10 เมษายน 2567
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
... อ่านต่อ
FileSize KB
1 กันยายน 2566
2 พฤศจิกายน 2565
ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2566 ปัจจัยหนุนเริ่มเบาบาง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ออายุมาตรการผ่อนคลาย LTV (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565) โดยตลาดต้องติดตามว่าทางการจะต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมในการซื้อที่อยู่อาศัยหรือไม่ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง กำลังซื้อยังเปราะบาง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น การแข่งขันในธุรกิจที่สูงและจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมสูง ล้วนยังเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมการซื้อและการลงทุนที่อยู่อาศัยในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ในปี 2566 ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา) น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.75-1.82 แสนหน่วย หรือหดตัว 2.8% ถึงขยายตัว 1.1% เทียบกับที่คาดว่าจะขยายตัว 7.5% ในปี 2565... อ่านต่อ
27 พฤศจิกายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” ซึ่งภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ 50,000 บาทต่อราย สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือนหรือไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี จำนวน 100,000 ราย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยโครงการฯ นี้ จะช่วยหนุนด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยในการที่จะทำแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเงินไปผ่อนชำระที่อยู่อาศัยหรือใช้จ่ายเพื่อการอื่นได้... อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2562
ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลช่วงที่เหลือของปี 2562 ยังมีความท้าทายรอบด้านรออยู่ ส่งผลให้ผู้ประกอบการน่าจะมีความระมัดระวังในการเปิดโครงการใหม่รวมถึงปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดมากยิ่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยหันมาเปิดโครงการในระดับราคาที่ใกล้กับความสามารถซื้อของกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (Mass Customer) โดยทำเลที่ผู้ประกอบการน่าจะยังให้ความสำคัญ ได้แก่ บริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่กำลังสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพรอบนอก อย่างไรก็ดีจากการที่ Segment ระดับกลางนี้มีความหนาแน่นของการลงทุนของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ รวมถึงมีสัดส่วนจำนวนค้างขายที่สูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการเองก็อาจพบกับความท้าทายในเวลาเดียวกัน... อ่านต่อ
9 พฤษภาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ นับเป็นข่าวดีท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยมาตรการดังกล่าวน่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีภาระรายจ่ายในการทำธุรกรรมที่ลดลงบางส่วน และจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง เช่นเดียวกับในส่วนของมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการซื้อที่อยู่อาศัย ที่ประชาชนผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิประโยชน์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากมาตรการฯ ภาครัฐนี้ จะเป็นกลุ่มผู้ที่มีความพร้อมทางการเงินที่กำลังตัดสินใจจะซื้อที่อยู่อาศัย และมีแผนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาดังกล่าว ... อ่านต่อ
18 เมษายน 2562
ผู้ประกอบการพัฒนาตลาดอาคารชุดในปี 2562 นี้อาจต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากกว่าปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน รวมไปถึงไปถึงปัจจัยเฉพาะตัวของธุรกิจอาคารชุดเอง ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการปรับแผนธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จำนวนอาคารชุดเปิดขายทั้งปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณ 61,000 – 64,000 ยูนิต หรือ หดตัวลงประมาณร้อยละ 12 - 16 จากปี 2561 โดยเป็นการกลับมาชะลอตัวอีกครั้งหลังจากขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 นอกจากนี้ จากผลสำรวจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า อาจยังคงมีความต้องการซื้อที่อาคารชุดเพื่ออยู่อาศัยจริง ขณะที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ... อ่านต่อ
24 มกราคม 2562
ปี 2562 นี้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพและปริมณฑลต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายอย่างมากในการที่จะสร้างยอดขาย ในภาวะเช่นนี้ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการและมีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 1-2 ปี ข้างหน้านี้ จากผลสำรวจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่ม Gen-Y ที่เป็น Potential Demand ในกรุงเทพและปริมณฑลในระหว่างปี 2562-2563 มีสูงถึง 42,000 - 50,000 หน่วยต่อปี อย่างไรก็ตามจำนวนหน่วยที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อและปิดการขายได้จริงยังคงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและคุณสมบัติต่างๆของผู้กู้ ซึ่งทำให้ยังคงต้องติดตามว่ายอดขายที่จะเกิดขึ้นจริงในกลุ่ม Gen-Y นี้จะออกมาเท่าใด... อ่านต่อ
21 มกราคม 2559
14 ตุลาคม 2558
12 กุมภาพันธ์ 2557
28 กันยายน 2555
25 มิถุนายน 2555
25 พฤศจิกายน 2554
21 กันยายน 2554
3 พฤษภาคม 2554
26 มกราคม 2554
12 พฤศจิกายน 2553
11 สิงหาคม 2553
22 มกราคม 2553
28 กันยายน 2552
15 กรกฎาคม 2552
26 มิถุนายน 2552
29 เมษายน 2552
21 มกราคม 2552
10 ตุลาคม 2551
5 สิงหาคม 2551
14 พฤษภาคม 2551
25 เมษายน 2551
17 มีนาคม 2551
31 กรกฎาคม 2550
2 มีนาคม 2550
15 กุมภาพันธ์ 2550
11 ตุลาคม 2549
18 มกราคม 2549