13 สิงหาคม 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
21 กุมภาพันธ์ 2567
18 ตุลาคม 2566
17 กรกฎาคม 2566
11 เมษายน 2566
ธุรกิจแบงก์ไทยไตรมาส 1/2566...แม้รายได้หลักขยายตัวได้ แต่ยังต้องระวังปัญหาหนี้เสีย ... อ่านต่อ
21 ธันวาคม 2565
หลังจากที่แบงก์ไทยดำเนินธุรกิจผ่านปี 2565 โดยผ่านคลื่นลมของความท้าทายมาหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 การปรับเกณฑ์ต่างๆ ของทางการจากที่เน้นมาตรการแบบปูพรมและช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ มาเป็นมาตรการเฉพาะจุด และทยอยปล่อยให้มาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินหมดอายุลง รวมถึงการปรับดอกเบี้ยขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นนั้น ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ก็ทยอยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ทำให้สำหรับทั้งปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย (แบงก์ไทย) จะมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองและภาษี) ที่เติบโตจากปีก่อนประมาณ 12.4% สอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อ ซึ่งหากผนวกกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงจากปีก่อน ที่มีการตั้งสำรองฯ เชิงรุกแล้ว คาดว่าระบบแบงก์ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 34%... อ่านต่อ
17 ตุลาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นหลังการคลายล็อกดาวน์ จะช่วยหนุนการเติบโตของรายได้หลักของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2565 ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม ... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2565
15 กรกฎาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า รายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ยังคงอ่อนแอในไตรมาสที่ 2/2565 โดยเฉพาะรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยซึ่งถูกกดดันจากความเปราะบางของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากความผันผวนของตลาดทุนต่อพอร์ตการลงทุน ส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและ NIM นั้น อาจขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยตามการเติบโตของสินเชื่อ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2564
การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้การทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet มีการเร่งการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่พบว่า ผู้บริโภคไทยโดยภาพรวมมีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile banking และ e-Wallet อยู่ที่ 19 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเพิ่มมากกว่าการใช้งานในช่วงการระบาดระลอกแรกที่มีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 17 ครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่มีผู้บริโภคกว่าร้อยละ 53.9 มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น... อ่านต่อ
12 เมษายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธ.พ. ไทย) อาจขยับขึ้นในไตรมาส 1/2564 โดยแม้รายได้จากธุรกิจหลักของธ.พ. ไทยจะยังไม่ฟื้นตัวกลับมา เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ส่วนของไทยยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 แต่ระดับกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2564 มีโอกาสขยับขึ้น 75% QoQ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการลดลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้เสียที่ชะลอลง (แต่ยังเป็นระดับสำรองฯ ที่มากกว่าระดับปกติ) อย่างไรก็ดี ประเมินว่า การประคองทิศทางผลประกอบการระบบธ.พ. ไทยในระยะที่เหลือของปีอาจมีความท้าทายมากขึ้น เพราะคงต้องยอมรับว่าโควิด 19 ระลอกสาม มีผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รายได้หลักของธุรกิจธนาคาร และประเด็นคุณภาพหนี้ ... อ่านต่อ
13 มกราคม 2564
คงต้องยอมรับว่า การระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 ที่ลากยาวข้ามมาในปี 2564 ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังรอเวลาฟื้นตัว กลับต้องหยุดชะงักลงอีกครั้ง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวซ้ำเติมปัญหาความเปราะบางทางการเงิน การขาดสภาพคล่อง และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม และล่าสุด (12 ธ.ค. 2564) ธปท. ได้ขยายระยะเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือ และให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภท ... อ่านต่อ
6 มกราคม 2564
หลังเปิดมาในปี 2564 ค่าเงินสกุลเงินหลัก สกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมถึงเงินหยวนของจีนยังคงแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะมีแรงกดดันจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ แล้ว ยังมีแรงกดดันเพิ่มเติมในช่วงที่กำลังจะมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่การบริหารประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ สำหรับการเคลื่อนไหวของเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2564 นั้น ส่วนใหญ่ยังปรับตัวอยู่ในระดับที่แข็งค่ากว่าแนว 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งทำให้สถานการณ์เงินบาทยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และล่าสุด ธปท. ก็ได้เดินหน้าผ่อนคลายเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อปรับสมดุลของระบบนิเวศในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน... อ่านต่อ
29 ธันวาคม 2563
ในช่วงที่ผ่านมาของปี 2563 ความเสี่ยงจากวิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ยังเพิ่มแรงกดดันต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในหลายด้าน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ภาพรวมกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธพ. จดทะเบียนในไทย) จะปิดปี 2563 ที่ระดับ 1.44 แสนล้านบาท ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติยังคงกดดันความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธ.พ. ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้นจากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จากภาพดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบ ธ.พ. ไทยในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่ อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธ.พ.หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มีนโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
1 กันยายน 2563
จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ยังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยผู้บริโภคในช่วงวัย 35 – 44 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การใช้งานกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25 – 34 ปี สะท้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และนำมาซึ่งการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้น... อ่านต่อ
23 กรกฎาคม 2563
การให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและมีขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลไม่มีข้อมูลเครดิตลูกค้าที่เพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2563 ตลาดสินเชื่อดิจิทัลในไทยทั้งระบบน่าจะมียอดคงค้างประมาณ 12,000 – 12,500 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 0.2 ของยอดคงค้างสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด... อ่านต่อ
20 กรกฎาคม 2563
สภาวะแวดล้อมที่อ่อนแอต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจากการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2563 มีผลกระทบมากขึ้นต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2/2563 โดยคงต้องยอมรับว่า วัฏจักรเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูงในขณะนี้ มีผลกดดันต่อรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ และทำให้มีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ในเกณฑ์ที่สูงกว่าระดับปกติ ... อ่านต่อ
29 พฤษภาคม 2563
สถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มุมมองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเป็นทั้งปัจจัยเร่ง Disruption ที่มีอยู่แล้วเดิม และสร้าง New normal ให้กับธนาคารพาณิชย์ ... อ่านต่อ
17 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้เป็นแค่เพียงภัยร้ายทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังได้ทยอยส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในหลายภาคส่วน รวมไปถึงธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องมีบทบาทหลายด้านมากขึ้น ทั้งการดูแลให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการติดตามและบริหารจัดการคุณภาพสินเชื่อในเชิงรุก ในช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูงในปัจจุบัน... อ่านต่อ
8 เมษายน 2563
ธปท. ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยภาคเอกชนสู้โควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563 ซึ่งโดยหลักๆ แล้วจะเป็นการบรรเทาปัญหาสภาพคล่องและเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงและต้องใช้เวลาอีกระยะในการคลี่คลายสถานการณ์ นอกจากนี้ ธปท. ยังมีมาตรการดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้เอกชนเพิ่มเติม เพื่อให้ช่องทางการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ของบริษัทที่มีคุณภาพยังทำงานได้ต่อเนื่อง... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2562
จากกระแสข่าวช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา น่าจะเป็นสัญญาณที่ยืนยันได้ว่า ธปท. อยู่ระหว่างการดำเนินการใน 2 เรื่องสำคัญเพื่อดูแลประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน ได้แก่ 1. การกำหนดแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ควบคู่ไปกับ 2.การเตรียมกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับการปล่อยสินเชื่อโดยพิจารณาจากภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยขณะนี้ ยังคงอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการจากธปท.... อ่านต่อ
18 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย จะอยู่ที่ประมาณ 5.1-5.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/2562 ลดลงจากกำไรสุทธิที่ 5.259 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 โดยกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 2/2562 อาจมีกรอบการฟื้นตัวที่จำกัด เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ทั้งการปล่อยสินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ยังคงรอจังหวะการฟื้นตัวที่ชัดเจนของกิจกรรมทาง... อ่านต่อ
26 กุมภาพันธ์ 2562
สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยเดือน ม.ค. 2562 ชะลอตัวลงจากปัจจัยฤดูกาล โดยเฉพาะการชำระคืนหนี้ในฝั่งภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี โดยยอดคงค้างสินเชื่อลดลงจากเดือนก่อน 6 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 0.52% MoM แม้ว่าสินเชื่อรายย่อยยังขยายตัวดีจากแรงส่งของสินเชื่อหลักทั้งสินเชื่อบ้านที่ยังอยู่ในช่วงเร่งโอนรับมอบก่อนมาตรการใหม่มีผล และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ที่บางส่วนเป็นผลจากส่งมอบรถค้างจองช่วงท้ายปี ขณะที่เงินฝากในเดือน ม.ค. 2562 ขยับขึ้นกว่า 7 หมื่นล้านบาท หรือ 0.59% MoM จากเงินฝากภาครัฐและเงินฝากพิเศษบางธนาคาร ทำให้สภาพคล่องผ่อนคลายลง ซึ่งภายใต้เงื่อนไขด้านสภาพคล่องของธนาคาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าจะยังไม่เป็นปัจจัยนำที่ผลักดันให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเงินฝากที่ชัดเจน จนส่งผลต่อการปรับขึ้นโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั้งระบบ แต่จังหวะเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป คงยังต้องรอการส่งสัญญาณเชิงนโยบายของ ธปท. ควบคู่กับการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงหลังการเลือกตั้ง ... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ต.ค. 2561 กลับมาเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.73% มาที่ 11.427 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวดีขึ้นของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 2.28 แสนล้านบาท หรือ 1.86% MoM มาที่ 12.504 ล้านล้านบาท จากเงินฝากภาครัฐในเข้ามาพักในบัญชี CASA ที่และเงินฝากเอกชนทั้งบัญชี CASA และเงินฝากประจำ มีผลให้สภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง สำหรับแนวโน้มในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องและจบปีที่ 6.0% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำการขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ด้านเงินฝากอาจจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะเวลาการฝากยาวขึ้นเพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายบางส่วน ... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่สองของปี 2561 ในวันที่ 28 มี.ค. 2561 นี้ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากนอกประเทศโดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอันอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงกรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่ มองไปข้างหน้า คณะกรรมการนโยบายการเงินไทย คงจะส่งสัญญาณในการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกระยะ เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังคงอาศัยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะเป็นการช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม จากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ที่ปรับแคบลง ทำให้แรงจูงใจในการดึงดูดเงินทุนต่างต่างชาติมีน้อยลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉลับพลันของไทยจำกัด เนื่องจากประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของอยู่ในระดับสูง จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี ดังนั้นโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม หากภาพรวมของการขยายตัวของเศรษฐกิจปรับดีขึ้นเข้าใกล้ระดับศักยภาพและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนค่าลง ก็จะเปิดโอกาสให้คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2561 เป็นอย่างเร็ว ... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2561
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในภาพรวม ปิดปี 2560 ด้วยอัตราการเติบโตที่ชะลอลงจาก 7.6% (YoY) ในปี 2559 มาที่ 6.0% ขณะที่ สำหรับในปี 2561 นั้น แม้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงฟื้นตัวขึ้น ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและแรงผลักจากการทำตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ จะยังอยู่ในกรอบจำกัดประมาณ 6.0-7.0% เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน... อ่านต่อ
8 มิถุนายน 2558
20 เมษายน 2558
31 มีนาคม 2557
24 กันยายน 2555
11 มิถุนายน 2555
27 กุมภาพันธ์ 2555