24 เมษายน 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
21 กุมภาพันธ์ 2567
30 มกราคม 2567
11 เมษายน 2566
ธุรกิจแบงก์ไทยไตรมาส 1/2566...แม้รายได้หลักขยายตัวได้ แต่ยังต้องระวังปัญหาหนี้เสีย ... อ่านต่อ
21 ธันวาคม 2565
หลังจากที่แบงก์ไทยดำเนินธุรกิจผ่านปี 2565 โดยผ่านคลื่นลมของความท้าทายมาหลากหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหนี้สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 การปรับเกณฑ์ต่างๆ ของทางการจากที่เน้นมาตรการแบบปูพรมและช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ มาเป็นมาตรการเฉพาะจุด และทยอยปล่อยให้มาตรการช่วยเหลือสถาบันการเงินหมดอายุลง รวมถึงการปรับดอกเบี้ยขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นนั้น ผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ก็ทยอยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ทำให้สำหรับทั้งปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย (แบงก์ไทย) จะมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองและภาษี) ที่เติบโตจากปีก่อนประมาณ 12.4% สอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อ ซึ่งหากผนวกกับค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่ลดลงจากปีก่อน ที่มีการตั้งสำรองฯ เชิงรุกแล้ว คาดว่าระบบแบงก์ไทยจะมีกำไรสุทธิประมาณ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 34%... อ่านต่อ
26 กรกฎาคม 2565
9 ตุลาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติยังคงกดดันความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธ.พ. ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้นจากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 จากภาพดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบ ธ.พ. ไทยในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งมีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่ อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธ.พ.หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มีนโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา... อ่านต่อ
24 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวมรวมข้อมูลผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ. 10 แห่ง) ในไตรมาส 1/2562 โดยพบว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวม 5.51 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการบันทึกรายได้และกำไรพิเศษจากเงินลงทุนที่เกิดขึ้นระหว่างไตรมาส ประกอบกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ก็มีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี หากไม่นับรวมรายได้และกำไรจากเงินลงทุนซึ่งเป็นรายการพิเศษดังกล่าว จะพบว่า ยังมีหลายประเด็นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่รออยู่ในช่วงไตรมาสที่เหลือของปี อาทิ การหารายได้ค่าธรรมเนียมจากส่วนอื่นๆ มาทดแทนรายได้ที่หายไปจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล การประคองอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อ และการดูแลปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในภาพรวมยังเผชิญโจทย์ท้าทายในการฟื้นตัวด้วยเช่นเดียวกัน ... อ่านต่อ
29 มกราคม 2562
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.18 แสนล้านบาท (+1.03% MoM) ส่งผลให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2561 ขยายตัว 5.17% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 โดยมียอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ 11.63 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อเดือนธ.ค. 2561 เร่งตัวขึ้นในทุกประเภท นำโดย สินเชื่อรายย่อย ขณะที่ ยอดคงค้างเงินรับฝากเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.36 แสนล้านบาท (+1.09% MoM) มาที่ 12.58 ล้านล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับยอดคงค้างเงินฝาก ณ สิ้นปี 2560 ภาพรวมเงินฝากในปี 2561 เติบโตขึ้น 3.96% นำโดย เงินฝากออมทรัพย์ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อในปี 2562 มีโอกาสชะลอลงมาที่ 5.0% โดยคาดหวังการขยายตัวของทิศทางการลงทุนภายในประเทศจะเป็นแรงหนุนต่อเนื่องให้สินเชื่อธุรกิจ ขณะที่ สินเชื่อรายย่อยอาจเติบโตชะลอลง เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน และแรงหนุนจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะน้อยลงกว่าปี 2561 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อยบางประเภท อาทิ สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (clean loan) และสินเชื่อที่มีหลักประกันที่ปลอดภาระ อาจประคองทิศทางการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการทั่วไปภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ... อ่านต่อ
24 ธันวาคม 2561
ปี 2561 นับเป็นอีกปีที่สถานการณ์ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีหลายประเด็นให้ติดตามตลอดทั้งปี เพราะแม้จะมีความท้าทายสำคัญจากผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมที่หดตัวลง หลังการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนผ่านช่องทางดิจิทัล แต่ก็มีภาพด้านบวกเข้ามาช่วยชดเชยจากการเติบโตของสินเชื่อที่มีโอกาสจะจบปี 2561 ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ 6.0% โดยมีแรงหนุนสำคัญจากการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อรายย่อยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ไตรมาส 3/2561 ว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 7.7% YoY ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวที่ชะลอลง และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จะปรากฏภาพกำไรสุทธิที่ลดลง 9.1% QoQ โดยทิศทางดังกล่าว สะท้อนผลกระทบจากการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินฯ ที่ชัดเจนขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน มีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองหนี้ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์เอ็นพีแอลที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องเน้นกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่กับการผลักดันรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ดอกเบี้ย (ตามแรงส่งของสินเชื่อที่ยังขยายตัวดี) และรายได้ค่าธรรมเนียมประเภทอื่นๆ เพื่อประคองความสามารถในการทำกำไรเฉพาะหน้า ขณะที่ หนึ่งในประเด็นติดตามสำคัญ คือ แนวทางดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ของ ธปท.และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาจมีผลต่อทิศทางตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ตลอดจนภาพรวมสินเชื่อในช่วงเดือนที่เหลือได้ ... อ่านต่อ
23 มีนาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่สองของปี 2561 ในวันที่ 28 มี.ค. 2561 นี้ เพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความเสี่ยงจากนอกประเทศโดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอันอาจกลายเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงกรอบล่างของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่ มองไปข้างหน้า คณะกรรมการนโยบายการเงินไทย คงจะส่งสัญญาณในการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกระยะ เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังคงอาศัยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะเป็นการช่วยผ่อนคลายแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม จากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ที่ปรับแคบลง ทำให้แรงจูงใจในการดึงดูดเงินทุนต่างต่างชาติมีน้อยลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเงินทุนไหลออกอย่างฉลับพลันของไทยจำกัด เนื่องจากประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของอยู่ในระดับสูง จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี ดังนั้นโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม หากภาพรวมของการขยายตัวของเศรษฐกิจปรับดีขึ้นเข้าใกล้ระดับศักยภาพและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีแนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนค่าลง ก็จะเปิดโอกาสให้คณะกรรมการนโยบายการเงินอาจจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2561 เป็นอย่างเร็ว ... อ่านต่อ
28 กุมภาพันธ์ 2548