Display mode (Doesn't show in master page preview)

26 กรกฎาคม 2561

เศรษฐกิจต่างประเทศ

ประชุมเฟดรอบ 31 ก.ค.- 1 ส.ค. 61 คาดเฟด ‘คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.75-2.00%’”...ติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้า (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3754)

คะแนนเฉลี่ย

​ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75-2.00% ในการประชุมรอบห้าของปีนี้ ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะมีนัยสำคัญต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้คงหนีไม่พ้น ประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งอาจจะกลายเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงได้ อย่างไรดี ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง ยังคงเปิดโอกาสให้เฟดสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปอีก 1-2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้ มองไปข้างหน้า  เฟดอาจจะเผชิญกับปัจจัยท้าทายมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินโดยเฉพาะในปี 2562 ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดน่าจะปรับขึ้นเข้าใกล้กับระดับดุลยภาพ โดยเฉพาะกรณีที่คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะข้างหน้าของตลาดที่ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อาจจะส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีความเสี่ยงที่จะเป็นแบบลาดลง (Inverted yield curve) ขณะที่ เฟดอาจจะต้องปรับเปลี่ยนการส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเข้าใกล้กับระดับดุลยภาพ โดยเฟดจะต้องชั่งนำหนักระหว่างปัจจัยความต่อเนื่องของการขยายตัวของเศรษฐกิจกับปัจจัยด้านความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพระยะยาว

สำหรับผลต่อประเทศไทย ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ยังคงอยู่ในช่วงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจจะส่งผลให้ตลาดการเงินไทยยังคงเผชิญกับการไหลออกของเงินทุน และกดดันให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวอ่อนค่า ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทย คงจะเผชิญกับความผันผวนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการประชุมเฟดในรอบ กันยายน 2561 ซึ่งเฟดอาจจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่าท้ายที่สุดแล้วต้นทุนทางการเงินคงมีทิศทางที่จะทยอยปรับขึ้นตามทิศทางตลาดการเงินโลก  ดังนั้น ผู้ประกอบการและภาคประชาชน ควรมีการเตรียมความพร้อมในเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อลดทอนผลกระทบจากการปรับขึ้นของต้นทุนทางการเงินให้มีน้อยที่สุด


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


เศรษฐกิจต่างประเทศ