23 สิงหาคม 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
13 สิงหาคม 2567
21 กุมภาพันธ์ 2567
30 มกราคม 2567
18 ตุลาคม 2566
16 พฤศจิกายน 2565
ในการประชุม APEC ในปี 2565 นี้ สะท้อนความพยายามในการผลักดันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกไปสู่ทิศทางแห่งความยั่งยืน โดยเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) ซึ่งหนึ่งแนวทางผลักดันคือการสนับสนุนให้กลุ่มคนต่างๆ ของสังคมเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Financial Inclusion)... อ่านต่อ
3 ตุลาคม 2565
แม้ยอดคงค้างเงินกู้ยืมของครัวเรือนจะขยับขึ้นสู่ระดับ 14.76 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2/2565 แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงตลอดในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะการชะลอตัวในส่วนของหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้รถ ... อ่านต่อ
13 กันยายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2565 การทำการตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลตามนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ในการพิจารณาสินเชื่อ คงมีลักษณะของการ “ทยอยเติบโต” มากกว่า โดยมียอดคงค้างที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,920 – 8,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของยอดคงค้างของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ เนื่องจากมีระยะเวลาการชำระคืนที่สั้น ขณะที่ทางฝั่งผู้ประกอบการก็ยังอยู่ในช่วงทดลองตลาด และถึงแม้ว่ากลุ่มลูกค้ารายย่อย Unserved และ Underserved เป็นกลุ่มที่ผู้ประกอบการทั้ง Bank และ Non-bank ต่างมุ่งหวังเข้าถึงเพื่อให้บริการ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับรายได้ที่ยังคงเท่าเดิมหรือลดลงจากผลกระทบโควิด-19 จึงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ในระดับสูง ผู้ประกอบการจึงอาจเริ่มต้นด้วยการให้วงเงินที่ไม่สูงมากนัก เพื่อหวังเก็บประวัติหรือพฤติกรรมการชำระเงินและต่อยอดสู่การให้บริการในวงเงินที่สูงขึ้น หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2565
สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้และเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566 ... อ่านต่อ
24 มีนาคม 2565
สินเชื่อทะเบียนรถขยายตัวสูงท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 จากธุรกิจในฝั่ง Non-Bank เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันของผู้ให้บริการที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และการขยายฐานลูกค้าในตลาดล่างที่ครอบคลุมถึงกลุ่มทะเบียนรถจักรยานยนต์... อ่านต่อ
22 ตุลาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่อง (มาตรการ LTV) โดยปรับเพดาน LTV เป็น 100% ชั่วคราวจนถึงสิ้นปี 2565 จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของตลาดที่อยู่อาศัยและการปล่อยสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินในช่วงที่เหลือของปีนี้และในปี 2565 ที่ยังเต็มไปด้วยหลายปัจจัยท้าทาย ... อ่านต่อ
27 กรกฎาคม 2564
ข้อมูลจากธ.พ. 1.1 สะท้อนว่า ภาพรวมเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 19 แห่ง (ธ.พ.ไทย) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564 ขยับขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 7.84 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อระบบธ.พ.ไทยน่าจะปิดสิ้นไตรมาส 2/2564 ที่ระดับประมาณ 4.4% YoY เทียบกับ 4.6% YoY ในไตรมาสที่ 1/2564 โดยแม้สินเชื่อจะเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังไม่มากนัก เพราะได้รับแรงประคองทิศทางกลับมาบางส่วนจากการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อเสริมสภาพคล่องและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และ (2) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าที่ยังคงมีกำลังซื้อ... อ่านต่อ
25 กันยายน 2563
สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจากผลของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างโจทย์ท้าทายให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล (PLoans) ทั้งในฝั่งธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ เพราะโจทย์สำคัญไม่ใช่แค่เพียงการปรับกลยุทธ์เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายก่อนคู่แข่งเพื่อเพิ่มยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่จะมีเรื่องการเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในพอร์ตด้วยเช่นกัน ดังนั้นทิศทางในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 จึงออกมาเป็นภาพของยอดคงค้างสินเชื่อ PLoans ที่หดตัวลงถึง 3.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562 โดยสินเชื่อ PLoans ที่ไม่มีหลักประกันหดตัวลงถึง 7.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
22 กันยายน 2563
สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลในบริบทของธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ที่ไม่ใช่ข้อมูลด้านรายได้ เพื่อประเมินถึงความสามารถหรือความเต็มใจที่จะชำระหนี้ของลูกค้า นับว่าเป็นการสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ที่ดีสองประการ คือ 1) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้นอกระบบ และกลุ่มที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อส่วนบุคคลมาก่อน และ 2) ลดต้นทุนสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลของผู้บริโภคลง อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่น่าจะหนุนให้ผู้ประกอบการตื่นตัวและวางแผนปรับธุรกิจให้เข้าเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทย และน่าจะก่อให้เกิดความท้าทายต่อผู้ประกอบการ อาทิ การพิสูจน์ความสมเหตุสมผลในการใช้ข้อมูลทางเลือก ความท้าทายในการหาลูกค้าใหม่ภายใต้ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงความท้าทายในการรักษาลูกค้าและการเติบโตของยอดคงค้างจากการให้สินเชื่อในระยะสั้นและมีวงเงินขนาดเล็ก เป็นต้น... อ่านต่อ
23 กรกฎาคม 2563
การให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและมีขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลไม่มีข้อมูลเครดิตลูกค้าที่เพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2563 ตลาดสินเชื่อดิจิทัลในไทยทั้งระบบน่าจะมียอดคงค้างประมาณ 12,000 – 12,500 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 0.2 ของยอดคงค้างสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด... อ่านต่อ
22 มกราคม 2563
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนเกณฑ์ LTV สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรกและหลังที่สอง ช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือการตลาดในการกระตุ้นและปิดยอดการขายในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ทิศทางของตลาดที่อยู่อาศัย ในปี 2563 นี้ ยังมีปัจจัยท้าทายที่จะส่งผลต่อการเติบโตของตลาด อาทิ แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศ กำลังซื้อและความสามารถในการขอสินเชื่อของผู้บริโภคชาวไทยและกำลังซื้อของชาวต่างชาติที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง นอกจากนี้ ในตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เองยังเผชิญกับภาวะการแข่งขัน จำนวนที่อยู่อาศัยรอขายที่ยังทรงตัวระดับสูง ... อ่านต่อ
15 มกราคม 2563
ก้าวแรกเข้าสู่ปี 2563 ธปท.ได้เปิดเผยรายละเอียดการปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใน 3 เรื่องเพื่อดูแลผู้บริโภค สาระสำคัญได้แก่ เรื่องค่าปรับไถ่ถอนก่อนกำหนดสำหรับสินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่อบุคคล เรื่องดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ให้คำนวณจากค่างวดค้างชำระส่วนที่เป็นเงินต้นเท่านั้น ... อ่านต่อ
25 ธันวาคม 2562
ข้อมูลจากเอกสารรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน (ธ.พ.1.1) ของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่งที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรวบรวม สะท้อนว่า สินเชื่อสุทธิในเดือน พ.ย. 2562 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะเป็นฤดูกาลเบิกใช้สินเชื่อ เนื่องจากปัจจัยลบด้านการชำระคืนสินเชื่อภาคธุรกิจ ประกอบกับสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ยังไม่ฟื้นตัว และสินเชื่อรายย่อยที่เติบโตดีเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ขณะที่สินเชื่อรายย่อยหลักทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรถ ขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากผลของมาตรการ LTV สินเชื่อบ้านและยอดขายรถยนต์ใหม่ที่ชะลอลง ... อ่านต่อ
25 ตุลาคม 2562
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2562 ยังเพิ่มขึ้นในกรอบจำกัด เนื่องจากสินเชื่อภาคธุรกิจยังคงแผ่วตัวลง ท่ามกลางสัญญาณชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจากความระมัดระวังในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อดูแลประเด็นทางด้านคุณภาพสินเชื่อ ส่วนสินเชื่อธุรกิจในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอียังค่อนข้างทรงตัว ซึ่งจากภาพรวมดังกล่าว ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อรายย่อย ยังคงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของสินเชื่อในภาพรวม ... อ่านต่อ
17 ตุลาคม 2562
แม้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3/2562 ที่ทยอยประกาศออกมาจะสะท้อนว่า ระบบธ.พ. ไทยในภาพรวมยังคงรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้จากการบันทึกกำไรจากรายการพิเศษ การปรับลดค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ และการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทิศทางชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน ยังมีผลกดดันกรอบการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลัก โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิซึ่งอาจชะลอตัวตามสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อ และได้รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว... อ่านต่อ
26 กันยายน 2562
สินเชื่อสุทธิของธ.พ. (14 แห่ง) ในเดือน ส.ค. 2562 เติบโตเพียง 3.84% YoY เท่ากับในเดือนก.ค. 2562 ซึ่งยังคงเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน โดยสถานการณ์สินเชื่อยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจที่ยังเผชิญแรงกดดันจากการชำระคืนหนี้ ซึ่งสวนทางกับยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่เติบโตในกรอบจำกัด ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรไทยที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การออกหุ้นกู้ยังเป็นทางเลือกระดมทุนที่มีต้นทุนที่ต่ำสำหรับธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ แม้สินเชื่อรายย่อย จะประคองการขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ชะลอตัวลงจากผลของฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดรถยนต์ น่าจะซึมซับความต้องการของผู้ซื้อไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
28 สิงหาคม 2562
สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ยังคงชะลอตัวลงเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ตามภาพกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจน่าจะยังถูกกดดันจากการชำระคืนนี้ ประกอบกับมีสัญญาณอ่อนแรงลง ทั้งสินเชื่อเพื่อการลงทุนระยะยาว และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนทั้งสำหรับธุรกิจในประเทศ และธุรกิจในกลุ่มที่เกี่ยวโยงกับการส่งออก การค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนขนาดใหญ่ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยแม้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงกว่าในช่วงหลายเดือนก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งนี้ สัญญาณชะลอตัวของสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อยดังกล่าว กดดันภาพรวมสินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ให้ขยายตัวเพียง 3.84% YoY ในเดือน ก.ค. 2562 ซึ่งนับเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน ... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2562
จากกระแสข่าวช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา น่าจะเป็นสัญญาณที่ยืนยันได้ว่า ธปท. อยู่ระหว่างการดำเนินการใน 2 เรื่องสำคัญเพื่อดูแลประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้ครัวเรือน ได้แก่ 1. การกำหนดแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ควบคู่ไปกับ 2.การเตรียมกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับการปล่อยสินเชื่อโดยพิจารณาจากภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยขณะนี้ ยังคงอยู่ระหว่างรอการเปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการจากธปท.... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2562
แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อยหลายประเภทชะลอลงต่อเนื่องในเดือน มิ.ย. 2562 ส่งผลให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นเพียง 1.07 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สินเชื่อสุทธิในเดือน มิ.ย. 2562 ขยายตัวที่ระดับ 3.88% YoY ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยหากไม่นับรวมภาพของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บางแห่งที่มีพอร์ตสินเชื่อขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและกระจายทุกกลุ่มลูกค้าแล้ว พอร์ตสินเชื่อของธนาคารหลายส่วน ยังคงถูกฉุดด้วยสินเชื่อภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี จากผลกระทบของภาคการส่งออกและความเสี่ยงต่อเครดิตที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี โดยเฉพาะขนาดเล็ก สำหรับสินเชื่อรายย่อย แม้จะยังเป็นบวกแต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลงตามคาด หลังมีการเร่งขยายสินเชื่อรายย่อยตัวหลักๆ ไปมากแล้วในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2562
• สินเชื่อภาคธุรกิจระยะสั้นและสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน กลับมาขยายตัวสูง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการบริโภค• บุคคลที่มีและไม่มีหลักประกัน ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลทำให้สินเชื่อสุทธิในเดือนพ.ค. 2562 ขยับขึ้นถึงเกือบ 9 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นสถิติการเพิ่มขึ้นรายเดือนที่มากที่สุดในปีนี้ และหนุนให้ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้น 4.77% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ 0.89% YTD เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2561 • สำหรับแนวโน้มสินเชื่อในระยะที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย อยู่ระหว่างทบทวนเพื่อปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปีนี้ลง (จากตัวเลขคาดการณ์ปัจจุบันที่ 5.0%) ตามแนวโน้มการฟื้นตัวที่อาจจะยังค่อนข้างจำกัดของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งน่าจะมีผลต่อศักยภาพการกู้ยืมของลูกค้าบางกลุ่ม โดยเฉพาะลูกค้าสินเชื่อเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยที่เป็นหนี้ผูกพันระยะยาว อาทิ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขณะที่ยังต้องติดตามการเบิกใช้สินเชื่อของภาคธุรกิจ ซึ่งขึ้นอยู่กับบรรยากาศการลงทุนโดยรวม และความคืบหน้าของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐ ... อ่านต่อ
20 มิถุนายน 2562
คณะกรรมการโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 4 ของปี 2562 ในวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ประเด็นเสถียรภาพของระบบการเงินเป็นประเด็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงินน่าจะยังคงให้น้ำหนักในการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กนง. น่าจะยังคงส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ในช่วงที่เหลือของปีนี้... อ่านต่อ
24 พฤษภาคม 2562
สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือน เม.ย. 2562 แม้เป็นเดือนแรกที่มาตรการ LTV ของธปท. เริ่มมีผลบังคับใช้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยสินเชื่อสุทธิยังคงขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อีก 2.67 หมื่นล้านบาท โดยสถานการณ์สินเชื่อธ.พ. ได้รับแรงหนุนเพิ่มขึ้นจากสัญญาณการเบิกใช้สินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนของเงินทุนหมุนเวียน ประกอบกับสินเชื่อรายย่อยบางประเภท มีแรงหนุนจากปัจจัยเชิงฤดูกาล เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ยังคงขยับขึ้นสอดคล้องกับทิศทางของยอดขายรถยนต์ในประเทศ อย่างไรก็ดี สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีสัญญาณชะลอลงในเดือนเม.ย. 2562 เช่นเดียวกับสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีที่ยังเผชิญข้อจำกัดในการฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจในภาพรวม ... อ่านต่อ
25 เมษายน 2562
สินเชื่อสุทธิเดือน มี.ค. 62 ยังขยายตัวได้จากเดือนก่อน แต่ไม่สามารถหนุนภาพรวมสินเชื่อไตรมาสแรกให้กลับเป็นบวกได้ จากปัจจัยหลักที่สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารขนาดใหญ่บางแห่งยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยมีแรงหนุนตลอดไตรมาส จากสินเชื่อหลักทั้งสินเชื่อบ้านตามการเร่งโอนก่อนมาตรการ LTV ใหม่ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ตามยอดขายรถใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนเงินฝาก ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนทุกกลุ่มธนาคาร แต่ยังเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน ตามการบริหารสภาพคล่องของแต่ละธนาคารให้เหมาะสมกับความต้องการเบิกใช้สินเชื่อ... อ่านต่อ
12 เมษายน 2562
การที่ ธปท. ส่งสัญญาณเตือนหลังพบความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อเช่าซื้อรถมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดตื่นตัวและเฝ้าติดตามระดับการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลของทางการ ว่าจะนำไปสู่การปรับเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งคงมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการรักษากฎกติกาการแข่งขันให้มีมาตรฐานและคำนึงถึงความพร้อมและความสามารถทางการเงินของลูกหนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจระยะยาว แม้จะยังรอบทสรุปสุดท้ายจากทางการ แต่ในปี 2562 นี้ ภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศและแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถ อยู่ในสถานะที่ประคองตัวอยู่แล้ว จากปัจจัยลบหลายประการ รวมถึงทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่หาก ธปท. ออกมาตรการเพิ่มเติม อาทิ กำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ อาจทำให้ยอดขายรถยนต์และสินเชื่อเช่าซื้อรถ ชะลอตัวลงกว่าที่คาดบ้าง ... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2562
สินเชื่อสุทธิเดือน ก.พ. 62 เร่งตัวขึ้นตามแรงหนุนของสินเชื่อรายย่อยหลัก ทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อรถ ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจและเอสเอ็มอียังเพิ่มขึ้นไม่มาก จากการระดมทุนโดยตรงของภาคธุรกิจเพื่อชำระคืนหนี้ธนาคารและการชะลอตัวของการส่งออกที่มีผลกระทบต่อสินเชื่อเพื่อส่งออกบางประเภท ขณะที่เงินฝากยังปรับตัวสูงขึ้นในบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวันเป็นหลัก สะท้อนการแข่งขันด้านราคาที่ยังไม่เกิดขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการส่งสัญญาณของ ธปท. ที่คลายความเคร่งครัดในการดำเนินนโยบายการเงินลง ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มสภาพคล่องของ ธพ จะยังผ่อนคลายตลอดช่วงครึ่งแรกของปีนี้... อ่านต่อ
29 มกราคม 2562
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.18 แสนล้านบาท (+1.03% MoM) ส่งผลให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2561 ขยายตัว 5.17% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 โดยมียอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ 11.63 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อเดือนธ.ค. 2561 เร่งตัวขึ้นในทุกประเภท นำโดย สินเชื่อรายย่อย ขณะที่ ยอดคงค้างเงินรับฝากเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.36 แสนล้านบาท (+1.09% MoM) มาที่ 12.58 ล้านล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับยอดคงค้างเงินฝาก ณ สิ้นปี 2560 ภาพรวมเงินฝากในปี 2561 เติบโตขึ้น 3.96% นำโดย เงินฝากออมทรัพย์ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อในปี 2562 มีโอกาสชะลอลงมาที่ 5.0% โดยคาดหวังการขยายตัวของทิศทางการลงทุนภายในประเทศจะเป็นแรงหนุนต่อเนื่องให้สินเชื่อธุรกิจ ขณะที่ สินเชื่อรายย่อยอาจเติบโตชะลอลง เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน และแรงหนุนจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะน้อยลงกว่าปี 2561 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อยบางประเภท อาทิ สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (clean loan) และสินเชื่อที่มีหลักประกันที่ปลอดภาระ อาจประคองทิศทางการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการทั่วไปภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ... อ่านต่อ
25 มกราคม 2562
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน พ.ย. 2561 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในระดับที่เกิน 8 หมื่นล้านบาทติดกันเป็นเดือนที่สอง มาที่ 11.515 ล้านล้านบาท สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน 6.20% โดยการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อค่อนข้างกระจายตัวไปยังทุกธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่ ภาพรวมเงินฝากเดือน พ.ย. 2561 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 6.2 หมื่นล้านบาท มาที่ 12.442 ล้านล้านบาท โดยการเคลื่อนไหวของเงินฝากในเดือนนี้ สะท้อนภาพการบริหารจัดการสภาพคล่องที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มีเงินฝากที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ยอดคงค้างเงินฝากของกลุ่มธนาคารขนาดกลางยังคงขยับขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม สำหรับภาพรวมเงินฝากในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 4.01% แม้มีปัจจัยเรื่องฐานเปรียบเทียบที่สูงของสินเชื่อที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนธันวาคม 2560 แต่คาดว่า สถานการณ์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปี 2561 จะขยายตัวเข้าใกล้ตัวเลขประมาณการที่ 6.0% ได้ โดยมีแรงหนุนในช่วงโค้งสุดท้ายของปีจากสินเชื่อรายย่อย และการเบิกใช้สินเชื่อของภาคธุรกิจตามปัจจัยด้านฤดูกาล สำหรับแนวโน้มในปี 2562 คาดว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาที่ประมาณ 5.0% ตามทิศทางเศรษฐกิจ ... อ่านต่อ
26 ธันวาคม 2561
ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิตปลายปี 2561 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งมีแผนใช้จ่ายเป็นกรณีพิเศษรับช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลปีใหม่ช่วงปลายปี วางแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของตนสูงกว่าปกติประมาณ 1.8-2.5 เท่า ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโดยรวมของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ เติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 12% ในปี 2561 เร่งขึ้นจาก 6.0% ในปี 2560 ขณะที่ ยอดคงค้างสินเชื่อทั้งระบบ อาจเติบโตต่อเนื่องที่ประมาณ 7.0% แม้แรงหนุนจากมาตรการช้อปช่วยชาติในช่วงปลายปี 2561 จะมีรายละเอียดของมาตรการที่แตกต่างไปจากช่วง 2 ปีก่อนก็ตาม สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ อาจจะยังประคองการเติบโตในปี 2562 ไว้ที่ประมาณ 7.0% ใกล้เคียงกับปี 2561 ขณะที่ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต อาจเติบโตประมาณ 8.0% โดยจะยังคงเห็นกลยุทธ์การแข่งแคมเปญ/โปรโมชั่น ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้า เพิ่มความประทับใจในการใช้บัตรเครดิต ตลอดจนกระตุ้นการใช้วงเงินในบัตรเครดิต อย่างเข้มข้น อย่างไรก็ดี โจทย์ท้าท้ายสำคัญที่รออยู่ในปี 2562 น่าจะเป็นเรื่องความกังวลต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือน และสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในภาพรวม ซึ่งสะท้อนผ่านผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิตฯ โดยผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วน เริ่มมีมุมมองที่มีความกังวลต่อรายได้และมีแผนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้ว่าผู้ถือบัตรเครดิตส่วนใหญ่จะยังคงมองว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของตนในปี 2562 น่าจะเท่ากับหรือสูงกว่าปี 2561 ก็ตาม ... อ่านต่อ
12 ธันวาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สินเชื่อส่วนบุคคลจะสามารถรักษาแรงส่งได้ต่อเนื่องในปี 2562 โดยเติบโตในกรอบ 7.5-9.0% ตามแรงผลักดันของผู้ให้บริการโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งเป้าหมายสินเชื่อในเชิงรุก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เพื่อชดเชยรายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปภายใต้การเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งคงจะเห็นอัตราการเติบโตของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีโอกาสโตกว่าสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นๆขณะที่ กลยุทธ์สำคัญในการเจาะตลาดใหม่ๆ คงหนีไม่พ้นการพัฒนาช่องทางดิจิทัล ซึ่งผู้ให้บริการคงต้องออกแบบกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถปิดหรือบรรเทาความเสี่ยงด้านคุณภาพหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย... อ่านต่อ
9 พฤศจิกายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของ ธปท. เป็นมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเงื่อนไขของมาตรการที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น (เมื่อเทียบกับ Consultation Paper) คาดว่าจะหนุนธุรกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยก่อนที่มาตรการจะมีผลบังคับใช้ในเดือน เม.ย. 2562 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มเร่งตัวต่อเนื่องไปจนถึงช่วงไตรมาสแรกปี 2562 ขณะที่ ในช่วงที่เหลือของปี 2562 กิจกรรมในตลาดที่อยู่อาศัยและภาพสินเชื่อบ้าน คงจะขึ้นอยู่กับทิศทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภค และการแข่งขันของผู้ประกอบการ ในจังหวะเวลาที่ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ... อ่านต่อ
26 ตุลาคม 2561
สินเชื่อสุทธิในระบบ ธพ. เดือน ก.ย. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.76 พันล้านบาท หรือ 0.03% เป็น 11.345 ล้านล้านบาท จากแรงหนุนของสินเชื่อรายย่อยที่ขยายตัวได้ดีทุกประเภท ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิในเดือนนี้ขยายตัวได้ถึง 5.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.93 พันล้านบาท หรือ 0.03% MoM เป็น 12.276 ล้านล้านบาท และเมื่อรวมกับการเพิ่มขึ้นของตราสารหนี้และเงินกู้ยืม สภาพคล่องในระบบ ธพ. ที่สะท้อนจากสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากรวมตราสารหนี้และเงินกู้ยืม จึงผ่อนคลายลงมาที่ 87.43%... อ่านต่อ
10 ตุลาคม 2561
แนวนโยบายรัฐที่จะขยายขอบเขตการกำกับดูแลผู้ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยกำหนดให้เป็นธุรกิจที่ต้องขอรับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง ช่วยให้ผู้บริโภค มีโอกาสได้รับบริการทางการเงินจากผู้ประกอบการที่มีบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน โปร่งใส ในมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผลกระทบต่อทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อจำนำทะเบียนในระยะที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะอยู่ในวงจำกัด ขณะที่ผลข้างเคียงจากปัจจัยอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่มาตรการใหม่) คงมีอิทธิพลต่อภาพรวมสินเชื่อจำนำทะเบียนมากกว่า อาทิ ฐานที่สูงของปีก่อน และการที่ลูกค้าเป้าหมายบางส่วนขายรถเก่าที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์เพื่อซื้อรถใหม่ทดแทน ท่ามกลางภาวะที่ตลาดรถใหม่และรถใช้แล้วที่กลับมาคึกคักขึ้นหลังสิ้นสุดผลของโครงการรถคันแรก ซึ่งมีผลตามมาให้ลูกค้ากลุ่มนี้ยังไม่สามารถขอสินเชื่อจำนำทะเบียนได้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สินเชื่อจำนำทะเบียนปี 2561 จะเติบโต 10% YoY เทียบกับ 14.6% ในปี 2560 ... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ไตรมาส 3/2561 ว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 7.7% YoY ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวที่ชะลอลง และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จะปรากฏภาพกำไรสุทธิที่ลดลง 9.1% QoQ โดยทิศทางดังกล่าว สะท้อนผลกระทบจากการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินฯ ที่ชัดเจนขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน มีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองหนี้ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์เอ็นพีแอลที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องเน้นกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่กับการผลักดันรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ดอกเบี้ย (ตามแรงส่งของสินเชื่อที่ยังขยายตัวดี) และรายได้ค่าธรรมเนียมประเภทอื่นๆ เพื่อประคองความสามารถในการทำกำไรเฉพาะหน้า ขณะที่ หนึ่งในประเด็นติดตามสำคัญ คือ แนวทางดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ของ ธปท.และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาจมีผลต่อทิศทางตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ตลอดจนภาพรวมสินเชื่อในช่วงเดือนที่เหลือได้ ... อ่านต่อ
4 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ธปท. แม้คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงข้างหน้า แต่นับเป็นแนวทางที่ดี เนื่องจากเป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการสะสมภาวะความไม่สมดุลที่มากขึ้นระหว่างอุปสงค์และอุปทานในภาคอสังหาริมทรัพย์ อันท้ายที่สุดแล้วจะเป็นการช่วยสร้างความสมดุลและทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เติบโตอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะถัดไป สำหรับผลกระทบจากมาตรการควบคุมคุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 มากกว่าปี 2561 ดังนั้น จำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจจบปี 2561 ที่ระดับใกล้เคียงกับปี 2560 ที่ราว 190,000 หน่วย และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5 ซึ่งดีขึ้นกว่าร้อยละ 6.1 ในปี 2560 เล็กน้อย ขณะที่ เป็นที่คาดหมายว่าเครื่องชี้ดังกล่าว โดยเฉพาะฝั่งสินเชื่อ จะทยอยผ่อนแรงส่งลงในปี 2562 ซึ่งทำให้ยังต้องติดตามเส้นทางการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการ และปัญหาคุณภาพหนี้อย่างใกล้ชิดในช่วงปีหน้าด้วย ... อ่านต่อ
26 กันยายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน ส.ค. 2561 เพิ่มขึ้น 2.64 หมื่นล้านบาท เป็น 11.34 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.23% จากเดือนก่อน และ 5.85% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้คาดว่า ภาพรวมทั้งปีของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ มีโอกาสขยายตัวสูงกว่ากรอบประมาณการที่คาดไว้ที่ 4.8-5.3% โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากสินเชื่อรายย่อยที่คาดว่าจะโตดีในทุกองค์ประกอบ สินเชื่อเอสเอ็มอีที่เริ่มทยอยฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงท้ายปีที่อาจช่วยกระตุ้นสินเชื่อภาคธุรกิจ ขณะที่เงินฝากเดือน ส.ค. 2561 ปรับตัวลดลงเป็น 12.27 ล้านล้านบาท เนื่องจากธนาคารให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนการเงินให้สอดคล้องกับความสามารถในการหารายได้ ... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน ก.ค. 2561 ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ 11.31 ล้านล้านบาท แต่หากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและสิ้นปีก่อน สินเชื่อยังเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 5.92%YoY และ 2.30%YTD โดยสินเชื่อที่ยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งในเดือนนี้ คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ถูกหักลบด้วยการชำระคืนสินเชื่อภาคธุรกิจจำนวนมากในธนาคารขนาดใหญ่และกลาง ประกอบกับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านภาพรวมเงินฝากยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน 2.66 หมื่นล้านบาท หรือ 0.22% MoM เป็น 12.30 ล้านล้านบาท ตามการลดลงของเงินฝากประจำภาคธุรกิจในธนาคารขนาดใหญ่และกลางบางแห่ง ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารตึงตัวขึ้นเป็น 87.23%... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน มิ.ย. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.06 แสนล้านบาท เป็น 11.31 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.95% MoM สูงที่สุดในรอบครึ่งแรกปีนี้ ทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนไต่ระดับขึ้นเป็น 5.02%YoY และ 2.23%YTD โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากธนาคารขนาดใหญ่ ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังปรับตัวลดลงในบางธนาคาร ... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2561
แพลตฟอร์ม P2P Lending ในไทย 4-5 ราย ที่เริ่มเปิดให้บริการแล้ว (ในวงจำกัด) ย้ำภาพในทิศทางที่มุ่งเจาะกลุ่มผู้กู้รายย่อย โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งคงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กลุ่มดังกล่าวได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง และเงื่อนไขการขอกู้ที่ผ่อนคลายลง ทั้งในมิติหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมิติของระยะเวลาดำเนินการของธุรกิจ (เมื่อเทียบกับการขอสินเชื่อไม่มีหลักประกันของสถาบันการเงิน) หัวใจสู่ความสำเร็จของ P2P Lending ยังเป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยงที่ดีพอตลอดกระบวนการปล่อยกู้ของแพลตฟอร์ม ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Credit Scoring และบริการติดตามทวงหนี้ ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายบททดสอบจากวัฏจักรเศรษฐกิจและธุรกิจ ตลอดจนบทพิสูจน์ถึงเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม เมื่อฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ยอดเงินปล่อยกู้สำหรับสินเชื่อธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มในปี 2561 น่าจะอยู่ที่ราว 1,000-1,500 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับปริมาณสินเชื่อเอสเอ็มอีของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย แม้จะคิดเป็นเพียงสัดส่วนราว 0.03% เท่านั้น แต่ก็นับว่า สามารถช่วยเติมช่องว่างบริการทางการเงินที่เคยมีได้บางส่วนในระหว่างรอการประกาศเกณฑ์กำกับจาก ธปท. และก.ล.ต. เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเกณฑ์ดังกล่าวออกมา ประกอบกับระบบจัดการด้านเครดิตของแพลตฟอร์มได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่ง ก็คาดว่า คงจะเห็นทิศทางอนาคต P2P Lending ในไทยที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในมิติของฐานลูกค้าที่น่าจะกว้างขึ้น ... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน พ.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6.59 หมื่นล้านบาท เป็น 11.20 ล้านล้านบาท หรือ 0.59% MoM แต่ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อนทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนยังไต่ระดับขึ้นเป็น 4.99%YoY และ 1.27%YTD โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ค่อนข้างกระจายตัวไปแทบทุกธนาคาร ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยได้แรงหนุนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย 700 ล้านบาท หรือ 0.01% MoM เป็น 12.36 ล้านล้านบาท จากเงินฝากทุกประเภทของธนาคารขนาดใหญ่ 2 แห่ง แม้ธนาคารขนาดเล็กจะมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษใหม่ 7 ตัวในเดือนนี้ก็ตาม... อ่านต่อ
26 เมษายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน มี.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.9 หมื่นล้านบาท เป็น 11.07 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.17% MoM ซึ่งแรงส่งสินเชื่อในเดือนนี้ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมสินเชื่อในไตรมาสแรกปีนี้ ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน (+4.59% YoY) แม้ว่าในช่วงต้นไตรมาสจะมีผลกระทบของการชำระคืนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีการใช้จ่ายสูงในช่วงท้ายปีก็ตาม ทั้งนี้ สินเชื่อหลักที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อภาคธุรกิจ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ก.พ. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.7 หมื่นล้านบาท เป็น 11.05 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.61% MoM และ 4.36% YoY โดยส่วนใหญ่เพิ่มจากสินเชื่อในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อมีระยะเวลา ส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนหลักของสินเชื่อเช่าซื้อ โดยปรับตัวดีขึ้นทั้งตลาดรถใหม่ รถมือสอง และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังทยอยฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตยังชะลอตัวลงจากการชำระคืนหนี้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ... อ่านต่อ
23 กุมภาพันธ์ 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ม.ค. 2561 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 7.9 หมื่นล้านบาท หรือ 0.72% เป็น 10.98 ล้านล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 4.23% ส่วนใหญ่ลดลงจากการชำระคืนสินเชื่อหมุนเวียนในภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี รวมทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หลังจากที่มียอดใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังขยายตัวดีต่อเนื่องตามอุปสงค์รถใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9.8 หมื่นล้านบาท หรือ 0.81% เป็น 12.20 ล้านล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 7.11% โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ทั้งเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยทั่วไปจะยังทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงและยังไม่มีสัญญาณการแข่งขันด้านเงินฝาก ... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2561
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในภาพรวม ปิดปี 2560 ด้วยอัตราการเติบโตที่ชะลอลงจาก 7.6% (YoY) ในปี 2559 มาที่ 6.0% ขณะที่ สำหรับในปี 2561 นั้น แม้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงฟื้นตัวขึ้น ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและแรงผลักจากการทำตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ จะยังอยู่ในกรอบจำกัดประมาณ 6.0-7.0% เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน... อ่านต่อ
25 มกราคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งตามคาด จากแรงสนับสนุนหลักของความต้องการสินเชื่อในภาคธุรกิจ สินเชื่อภาครัฐ และสินเชื่อรายย่อย รวมทั้งสินเชื่อเอสเอ็มอีที่เริ่มขยายตัวเป็นบวกในไตรมาสนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิในเดือน ธ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึง 2.2 แสนล้านบาท นับเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิรายเดือนที่มากที่สุดในรอบ 4 ปี ที่ 2.0% MoM และทำให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2560 ดีดตัวขึ้นมาที่ 4.3% YoY เป็น 11.06 ล้านล้านบาท... อ่านต่อ