Display mode (Doesn't show in master page preview)

14 พฤษภาคม 2551

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์: ปัจจัยท้าทายในปี 2551 (กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2070)

คะแนนเฉลี่ย

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวมในปี 2551 แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนมาจากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งการแข่งขันขยายฐานสินเชื่อที่อยู่อาศัยระหว่างสถาบันการเงินที่รุนแรงในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ ผู้ประกอบการยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ

- ราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ทั้งนี้การที่ราคาน้ำมันยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในด้านต้นทุนการก่อสร้าง ทำให้คาดว่าราคาวัสดุก่อสร้างโดยเฉลี่ยน่าจะยังมีระดับที่สูงขึ้นในระยะเวลาที่เหลือของปี ซึ่งราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันต้นทุนที่สำคัญที่อาจจะส่งผลให้ราคาบ้านสร้างใหม่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะปรากฏชัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี นอกจากราคาวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในระยะข้างหน้าแล้ว ผู้ประกอบการยังเผชิญกับราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่ดินในทำเลที่มีโครงการรถไฟฟ้าตัดผ่าน ขณะเดียวกันในด้านต้นทุนแรงงานก็มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

- ปัจจัยด้านการเมืองยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคยังคงติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย

- การแข่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงมีความรุนแรง แม้ว่าผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะมีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ขณะนี้ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในขณะนี้ อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรการทางภาษีหรือทิศทางอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ทำให้การทำยอดขายเป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงน่าจะยังคงต้องดำเนินกลยุทธ์อัดฉีดแคมเปญกระตุ้นตลาดมากขึ้น และมีช่องว่างให้ปรับราคาบ้านขึ้นได้อย่างจำกัด ทำให้ผู้ประกอบการอาจต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไว้ด้วยส่วนหนึ่ง

- การเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ พ.ร.บ. การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ร.บ. อาคารชุด (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายผังเมืองทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตาม ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดอาจจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อภาพพจน์ของบริษัท และความไว้วางใจของผู้บริโภคที่มีต่อบริษัทลดลงด้วย

- สถาบันการเงินต่างมีมาตรการระมัดระวังมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อ โดยความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อดังกล่าวเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินต่างต้องเพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพสินเชื่อในระบบของตน

ในสถานการณ์ปัญหาที่รัดตัวเช่นนี้ แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการอาจใช้กลยุทธ์การลดต้นทุน ผู้ผลิตอาจพยายามรักษาอัตรากำไรด้วยการปรับลดรายการข้อเสนอเพิ่มเติมบางส่วนออกไป หรือการลดขนาดห้องชุด หรือขนาดของตัวบ้านลง แต่ยังคงรักษาคุณภาพมาตรฐานและระดับราคาไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากเกินไป เนื่องจากการแข่งขันยังมีอยู่สูง การปรับการบริหารระบบการก่อสร้าง เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างให้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการอาจพลิกวิกฤติต้นทุนเป็นโอกาสในการเสนอจุดขายแก่ลูกค้าในการซื้อบ้านต้นทุนเดิม (ราคาเดิม) โดยเฉพาะแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยที่อาจจะมีการปรับขึ้นในระยะข้างหน้า เนื่องมาจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจทำให้ผู้บริโภคที่มีความพร้อมตัดสินใจในการซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง