Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 พฤศจิกายน 2565

เศรษฐกิจต่างประเทศ

การประชุม FOMC วันที่ 1-2 พ.ย. คาดเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูง ขณะที่คงต้องติดตามการส่งสัญญาณของเฟดต่อทิศทางนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3981)

คะแนนเฉลี่ย

          ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในการประชุม FOMC ที่จะถึงนี้ เฟดจะพิจารขณะที่คงต้องติดตามการส่งสัญญาณของเฟดต่อทิศทางนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าณาปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 ซึ่งจะนับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75 ต่อครั้งในการประชุม 4 รอบติดต่อกัน ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ดูเหมือนว่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเร่งตัวสูงขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 6.6% ขณะที่ดัชนีราคาพื้นฐานจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Core PCE) ที่เฟดให้ความสำคัญนั้นยังคงเร่งสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าราคาพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันนั้นจะเริ่มปรับลดลง ในส่วนของตลาดแรงงานสหรัฐฯ นั้นยังคงสะท้อนภาวะตึงตัว โดยอัตราว่างงานเดือนก.ย. พลิกกลับมาลดลงมาอยู่ที่ 3.5% ขณะที่แม้ตัวเลขการจ้างงานจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอลงแต่ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
          ทั้งนี้ ในการประชุมรอบนี้ประเด็นที่ตลาดให้ความสำคัญคงเป็นการส่งสัญญาณของเฟดต่อทิศทางนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าเฟดอาจมีการลดขนาดของการปรับขึ้นดอกเบี้ยลงในระยะข้างหน้าท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องขึ้นอยู่กับตัวxเลขเงินเฟ้อและการจ้างงานเป็นหลัก โดยหากเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีทิศทางอ่อนแรงลง ท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงตลาดแรงงานที่ชะลอตัวลง ความจำเป็นที่เฟดต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.75 คงมีลดลง ส่งผลให้เฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลงที่ครั้งละร้อยละ 0.25-0.50 ในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนธ.ค. ต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งจาก CME FedWatch Tool ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะแตะระดับสูงที่ราว 4.75-5.00 % ในไตรมาส 1/2566 และเฟดมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับนั้นอย่างต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า โดยหากเงินเฟ้อยังคงไม่ลดลงอย่างชัดเจน เฟดอาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายยาวนานกว่าที่คาด แต่หากเงินเฟ้อปรับลดลงมาอย่างชัดเจนพร้อมกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เผชิญภาวะถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ เฟดอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ