ระบาดมากขึ้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นำมาซึ่งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และส่งผลให้เฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจท่ามกลางความเสี่ยงที่ยังมีอยู่สูง... อ่านต่อ
13 พฤษภาคม 2564
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนเม.ย. พุ่งสูงขึ้นกว่าตลาดคาดการณ์ โดยเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 4.2% YoY สูงสุดนับตั้งแต่ก.ย. 2551 ขณะที่ เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 3.0% YoY โดยถูกขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวดี หลังจากมีการเร่งฉีดวัคซีน และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในฝั่งอุปทานเผชิญปัญหาขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบสำหรับการผลิต ท่ามกลางห่วงโซ่อุปทานที่เผชิญปัญหาคอขวด อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์เร่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาพลังงาน ซึ่งกดดันให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ... อ่านต่อ
26 เมษายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 27-28 เม.ย. นี้ โดยมองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดี หลังจากมีการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติมากขึ้น ประกอบกับมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี คาดว่าตลาดแรงงานจะใช้เวลายาวนานในการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ตามเป้าหมายของเฟด เนื่องจากโดยรวมยังคงมีคนว่างงานที่ขอสวัสดิการว่างงานมากกว่า 17.4 ล้านคน ขณะที่ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ จะบรรเทาลง แต่ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่ โดยจะเห็นว่าหลายประเทศยังคงเผชิญการแพร่ระบาดระลอกใหม่ อีกทั้งมีการเกิดไวรัสกลายพันธุ์ในหลายประเทศ ดังนั้น ท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแรง ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ยังมีอยู่ คาดว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะยังคงนโยบายแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 16-17 มี.ค. นี้ โดยแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าจะกลับมาขยายตัวอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เฟดน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับใกล้ศูนย์ รวมถึงยังคงวงเงินซื้อสินทรัพย์ต่อเดือนที่ 1.2 แสนล้านดอลลาร์ฯ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะไม่เพิ่มสูงขึ้นไปเกิน 2.0% อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เฟดยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบถอนนโยบายกระตุ้นทางการเงินเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ เฟดจะมีการแถลงประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าเฟดจะปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2564 ดีขึ้น และปรับคาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฟดน่าจะมีท่าทีระมัดระวังในการสื่อสาร เพื่อไม่ให้ตลาดคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไป ซึ่งในประมาณการการปรับดอกเบี้ยของเฟด (Fed Dot Plot) น่าจะยังไม่บ่งชี้ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้... อ่านต่อ
25 มกราคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิม และน่าจะไม่มีการประกาศใช้เครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-27 มกราคม 2564 นี้ โดยคาดว่า แม้เฟดจะส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง แต่จะยังย้ำถึงความจำเป็นของการเร่งผลักดันมาตรการฝั่งการคลังจากรัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ เพื่อให้ทั้งนโยบายการเงินการคลังมีส่วนช่วยจำกัดความเสี่ยงและหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิม และน่าจะไม่มีการประกาศใช้เครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15-16 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ดีจุดจับตาในการประชุมเฟดรอบนี้น่าจะอยู่ที่ 2 เรื่อง คือ รายละเอียดของแนวทางสำหรับโครงการซื้อสินทรัพย์และตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เฟดอาจจะปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565-2566 ขึ้นเล็กน้อย ... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 4-5 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ส่งผลให้แรงกดดันต่อการลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นลดลง อีกทั้งเฟดมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์นโยบายการเงินและเป้าหมายในระยะยาวในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเฟดได้ส่งสัญญาณว่าจะคงดอกเบี้ยในระดับใกล้ศูนย์ไปอย่างน้อยจนถึงปี 2566 ดังนั้น เฟดน่าจะยังคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.0-0.25% และไม่น่ามีการออกนโยบายใหม่ๆ เพิ่มเติมในการประชุมนโยบายการเงินที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พฤศจิกายน ก่อนการประชุมนโยบายการเงินเพียง 1 วัน ดังนั้น เฟดมีแนวโน้มที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในการประชุมนโยบายเงินครั้งนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2563
2 กันยายน 2563
นายเจโรม พาวเวล ประธานเฟดได้ออกมาประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งสำคัญในการประชุม Jackson Hole ครั้งล่าสุด (27 สิงหาคม 2563) โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินมีมติเป็นเอกฉันท์ในการอนุมัติการปรับยุทธศาสตร์นโยบายการเงินและเป้าหมายในระยะยาว โดยปรับเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย (Flexible Average Inflation Targeting) แทนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเดิมที่คงที่ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยระบุว่า เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและอัตราว่างงานเริ่มปรับลดลง เฟดจะไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับเป้าหมาย 2% ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำไปอีกสักพักจนกว่าเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานจะเริ่มฟื้นตัวเต็มที่ ... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 28-29 กรกฎาคมนี้ โดยมองว่ามาตรการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วน่าจะเพียงพอที่จะรองรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มอ่อนแรงและน่าจะใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นตัว อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรุดตัวลงไปมากกว่าและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ เฟดก็ยังพอมีทางเลือกในการทำนโยบายเพิ่มเติม โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะใช้นโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (yield curve control) ขณะที่เฟดน่าจะหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ หากยังไม่มีความจำเป็น อย่างไรก็ดี แม้ว่าเฟดจะยังมีทางเลือกในการดำเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติม แต่ประสิทธิผลของนโยบายการเงินจะลดลงเรื่อยๆ จึงอาจจะทำให้ต้นทุนส่วนเพิ่มสูงกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนั้น เฟดคงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน โดยปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่ยังไม่ดีขึ้นเป็นหลัก ทำให้การออกนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดเท่าใดนัก และอาจไม่ได้ช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริงเท่าที่ควร ... อ่านต่อ
9 มิถุนายน 2563
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความเสี่ยงสูง แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากมีการทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงเป็นความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดระลอก 2 ท่ามกลางสถานการณ์การประท้วงในประเทศที่อาจเป็นปัจจัยเร่งให้การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงอีกครั้ง นอกจากนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองในประเทศ และสงครามการค้าที่กลับมาคุกรุ่นอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงนโยบายของเฟดในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
27 เมษายน 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าเฟดยังจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25% สำหรับการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 28-29 เมษายนนี้ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ น่าจะยังไม่มีความจำเป็นในช่วงนี้ เนื่องจากเฟดคงรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดและภาวะเศรษฐกิจหลังจากที่ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไปแล้ว นอกจากนี้ การตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับมุมมองของเฟดต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ... อ่านต่อ
4 มีนาคม 2563
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% มาที่กรอบ 1.00-1.25% ในการประชุมนัดฉุกเฉินเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 ซึ่งสะท้อนว่า เฟดปรับมุมมองที่มีต่อเรื่องผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ต่อการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน-ภาคธุรกิจ และภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไปใน “เชิงลบ””มากขึ้น จึงทำให้ไม่สามารถรอเวลาจนถึงรอบการประชุมนโยบายการเงินตามปกติซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์หลังจากนี้ได้ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ยังคงต้องติดตามการส่งสัญญาณของเฟด และการเปิดเผยตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชุดใหม่ในการประชุมตามวาระปกติของเฟดวันที่ 17-18 มี.ค. ที่จะถึงนี้อย่างใกล้ชิด เพราะข้อมูลดังกล่าวจะบ่งชี้ถึงการประเมินระดับความเสี่ยงและขนาดความรุนแรงของผลกระทบจาก COVID-19 ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
27 มกราคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า พัฒนาการโดยรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณดีขึ้นยังสนับสนุนให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยในช่วงไตรมาส 1/2563 อย่างไรก็ดี ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังเปราะบางและจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้ นอกจากนี้ ยังต้องจับตาสถานการณ์ผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (2019-nCoV) ซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าของจีน ตลอดจน ส่งผลกระทบต่อภาคการบริโภคทั่วโลก รวมทั้ง สหรัฐฯ หากสถานการณ์การระบาดลุกลามออกไป โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่มากคงส่งผลให้เฟดมีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ อันหมายความว่า เฟดมีโอกาสที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อเป็นหลักประกันต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้... อ่านต่อ
9 ธันวาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินรอบสุดท้ายของปี 2562 เพื่อรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ รวมถึงการส่งผ่านผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2562
ในการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2562 คงเป็นอีกการประชุมนโยบายการเงินที่ตลาดการเงินคงจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้ว่าเฟดจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในการประชุมในการประชุม 2 รอบล่าสุด ตลอดจน ประกาศที่จะเริ่มการซื้อพันธบัตรระยะสั้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งทิศทางเงินเฟ้อยังคงชะลอลงต่อ อาจบ่งชี้ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 29-30 ตุลาคม... อ่านต่อ
1 สิงหาคม 2562
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีตามที่ตลาดคาด ไปที่กรอบ 2.00-2.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 30-31 ก.ค. 2562 อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฎสัญญาณใดๆ จากถ้อยแถลงของประธานเฟด ที่บ่งชี้ถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยรอบต่อไป ซึ่งผลการประชุมเฟดล่าสุดนี้ สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดการเงินทั่วโลกที่รอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่านี้จากเฟด ขณะที่ เงินบาทอ่อนค่าลงกลับมาที่ระดับประมาณ 30.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ (ณ 1 ส.ค. 2562) ... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2562
ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2562 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 2.25-2.50 สู่ระดับร้อยละ 2.00-2.25 ตลอดจนมีโอกาสที่เฟดจะประกาศสิ้นสุดมาตรการปรับลดขนาดงบดุลในจังหวะที่เร็วขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันต่อความต่อเนื่องของทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเป็นการส่งสัญญาณถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากกว่าการปรับลดลงจากสาเหตุที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอลง มองไปข้างหน้า เฟดคงจะรอประเมินพัฒนาการทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ความเสี่ยงที่จะกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ตลอดจน ผลจากการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะมีการตัดสินใจส่งสัญญาณทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป... อ่านต่อ
14 มิถุนายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 18-19 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดน่าจะคงมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับประมาณรอบก่อน (มี.ค. 62) ในขณะที่เฟดมีโอกาสปรับมุมมองเงินเฟ้อลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและอาจส่งสัญญาณแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกมากขึ้น ในส่วนของมุมมองคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (dot-plot) ประมาณการอัตราดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่น่าจะส่งสัญญาณไปที่การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอาจจะมีมุมมองของเจ้าหน้าที่เฟดที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งสัญญาณดังกล่าวของเฟดคงจะเป็นการเปิดช่องว่างในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า หากพัฒนาความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มเงินเฟ้อที่เฟดคาดการณ์ปรับเพิ่มสูงขึ้น ... อ่านต่อ
29 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 30 เมษายน-1 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ การส่งสัญญาณผ่อนปรนในการดำเนินโยบายการเงินของเฟด จะช่วยประคองการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ แม้ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดอาจจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในช่วงปลายปี 2562 แต่เฟดคงไม่น่าจะส่งสัญญาณถึงทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินดังกล่าวในระยะอันใกล้ เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอาจถูกตลาดตีความถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่วัฎจักรชะลอตัวในระยะข้างหน้าได้... อ่านต่อ
5 มีนาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายเดือนก.พ. ถึงต้นเดือนมี.ค. 2562 หลังจากแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปีที่ 31.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าของวันที่ 5 มี.ค. 2562 (ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-31.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงบ่าย) ท่ามกลางแรงกดดันที่มาจากหลายด้าน ทั้งปัจจัยในประเทศ ประกอบกับมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ จากหลายกลุ่ม อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นภาพที่ค่อนข้างเร็วและมากกว่าสกุลเงินเอเชียอื่นๆ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะใกล้ๆ นี้ จะมีทั้งปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทย และปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19-20 มี.ค. 2562 และกำหนดการพบกันระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ และจีน ในวันที่ 27 มี.ค. 2562 ซึ่งแม้จะมีสัญญาณในเชิงบวก แต่คงต้องยอมรับว่า ยังคงคาดเดารายละเอียดของผลการเจรจาได้ยากในขณะนี้ ทั้งนี้ จากการที่ยังคงมีอีกหลายตัวแปร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรออยู่ในระยะข้างหน้า ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทอาจยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างผันผวนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
31 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.00-2.25% ต่อเนื่องในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2561 หลังจากที่เฟดได้รับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจำนวน 3 ครั้งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีความผันผวนในตลาดการเงิน หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ขยับขึ้น แต่คาดว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในปี 2562 คงจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น หากเงื่อนไขของการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯเปลี่ยนไปในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
10 ตุลาคม 2561
เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าเงินบาทและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เริ่มมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ “แกว่งตัว” ชัดเจนขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเงินบาทอ่อนค่าไปแตะระดับ 33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา (ซึ่งเป็นวันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยประมาณ 4.63 และ3.26 พันล้านบาท ตามลำดับ) หรือคิดเป็นอัตราการอ่อนค่าถึง 2.6% เพียงไม่กี่วันจากระดับ 32.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นเดือนต.ค. 2561 ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยิลด์) ของไทยระยะ 10 ปี ขยับขึ้นต่อเนื่องไปที่ 2.88% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2559 สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของไทย อาจจะช่วยบรรเทาความผันผวนของค่าเงินบาทลงได้บ้างบางส่วน อย่างไรก็ดี เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยแวดล้อมที่รออยู่ในระยะที่เหลือของปี ทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แม้จะไม่ใช่ปัจจัยใหม่ แต่เมื่อผนวกกับช่วงห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และไทย ก็อาจจะทำให้ทิศทางของเงินบาท "มีความอ่อนไหว" ต่อปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น โดยธนาคารกสิกรไทย ยังคงตัวเลขคาดการณ์ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2561 ที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ (กรอบคาดการณ์ที่ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ) ... อ่านต่อ
11 มิถุนายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%จากระดับ 1.50-1.75% เป็น 1.75-2.00% ในการประชุมรอบที่สี่ของปีนี้ ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2561 ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีพัฒนาการที่แข็งแกร่ง รวมทั้ง ทิศทางของเงินเฟ้อที่ปรับเข้าใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อของเฟดมากขึ้น เป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เป็นกลางเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาวและป้องกันการเกิดภาวะฟองสบู่ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ต้องติดตามในการประชุมเฟดครั้งนี้ คงได้แก่ การส่งสัญญาณถึงมุมมองอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยเฉพาะมุมมองดอกเบี้ยระยะยาว อันจะมีผลต่อเส้นทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นที่สร้างความผันผวนต่อตลาดการเงินโลกได้ หากเฟดมีการปรับมุมมองของอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอนึ่ง นอกเหนือจากผลการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ ยังต้องจับตาการประชุมสุดยอดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ ที่อาจจะส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ฯ และคงส่งต่อความผันผวนไปยังเงินสกุลอื่นๆได้... อ่านต่อ
27 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมรอบสามของปีนี้ ทั้งนี้ เฟดน่าจะยังรอประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งพัฒนาการประเด็นความเสี่ยงด้านการค้าที่น่าจะมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป ขณะที่ พัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งอาจจะเปิดโอกาสให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวน่าจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกจากไทย และช่วยให้ค่าเงินบาททยอยปรับอ่อนค่าลง ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามคงได้แก่ การประกาศแผนการบริหารหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ที่อาจเป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลให้มีโอกาสปรับสูงขึ้นได้... อ่านต่อ
16 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%จากระดับ 1.25-1.50% เป็น 1.50-1.75% ในการประชุมรอบที... อ่านต่อ
26 มกราคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.25-1.50% ในการประชุมรอบแรกของปีนี้ ... อ่านต่อ
6 ธันวาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับ 1.00-1.25% เป็น 1.25-1.50% ห... อ่านต่อ
30 ตุลาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เฟดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 31 ต.ค.- 1 พ.ย. 2560 ไว้ที่ระดับ 1.00-1.25% เพื่อทิ้งจังหวะของการปรับเปลี่ยนแน... อ่านต่อ
15 กันยายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในการประชุมรอบหกของปี 2560 ในวันที่ 19-20 ก.ย. 2560 เฟดคงส่งสัญญาณในการเริ่มกระบวนการปรับลดขนาดงบดุล จำนวน 10 พันล้... อ่านต่อ
24 กรกฎาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เฟดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่25-26 ก.ค. 2560 ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงปรับลดลง อาจส่งผลให้เฟดเว้นระยะก... อ่านต่อ
16 มิถุนายน 2560
แม้สัญญาณจาก Dot Plot ชุดใหม่ของเฟดจะสะท้อนว่า เฟดยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย Fed Funds ต่อเนื่องอีก 1 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ดี ส่วนที่สำคัญและค่อนข้างจะ... อ่านต่อ
12 มิถุนายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติ “ปรับขึ้น” อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% จากระดับ 0.75-1.00% สู่ระดับ 1.00-1.25% ในการประชุม... อ่านต่อ
28 เมษายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 1-2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ และอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับจังหว... อ่านต่อ
10 มีนาคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 0.50-0.75% สู่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมรอบสองของปี 2560 เนื่องจาก... อ่านต่อ
30 มกราคม 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50-0.75% ในการประชุมรอบแรกของปี 2560 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์... อ่านต่อ
15 ธันวาคม 2559
9 ธันวาคม 2559
28 ตุลาคม 2559
22 กันยายน 2559
16 กันยายน 2559
25 เมษายน 2559
25 มกราคม 2559
17 ธันวาคม 2558
14 ธันวาคม 2558
29 ตุลาคม 2558
22 ตุลาคม 2558
18 กันยายน 2558
14 กันยายน 2558
27 กรกฎาคม 2558
15 มิถุนายน 2558
27 เมษายน 2558
19 มีนาคม 2558
13 มีนาคม 2558
26 มกราคม 2558
27 ตุลาคม 2557
18 กันยายน 2557
28 กรกฎาคม 2557
17 มีนาคม 2557
28 มกราคม 2557
19 ธันวาคม 2556
16 ธันวาคม 2556
28 ตุลาคม 2556
13 กันยายน 2556
20 มิถุนายน 2556