Display mode (Doesn't show in master page preview)

22 พฤษภาคม 2562

พลังงาน

การจัดการเศษเหลือทางเกษตร ... สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2996)

คะแนนเฉลี่ย

​             การเติบโตอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนั้นมาจากสาเหตุพื้นฐาน คือ ความกังวลต่อการขาดแคลนและต้องการลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล (Fossil Based)  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาน้ำมันทดแทนอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพต้องพึ่งพาพืชเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบ เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง ที่จัดอยู่จำพวกเดียวกับพืชอาหารหลัก (Major Food Commodities) ซึ่งอาจเกิดปัญหาแฝงอยู่และส่งผลให้เกิดผลกระทบมากขึ้นในระยะยาว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศษเหลือใช้ทางการเกษตรช่วยลดผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อาหาร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าช่วยพลักดันเศรษฐกิจระดับชุมชน โดยคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยแสนกว่าล้านบาทต่อปี โดยเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือทั้งประเทศต้องมีระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพ

                อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาเพื่อทดแทนพืชอาหารที่ใช้เป็นวัตถุดิบเป็นเศษเหลือใช้จากการเกษตรนั้นให้มีประสิทธิภาพ ต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในเรื่องของการเก็บรวบรวมของเหลือทิ้ง และการสนับสนุนจากรัฐในการช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุนที่จะกระทบกับต้นทุนทีเพิ่มขึ้นในระยะแรกทั้งของเกษตรกรและอุตสาหกรรมพลังงาน ทั้งนี้มองว่าเมื่อการเก็บรวบรวมเศษเหลือทางการเกษตรเกิดเป็นระบบและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมีประสิทธิมากขึ้นทั้งเกษตรกรและอุตสาหกรรมพลังงานเองจะสามารถดำเนินต่อไปโดยลดการพึ่งพา

                ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวในประเทศไทย เพราะหากเทคโนโลยีสามารถพัฒนาให้เกิดการใช้เศษเหลือทางการเกษตรขึ้นในเชิงพาณิชย์แล้ว อาจะเป็นโอกาสลดการพึ่งพิงพืชอาหาร ทั้งยังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเศษเหลือทิ้งของเกษตรกรรายอื่น อย่างเช่น ชาวนา ชาวสวนยาง สวนยูคาลิปตัส และสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชนได้อีกด้วย

​​