30 พฤษภาคม 2566
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
... อ่านต่อ
FileSize KB
13 มีนาคม 2566
ในปี 2566 คาดการซื้อขายที่อยู่อาศัยยังทรงถึงหดตัว จากความไม่แน่นอนทิศทางเศรษฐกิจ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม และหนี้ครัวเรือนสูง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแผนการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค... อ่านต่อ
2 พฤศจิกายน 2565
ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 ปัจจัยหนุนเริ่มเบาบาง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ออายุมาตรการผ่อนคลาย LTV (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565) โดยตลาดต้องติดตามว่าทางการจะต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมในการซื้อที่อยู่อาศัยหรือไม่ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง กำลังซื้อยังเปราะบาง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น การแข่งขันในธุรกิจที่สูงและจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมสูง ล้วนยังเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมการซื้อและการลงทุนที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ในปี 2566 ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา) น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.75-1.82 แสนหน่วย หรือหดตัว 2.8% ถึงขยายตัว 1.1% เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัว 7.5% ในปี 2565... อ่านต่อ
30 ธันวาคม 2564
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2565 ยังเป็นปีแห่งการประคับประคองธุรกิจ แม้ตลาดที่อยู่อาศัยจะมีปัจจัยหนุนจากการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและค่าธรรมเนียมการจดจำนองที่อยู่อาศัยในอัตราจัดเก็บที่ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 65 ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกของตลาดที่อยู่อาศัย หลังจากที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายมาตรการ LTV ไปเมื่อเดือน ต.ค. 64 ซึ่งน่าจะทำให้กิจกรรมการซื้อขายปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2564 ... อ่านต่อ
27 มกราคม 2564
การต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากเดิม 2.0% เป็น 0.01% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ และการลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยจากเดิม 1.0% เป็น 0.01% ของมูลค่าจดจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่ามาตรการดังกล่าวจะเข้ามาช่วยแบ่งบาภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคและยังช่วยลดภาระต้นทุนการทำการตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่มีจำนวนหน่วยเหลือขายสะสมในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทสูง อย่างไรก็ดี สภาพแวดล้อมทางทางธุรกิจที่ยังมีความท้าทายสูง โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งใหม่ของโควิด-19 ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับคาดการณ์การยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2564 ลงเหลือ 1.82-1.85 แสนหน่วย หรือหดตัวร้อยละ 3.1 ถึง 4.7 (-4.7% ถึง -3.1%) โดยเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพ... อ่านต่อ
20 พฤศจิกายน 2563
ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2564 น่าจะผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่แนวโน้มข้างหน้ายังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กำลังซื้อทั้งชาวไทยและต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ แรงกดดันจากจำนวนที่อยู่อาศัยสะสมรอขายที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์ที่มีจำนวนสะสมเร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการยังระมัดระวังในการเปิดโครงการเพิ่มเติม ด้วยปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2564 การเปิดโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7.2-7.5 หมื่นหน่วย หรือหดตัวประมาณร้อยละ 1.4 ถึงขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.7 ขณะที่ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล คาดว่าทรงตัวอยู่ระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยคาดว่าจะมีจำนวน 1.85 – 1.89 แสนหน่วย หรือหดตัวประมาณร้อยละ 1.1 ถึงขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ดียังคงต้องติดตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่อาจเข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อธุรกิจที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า... อ่านต่อ
18 มิถุนายน 2563
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 เครื่องชี้กิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ปรับลดตามสภาพปัจจัยแวดล้อม โดยเฉพาะการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก รวมถึงแผนกิจกรรมการตลาดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยต้องเลื่อนออกไป ซึ่งเดิมการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในประเทศก็อยู่ภายใต้แรงกดดันอยู่แล้วจากกำลังซื้อที่เปราะบาง ประเด็นมาตรการและกฎระเบียบด้านภาษี ทั้งมาตรการ LTV และกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะที่ในช่วงที่เหลือของปี 2563 ... อ่านต่อ
27 พฤศจิกายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” ซึ่งภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ 50,000 บาทต่อราย สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือนหรือไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี จำนวน 100,000 ราย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยโครงการฯ นี้ จะช่วยหนุนด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยในการที่จะทำแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเงินไปผ่อนชำระที่อยู่อาศัยหรือใช้จ่ายเพื่อการอื่นได้... อ่านต่อ
22 ตุลาคม 2562
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ได้แก่ 1. มาตรการลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัย โดยได้ปรับเพดานราคาที่อยู่อาศัยจากเดิม 1 ล้านบาท เป็น 3 ล้านบาท 2.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท สำหรับซื้อ(ทั้งมือหนึ่งและมือสอง) และซ่อมแซมที่อยู่อาศัยผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ... อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2562
ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังมีความท้าทายรอบด้านรออยู่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการน่าจะมีความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่รวมถึงปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดมากยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยหันมาเปิดโครงการในระดับราคาที่ใกล้กับความสามารถซื้อของกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (Mass Customer) โดยทำเลที่ผู้ประกอบการน่าจะยังให้ความสำคัญ ได้แก่ บริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่กำลังสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพรอบนอก อย่างไรก็ดีจากการที่ Segment ระดับกลางนี้มีความหนาแน่นของการลงทุนของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงมีสัดส่วนจำนวนค้างขายที่สูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการเองก็อาจพบกับความท้าทายในเวลาเดียวกัน... อ่านต่อ
9 พฤษภาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ นับเป็นข่าวดีท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยมาตรการดังกล่าวน่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีภาระรายจ่ายในการทำธุรกรรมที่ลดลงบางส่วน และจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง เช่นเดียวกับในส่วนของมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการซื้อที่อยู่อาศัย ที่ประชาชนผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิประโยชน์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากมาตรการฯ ภาครัฐนี้ จะเป็นกลุ่มผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินที่กำลังตัดสินใจจะซื้อที่อยู่อาศัย และมีแผนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาดังกล่าว ... อ่านต่อ
15 กุมภาพันธ์ 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า มาตรการ LTV ที่เป็นปัจจัยเฉพาะในปี 2562 คาดว่าจะส่งผลต่อความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของคนกรุงฯ ในช่วง 1-2 ปีนี้ ราวร้อยละ 18-22 (ค่ากลางที่ร้อยละ 20) โดยผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยคงจะต้องสำรองเงินเพิ่มขึ้นที่ราว 11-22 เท่าของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย เมื่อเทียบกับก่อนมาตรการ LTV ใช้บังคับที่ต้องสำรองเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยราว 5-11 เท่าของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ จากภาพกลุ่มผู้ซื้อในประเทศที่มีปัจจัยให้ต้องคำนึงถึงมากขึ้น เมื่อประกอบกับบรรยากาศตลาดที่อยู่อาศัยที่มีความระมัดระวังมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดการณ์ว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในปี 2562 อาจอยู่ที่จำนวน 169,300–177,000 หน่วย หรือหดตัวประมาณร้อยละ 8.5-12.5 ส่วนหนึ่งจากผลของฐานที่สูงในปี 2561... อ่านต่อ
24 มกราคม 2562
ปี 2562 นี้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพและปริมณฑลต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายอย่างมากในการที่จะสร้างยอดขาย ในภาวะเช่นนี้ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและมีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 1-2 ปี ข้างหน้านี้ จากผลสำรวจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่ม Gen-Y ที่เป็น Potential Demand ในกรุงเทพและปริมณฑลในระหว่างปี 2562-2563 มีสูงถึง 42,000 - 50,000 หน่วยต่อปี อย่างไรก็ตามจำนวนหน่วยที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อและปิดการขายได้จริงยังคงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและคุณสมบัติต่างๆของผู้กู้ ซึ่งทำให้ยังคงต้องติดตามว่ายอดขายที่จะเกิดขึ้นจริงในกลุ่ม Gen-Y นี้จะออกมาเท่าใด... อ่านต่อ
19 พฤศจิกายน 2561
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ... ซึ่งร่างกฎหมายจะมีผลบังคับใช้วันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และการจัดเก็บภาษีจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ ทางการมุ่งหวังสร้างผลดีต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผลจากการเปลี่ยนการคำนวณภาษีจากฐานรายได้มาเป็นฐานทรัพย์สิน อาจจะสร้างความท้าทายโดยเฉพาะต่อผู้ครอบครองทรัพย์สินมากแต่มีรายได้น้อยที่อาจจะมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเป็นแรงกดดันให้ผู้ครอบครองทรัพย์สินแต่มีศักยภาพจำกัดในการพัฒนา ต้องขายทรัพย์สินในภาวะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เผชิญหลากประเด็นท้าทาย ทั้งกำลังซื้อครัวเรือน ทิศทางอัตราดอกเบี้ย ผลจากมาตรการ LTV เป็นต้น ... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2561
ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ ไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ส่งผลให้ยังมีการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจากภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทั่วไป ที่มีฟังก์ชั่นที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นเซ็กเมนต์ที่มีตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการจะมุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มครอบครัวที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุแล้ว ยังสามารถขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยทั่วไป ที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคตได้อีกด้วย ในขณะที่ การพัฒนาโครงการ Retirement Community ก็น่าจะยังคงขยายตัว โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า แผนการลงทุนพัฒนาโครงการ Retirement Community ขนาดใหญ่ ในทำเลศักยภาพ น่าจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนโครงการ Retirement Community ระหว่างปี 2561-2563 คิดเป็น 6,000 ล้านบาท และหนุนให้มูลค่าการลงทุนโครงการ Retirement Community สะสมในประเทศไทยสามารถแตะระดับ 27,000 ล้านบาทได้ในปี 2563... อ่านต่อ
28 พฤศจิกายน 2560
แม้เศรษฐกิจในปี 2561 น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชื่อมั่น และเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ แต่ทิศทางการแข่งขันใ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯ เพื่อสะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใน 1-2 ปีนี้ จากกลุ่มตัวอย่างที่... อ่านต่อ
13 มกราคม 2560
จากภาวะชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2559 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่นำโครงการที่อยู่อาศัยคงค้างกลับมาทำการตลาดให... อ่านต่อ
4 พฤศจิกายน 2559
29 กรกฎาคม 2559
21 มกราคม 2559
14 ตุลาคม 2558
1 เมษายน 2558
11 กันยายน 2557
12 กุมภาพันธ์ 2557
28 กันยายน 2555
3 พฤษภาคม 2554
2 มีนาคม 2554
11 มีนาคม 2553
25 กุมภาพันธ์ 2553
25 ธันวาคม 2551
18 กรกฎาคม 2551
17 มีนาคม 2551
18 มกราคม 2551
4 มกราคม 2551
8 ตุลาคม 2550
10 พฤษภาคม 2550
23 พฤศจิกายน 2549
30 ตุลาคม 2549
25 เมษายน 2549
12 กันยายน 2548
26 พฤษภาคม 2548