Display mode (Doesn't show in master page preview)

1 เมษายน 2558

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯและปริมณฑลปี 2558: ผู้ประกอบการพร้อมปรับกลยุทธ์...รอจังหวะตลาดฟื้น (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2610)

คะแนนเฉลี่ย
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาสแรกปี 2558 ที่ผ่านมา แม้ตลาดจะมีแรงหนุนใหม่จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมลง แต่เนื่องจากตลาดยังมีความเสี่ยงหลายประการ อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับที่ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้บริโภคยังชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่กลับมาฟื้นสู่ระดับศักยภาพจากภาระรายจ่ายในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวขึ้นตามกลไกตลาด ขณะที่รายได้ของผู้บริโภคไม่ได้ปรับขึ้นตาม เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้สะท้อนมายังเครื่องชี้วัดกิจกรรมการลงทุนและการซื้อขายยังอ่อนแรงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากสภาพแวดล้อมดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2558 การลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีมูลค่าประมาณ 3.19 -3.42 แสนล้านบาท หดตัวประมาณร้อยละ 7.0 ถึงหดตัวประมาณร้อยละ 0.5 ชะลอตัวต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 11.0 ในปี 2557

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการรออยู่ข้างหน้าก็ตาม แต่ผู้ประกอบการหลายรายยังคงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ การเปิดโครงการใหม่จึงยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องทั้งจากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมานาน และผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการในปีนี้ คงจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ การลงทุนโครงการใหม่ยังเป็นไปในลักษณะของความระมัดระวังมากขึ้น ผู้ประกอบการปรับลดความเสี่ยงหันมาเร่งทำการตลาดกระตุ้นยอดขายโครงการที่เหลือขาย ขณะที่การวางกลยุทธ์การตลาดจึงอาจต้องมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจมีข้อจำกัดและส่งผลต่อผู้ประกอบการในระดับที่แตกต่างกันไป โดยยอดขายโครงการเปิดตัวใหม่ในหลายๆ โครงการยังชะลอตัวและใช้ระยะเวลาในการปิดโครงการที่นานขึ้นกว่าที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างระดมแคมเปญการตลาดอย่างหนัก เพื่อกระตุ้นตลาดและจูงใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนอกจากนี้การปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อหาความแตกต่างจากคู่แข่งและปรับผลิตภัณฑ์เจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่ม หรือการทำตลาดระดับบนอันเป็นเป้าหมายสำคัญท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่บางโครงการนอกเหนือจะจับกลุ่มลูกค้าในประเทศแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการทำตลาด

เครื่องชี้วัดภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ปี 2557

ปี 2558F

1. จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่

(% y-o-y)

114,094

(-13.3)

108,500 – 112,500

(-4.9) – (-1.4)

2. จำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์

(% y-o-y)

62,839

(-12.4)

58,200-60,400

(-7.4) – (-3.9)

3. จำนวนโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย

(% y-o-y)

170,135

(-6.5)

159,000-165,000

(-6.5) – (-3.0)

4. จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน*

(% y-o-y)

131,374

(-0.7)

129,500-132,500

(-1.4) – 0.9

5. จำนวนอุปทานที่อยู่อาศัยคงค้างเหลือขาย**

(% y-o-y)

167,382

16.6

158,500-169,500

(-5.3) – 1.3

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์, AREA, และคาดการณ์โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

หมายเหตุ:

* จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนรวมที่อยู่อาศัยประเภทบ้านสร้างเอง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.0 ของจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน

** จำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างเหลือขาย ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ และทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2558

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง