Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 มกราคม 2563

สถาบันการเงิน

การผ่อนปรนมาตรการ LTV เพิ่มปัจจัยด้านบวกให้ตลาดที่อยู่อาศัย...ท่ามกลางปัจจัยลบที่รุมเร้า (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3075)

คะแนนเฉลี่ย

​            ​เริ่มต้นปี 2563 แม้ตลาดยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมซื้อขายที่อยู่อาศัยกอปรกับ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนเกณฑ์ LTV สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกและหลังที่สอง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและช่วยเพิ่มกำลังซื้อในการใช้จ่ายสินค้าเพื่อการอยู่อาศัย นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือการตลาดในการกระตุ้นและปิดยอดการขายในระยะข้างหน้า สำหรับรายละเอียดของการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ในครั้งนี้ คือ

1. ปรับสัดส่วนเพดานเงินกู้ของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 90%-95% เพิ่มเป็น 100% พร้อมให้เงินกู้เพิ่มอีก 10% เพื่อใช้ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ (รวม 110% จากมูลค่าหลักประกัน)

2. ปรับสัดส่วนเพดานเงินกู้ของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกที่ราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 80% เพิ่มเป็น 90% 3.ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในส่วนของบ้านสัญญาที่สอง โดยหากผ่อนที่อยู่อาศัยสัญญาแรกมาแล้วตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ถึง 90% สำหรับที่อยู่อาศัยหลังที่สอง (จากเดิมที่ต้องผ่อนสัญญาแรกมากกว่า 3 ปี)

​            ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมีมุมมมองระมัดระวังต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและคาดว่า การผ่อนปรนมาตรการ LTV คงจะมีส่วนช่วยให้ธุรกรรมการขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ดีขึ้นกว่าประมาณการก่อนหน้าเล็กน้อย และมองว่าการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในปี 2563 น่าจะยังมีโอกาสหดตัวประมาณ 1.2% – 2.9% จากปี 2562 หรือมีจำนวนประมาณ 109,000 – 111,000 หน่วย ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 184,500 – 189,500 หน่วย หรือหดตัว 2.2% – 4.8 % จากปี 2562 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการซื้อขายของชาวต่างชาติที่ชะลอตัวลง  


ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


สถาบันการเงิน