24 มิถุนายน 2565
เศรษฐกิจต่างประเทศ
สถานการณ์ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเรื่อยๆ จนแตะสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 24 ปี แตะที่ระดับ 136.24 เยนต่อดอลลาร์ฯ (22 มิถุนายน 2565) ลดลงราวร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี 2565 โดยค่าเงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในบรรดาสกุลเงินหลักของโลกอีกทั้งยังมีสัญญาณอ่อนค่าต่อเนื่องตลอดปี ด้วยปัจจัยทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นของโลก บวกกับแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศยิ่งกดดันการผลิตและการบริโภคของญี่ปุ่น คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2565 จะยังเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.1 ขณะที่ในช่วงที่เหลือของปีคงต้องจับตาทิศทางค่าเงินเยน รวมถึงปัจจัยภายนอกจากเศรษฐกิจโลกอาจกดดันเศรษฐญี่ปุ่นในช่วงโค้งสุดท้ายของปีและส่งผลชัดเจนขึ้นในปี 2566 ... อ่านต่อ
FileSize KB
13 ธันวาคม 2564
สหภาพยุโรปได้เดินหน้าในการในเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อย่างต่อเนื่อง ตามแผน European Green Deal ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 64 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้ตกลงร่วมกันในการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ขั้นต่ำจากร้อยละ 15 ลงมาที่ร้อยละ 5 ให้กับสินค้าและบริการในสหภาพยุโรปที่จะช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสินค้าและบริการที่ส่งเสริมการรักษาสุขภาพและสินค้าและบริการที่เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคของพลเมืองในประเทศ โดยคาดว่าอัตราภาษีใหม่ จะเริ่มใช้หลังจากที่สภายุโรปพิจารณาให้ความเห็นชอบในช่วงมีนาคมของปีหน้านี้... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2562
เวียดนามเป็นประเทศที่ตลาดรถยนต์มีโอกาสเพิ่มปริมาณขึ้นอีกมากในระยะอีก 5 ถึง 7 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มได้ แม้ปัจจุบันเวียดนามจะยังตามหลังประเทศอื่นๆในอาเซียนอยู่หลายด้าน อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากเวียดนามมีการพัฒนาต่อเนื่องในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นปัจจุบัน ภาครัฐมีการออกแบบนโยบายที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนได้อย่างเหมาะสม การสร้างระบบสินเชื่อของสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งและเข้าถึงลูกค้าได้หลายระดับ รวมถึงการพัฒนาความน่าเชื่อถือของรถยนต์สัญชาติเวียดนามเอง ก็อาจทำให้ภาพของอุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านี้... อ่านต่อ
7 สิงหาคม 2562
ทางการจีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจีนเพิ่มเติมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าทางการจีนพร้อมที่จะตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยการลดค่าเงิน ซึ่งทางการจีนอาจใช้มาตรการลดค่าเงินเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ และเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการจีนน่าจะไม่ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่ามากจนเกินไป เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของจีนและบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งนี้ การที่สหรัฐฯ จัดให้จีนเป็นประเทศที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายบิดเบือนค่าเงิน (Currency Manipulator) เปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับจีนได้อีกเพิ่มเติม ซึ่งหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายคงหยิบมาตรการด้านอื่นออกมาใช้ตอบโต้กันอย่างร้อนแรงซึ่งจะยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงและมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในระยะอันใกล้ สำหรับไทย คงยากที่จะหลบเลี่ยงผลกระทบที่ตามมา โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีความผันผวนมากขึ้น ในขณะที่ การส่งออกของไทยที่อ่อนแรงอยู่แล้ว มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยชะงักงันในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยจำเป็นต้องเร่งพิจารณามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายกระตุ้นทางการคลัง เช่น การปรับลดภาษีต่างๆ ที่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถทำได้... อ่านต่อ
15 มีนาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25-2.50% ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 19-20 มีนาคม 2562 ทั้งนี้ สถานการณ์ความเสี่ยงจากภายนอกประเทศที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนการชะลอลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ชะลอลง ส่งผลให้เฟดจะส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งหมายถึงการทิ้งจังหวะเวลายาวขึ้นในการคงอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็นความชัดเจนของข้อมูลภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ... อ่านต่อ
19 กรกฎาคม 2561
นับจากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนได้ปรับอ่อนค่าลงกว่า 3.5% และทำสถิติใหม่ระดับ 6.73 หยวนต่อดอลลาร์ฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ ปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงค่อนข้างรวดเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความเสี่ยงด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งนี้ หากทางการจีนมีการส่งสัญญาณดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม หรือ โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลง อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินหยวนในระยะข้างหน้า มีโอกาสอ่อนค่าลง สำหรับผลกระทบต่อไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวน คงเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตาม ผ่านความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ หากพิจาณาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนับจากต้นปีที่ผ่านมา พบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีความสัมพันธ์กับค่าเงินหยวนค่อนข้างมาก โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.94 ดังนั้น แนวโน้มของทิศทางค่าเงินบาทอาจจะปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินหยวน ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามในระยะต่อไป คงได้แก่ พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยหากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้ารุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้ค่าเงินหยวนมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่ามากขึ้น รวมทั้ง อาจส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย ... อ่านต่อ
6 มีนาคม 2560
การส่งออกของไทยไปเวียดนามเติบโตอย่างเห็นได้ชัดโดยในปี 2559 ขยายตัวกว่าร้อยละ 5.9 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ส่งผลให้เวียดนามเป็นตลาดส่งออ... อ่านต่อ
20 มีนาคม 2558
... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2553
20 เมษายน 2548