Display mode (Doesn't show in master page preview)

18 มกราคม 2551

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยปีหนู: จับตาปัจจัยลบกระทบการฟื้นตัวของ (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2027)

คะแนนเฉลี่ย

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินทิศทางการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ในปี 2551 อาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0-5.8 จากที่ชะลอตัวในปี 2550 โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโตประมาณร้อยละ 4.0-5.0 ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า รัฐบาลผสมที่เข้ามาบริหารประเทศจะมีการผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ส่งผลให้ภาคเอกชนเริ่มเดินหน้าโครงการลงทุน แต่เศรษฐกิจยังอาจเผชิญปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง และราคาน้ำมันที่อาจยังคงยืนอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงขึ้นสำหรับจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2551 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะมีประมาณ 63,400-64,300 หน่วย มีอัตราการเติบโตอยู่ในระหว่าง หดตัวลงร้อยละ 3.9 ถึง ร้อยละ 2.6 จากจำนวน 66,000 หน่วย ในปี 2550 โดยเป็นการหดตัวลงของที่อยู่อาศัยประเภทโครงการบ้านจัดสรรและที่อยู่อาศัยปลูกสร้างเอง โดยสาเหตุที่คาดว่าที่อยู่อาศัยจัดสรรจะยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากยังมีโครงการที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จที่รอขายอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้การเปิดโครงการใหม่น่าจะชะลอลงในปีนี้

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 แม้คาดว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศที่คาดว่าน่าจะใช้นโยบายกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ อาทิ การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การการผลักดันภาคการผลิต และการจ้างงาน ซึ่งน่าจะทำให้ภาคเอกชน มีความมั่นใจต่อทิศทางนโยบายและมีผลต่อเนื่องไปสู่การกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนตามมาด้วย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นน่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเช่นกัน

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายประการ ยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทิศทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเนื่องทำให้การเพิ่มขึ้นของรายได้ของผู้บริโภคเป็นไปในทิศทางที่ชะลอลงด้วย ทั้งนี้เศรษฐกิจของประเทศยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง อาทิ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ภาวะเงินเฟ้อที่จะมีผลต่อภาวะค่าครองชีพและยังจะเป็นตัวแปรที่อาจกดดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น และการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก เป็นต้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง