Display mode (Doesn't show in master page preview)

21 ธันวาคม 2565

สถาบันการเงิน

แนวโน้มแบงก์ไทยปี’66... เตรียมตัวรับภาพธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิม (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3373)

คะแนนเฉลี่ย

        หลังจากที่แบงก์ไทยดำเนินธุรกิจผ่านปี 2565 โดยผ่านคลื่นลมของความท้าทายมาหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 การปรับเกณฑ์ต่างๆ ของทางการจากที่เน้นมาตรการแบบปูพรมและช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ มาเป็นมาตรการเฉพาะจุด และทยอยปล่อยให้มาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินหมดอายุลง รวมถึงการปรับดอกเบี้ยขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นนั้น   ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ก็ทยอยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ทำให้สำหรับทั้งปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย (แบงก์ไทย) จะมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองและภาษี) ที่เติบโตจากปีก่อนประมาณ 12.4% สอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อ ซึ่งหากผนวกกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงจากปีก่อน ที่มีการตั้งสำรองฯ เชิงรุกแล้ว คาดว่าระบบแบงก์ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 34%
        มองต่อไปในปี 2566 แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามแรงหนุนจากการท่องเที่ยว แต่ก็ยังถือว่าเป็นการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง ทั้งในมิติของประเภทธุรกิจ หรือขนาดของธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวในครั้งนี้ ทำให้ธุรกิจแบงก์ไทยในปี 2566 น่าจะให้ภาพการฟื้นตัวที่ระมัดระวังเช่นกัน ขณะที่จุดจับตาหลักจะมีหลายเรื่อง ซึ่งกระทบต่อภูมิทัศน์ของการทำธุรกิจและการแข่งขัน (Financial Landscape) ประกอบด้วย
        ภูมิทัศน์ที่ธุรกิจหลักจะเติบโตในกรอบจำกัด โดยคาดว่าสินเชื่อจะโตราว 4.7% ในปี 2566 จากที่คาดว่าจะโต 5.0% ในปี 2565 ขณะที่ เอ็นพีแอลอาจไม่ลดลง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจมีผลบวกที่น้อยลงต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย รวมถึงภาระการตั้งสำรองฯ ที่อาจไม่สามารถลดลงได้มาก จะยังกดดันภาพรวมกำไรสุทธิ
        ภูมิทัศน์ที่แบงก์ไทยต่างต้องเร่งแสวงหาธุรกิจใหม่ ทั้งสินเชื่อดิจิทัล ESG สินทรัพย์ดิจิทัล ธุรกิจต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจที่ไม่ใช่การเงินโดยตรง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตรายได้รูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต
        ภูมิทัศน์ของกติกาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกระตุ้นการแข่งขันในมิติต่างๆ โดยคงเห็นการออกใบอนุญาต Virtual Bank, การเพิ่มบทบาทนอนแบงก์ในธุรกรรม FX, การพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง รวมถึงนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม