21 ธันวาคม 2565
สถาบันการเงิน
หลังจากที่แบงก์ไทยดำเนินธุรกิจผ่านปี 2565 โดยผ่านคลื่นลมของความท้าทายมาหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 การปรับเกณฑ์ต่างๆ ของทางการจากที่เน้นมาตรการแบบปูพรมและช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ มาเป็นมาตรการเฉพาะจุด และทยอยปล่อยให้มาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินหมดอายุลง รวมถึงการปรับดอกเบี้ยขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นนั้น ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ก็ทยอยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ทำให้สำหรับทั้งปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย (แบงก์ไทย) จะมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองและภาษี) ที่เติบโตจากปีก่อนประมาณ 12.4% สอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อ ซึ่งหากผนวกกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงจากปีก่อน ที่มีการตั้งสำรองฯ เชิงรุกแล้ว คาดว่าระบบแบงก์ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 34%... อ่านต่อ
FileSize KB
17 ตุลาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นหลังการคลายล็อกดาวน์ จะช่วยหนุนการเติบโตของรายได้หลักของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2565 ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ... อ่านต่อ
8 สิงหาคม 2565
ในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ คาดว่ากนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75 ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กนง. มีแนวโน้มที่จะทยอยถอนคันเร่งทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับสูง โดยจากตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือนก.ค. 2565 อัตราเงินเฟ้อไทยวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น 7.61% YoY ชะลอลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 7.66% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เร่งขึ้นที่ 2.99% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.51% YoY สะท้อนให้เห็นว่าการส่งผ่านต้นทุนจากไปยังผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและในวงกว้างขึ้น ดังนั้น แม้ว่าราคาน้ำมันจะย่อลงมาบ้างและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอลงเล็กน้อย แต่แรงกดดันจากเงินเฟ้อภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ ดังนั้น กนง. มีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักต่อปัจจัยเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเป็นสำคัญ ... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2564
ข้อมูลจากธ.พ. 1.1 สะท้อนว่า ภาพรวมเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 19 แห่ง (ธ.พ.ไทย) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564 ขยับขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 7.84 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อระบบธ.พ.ไทยน่าจะปิดสิ้นไตรมาส 2/2564 ที่ระดับประมาณ 4.4% YoY เทียบกับ 4.6% YoY ในไตรมาสที่ 1/2564 โดยแม้สินเชื่อจะเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังไม่มากนัก เพราะได้รับแรงประคองทิศทางกลับมาบางส่วนจากการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อเสริมสภาพคล่องและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และ (2) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่ยังคงมีกำลังซื้อ... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติยังคงกดดันความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธ.พ. ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้นจากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จากภาพดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบ ธ.พ. ไทยในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่ อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธ.พ.หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มีนโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2562
สินเชื่อสุทธิในเดือน ต.ค. 2562 ลดลงจากเดือนก่อน 8.77 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางแรงกดดันของสินเชื่อในแทบทุกธนาคาร โดยเฉพาะจากการชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และรัฐบาล อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อย อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อไม่มีหลักประกันอื่นๆ ยังขยายตัวสูงตามปัจจัยฤดูกาล ซึ่งจากภาพดังกล่าวทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ ณ เดือน ต.ค. 2562 ชะลอลงมาที่ 11.702 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 2.40% YoY จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี สอดคล้องกับสัญญาณอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม ... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2562
... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2562
สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ยังคงชะลอตัวลงเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ตามภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจน่าจะยังถูกกดดันจากการชำระคืนนี้ ประกอบกับมีสัญญาณอ่อนแรงลง ทั้งสินเชื่อเพื่อการลงทุนระยะยาว และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนทั้งสำหรับธุรกิจในประเทศ และธุรกิจในกลุ่มที่เกี่ยวโยงกับการส่งออก การค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยแม้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงกว่าในช่วงหลายเดือนก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งนี้ สัญญาณชะลอตัวของสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อยดังกล่าว กดดันภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ให้ขยายตัวเพียง 3.84% YoY ในเดือน ก.ค. 2562 ซึ่งนับเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน ... อ่านต่อ
18 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย จะอยู่ที่ประมาณ 5.1-5.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/2562 ลดลงจากกำไรสุทธิที่ 5.259 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 โดยกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 2/2562 อาจมีกรอบการฟื้นตัวที่จำกัด เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ทั้งการปล่อยสินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ยังคงรอจังหวะการฟื้นตัวที่ชัดเจนของกิจกรรมทาง... อ่านต่อ
24 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวมรวมข้อมูลผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ. 10 แห่ง) ในไตรมาส 1/2562 โดยพบว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวม 5.51 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการบันทึกรายได้และกำไรพิเศษจากเงินลงทุนที่เกิดขึ้นระหว่างไตรมาส ประกอบกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ก็มีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี หากไม่นับรวมรายได้และกำไรจากเงินลงทุนซึ่งเป็นรายการพิเศษดังกล่าว จะพบว่า ยังมีหลายประเด็นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่รออยู่ในช่วงไตรมาสที่เหลือของปี อาทิ การหารายได้ค่าธรรมเนียมจากส่วนอื่นๆ มาทดแทนรายได้ที่หายไปจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล การประคองอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อ และการดูแลปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในภาพรวมยังเผชิญโจทย์ท้าทายในการฟื้นตัวด้วยเช่นเดียวกัน ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมครั้งนี้แม้ว่าพัฒนาการของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสนับสนุนถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดเกิดใหม่ ทำให้ความจำเป็นในการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ยังมีไม่มาก มองไปข้างหน้า จุดสนใจของตลาดคงอยู่ที่จังหวะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อาจทวีความแรงมากขึ้น ส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค แต่จากปัจจัยเสถียรภาพภายนอกประเทศที่ยังแข็งแกร่งของไทย ทำให้ความเสี่ยงที่เงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็วยังจำกัด ประกอบกับ ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า กนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับประเด็นผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า คงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ กนง. ยังคงระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน เพื่อรอติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน ก.ค. 2561 ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ 11.31 ล้านล้านบาท แต่หากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและสิ้นปีก่อน สินเชื่อยังเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 5.92%YoY และ 2.30%YTD โดยสินเชื่อที่ยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งในเดือนนี้ คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ถูกหักลบด้วยการชำระคืนสินเชื่อภาคธุรกิจจำนวนมากในธนาคารขนาดใหญ่และกลาง ประกอบกับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านภาพรวมเงินฝากยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน 2.66 หมื่นล้านบาท หรือ 0.22% MoM เป็น 12.30 ล้านล้านบาท ตามการลดลงของเงินฝากประจำภาคธุรกิจในธนาคารขนาดใหญ่และกลางบางแห่ง ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารตึงตัวขึ้นเป็น 87.23%... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2561
แพลตฟอร์ม P2P Lending ในไทย 4-5 ราย ที่เริ่มเปิดให้บริการแล้ว (ในวงจำกัด) ย้ำภาพในทิศทางที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้กู้รายย่อย โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งคงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กลุ่มดังกล่าวได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง และเงื่อนไขการขอกู้ที่ผ่อนคลายลง ทั้งในมิติหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมิติของระยะเวลาดำเนินการของธุรกิจ (เมื่อเทียบกับการขอสินเชื่อไม่มีหลักประกันของสถาบันการเงิน) หัวใจสู่ความสำเร็จของ P2P Lending ยังเป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยงที่ดีพอตลอดกระบวนการปล่อยกู้ของแพลตฟอร์ม ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Credit Scoring และบริการติดตามทวงหนี้ ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายบททดสอบจากวัฏจักรเศรษฐกิจและธุรกิจ ตลอดจนบทพิสูจน์ถึงเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม เมื่อฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดเงินปล่อยกู้สำหรับสินเชื่อธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มในปี 2561 น่าจะอยู่ที่ราว 1,000-1,500 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับปริมาณสินเชื่อเอสเอ็มอีของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย แม้จะคิดเป็นเพียงสัดส่วนราว 0.03% เท่านั้น แต่ก็นับว่า สามารถช่วยเติมช่องว่างบริการทางการเงินที่เคยมีได้บางส่วนในระหว่างรอการประกาศเกณฑ์กำกับจาก ธปท. และก.ล.ต. เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเกณฑ์ดังกล่าวออกมา ประกอบกับระบบจัดการด้านเครดิตของแพลตฟอร์มได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่ง ก็คาดว่า คงจะเห็นทิศทางอนาคต P2P Lending ในไทยที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในมิติของฐานลูกค้าที่น่าจะกว้างขึ้น ... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน พ.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6.59 หมื่นล้านบาท เป็น 11.20 ล้านล้านบาท หรือ 0.59% MoM แต่ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อนทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนยังไต่ระดับขึ้นเป็น 4.99%YoY และ 1.27%YTD โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ค่อนข้างกระจายตัวไปแทบทุกธนาคาร ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยได้แรงหนุนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย 700 ล้านบาท หรือ 0.01% MoM เป็น 12.36 ล้านล้านบาท จากเงินฝากทุกประเภทของธนาคารขนาดใหญ่ 2 แห่ง แม้ธนาคารขนาดเล็กจะมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษใหม่ 7 ตัวในเดือนนี้ก็ตาม... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
สินเชื่อ-เงินฝาก ระบบธนาคารไทยในเดือน เม.ย. 2561 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.78 หมื่นล้านบาท เป็น 11.14 ล้านล้านบาท หรือ 0.61%MoM และ 4.81%YoY ซึ่งเพิ่มขึ้นกระจายเกือบทุกธนาคารจากสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้ว่าแรงส่งสินเชื่อจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.21 แสนล้านบาท หรือ 0.99%MoM และ 6.28%YoY ส่วนใหญ่เกิดจากเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ที่ไหลเข้ามาพักในธนาคารขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภาพรวมสภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ก.พ. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.7 หมื่นล้านบาท เป็น 11.05 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.61% MoM และ 4.36% YoY โดยส่วนใหญ่เพิ่มจากสินเชื่อในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อมีระยะเวลา ส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนหลักของสินเชื่อเช่าซื้อ โดยปรับตัวดีขึ้นทั้งตลาดรถใหม่ รถมือสอง และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังทยอยฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตยังชะลอตัวลงจากการชำระคืนหนี้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ... อ่านต่อ
4 มกราคม 2561
เงินบาทแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี “เข้าใกล้” ระดับ 32.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 ปี สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังคงไร้ปัจจัยสนับสนุนที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าในปีนี้จะเป็นปีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นท่าทีที่แตกต่างไปจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยซึ่งมีโอกาสทรงตัวที่ระดับ 1.50% ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี 2561 ... อ่านต่อ