Display mode (Doesn't show in master page preview)

15 กุมภาพันธ์ 2550

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2550: แม้เริ่มมีปัจจัยบวก…ปัจจัยลบยังน่าเป็นห่วง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 1948)

คะแนนเฉลี่ย
แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ในปี 2550 ในด้านทิศทางการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2550 นั้น คาดว่า น่าจะเห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่น่าจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง เช่น ประเด็นทางการเมืองที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ และส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคตของประชาชน ตลาดที่อยู่อาศัยอาจได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ซึ่งปัจจุบันปริมาณที่อยู่อาศัยรอขายในตลาดมีปริมาณค่อนข้างสูง จากผลสำรวจของบริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส พบว่า ณ สิ้นปี 2549 ที่อยู่อาศัยรอขายมีประมาณ 92,462 หน่วย ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยต่อปี ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2550 มีประมาณ 74,500-77,500 หน่วย มีอัตราการเติบโตอยู่ในระหว่าง ลดลงร้อยละ 0.7 ถึง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากจำนวน 75,000 หน่วย ในปี 2549
สำหรับทิศทางการลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ในปี 2550 อาจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5-4.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2549 โดยกรณีขั้นสูงอยู่ภายใต้ข้อสมมติที่โครงการคอนโดมิเนียมยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทิศทางเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น สำหรับกรณีขั้นต่ำ เป็นสถานการณ์ที่ปัจจัยลบทางการเมืองส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคตของประชาชน นอกจากนี้มาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท และการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่อาจสร้างอุปสรรคต่อนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
แนวโน้มที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปี 2550
2548
2549
ประมาณการ *
2550
ประมาณการ *
จำนวน (หน่วย)
จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
71,115
75,000
74,500-77,500
โครงการจัดสรร
35,935
31,000
29,500
โครงการคอนโดมิเนียม
9,939
15,000
15,000-18,000
บ้านปลูกสร้างเอง
25,241
29,000
30,000
อัตราการขยายตัว (%)
จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
8%
5.5%
-0.7% ถึง 3.3%
โครงการจัดสรร
-11.8%
-13.7%
-4.8%
โครงการคอนโดมิเนียม
23.3%
50.9%
0% ถึง 20%
บ้านปลูกสร้างเอง
27.1%
14.9%
3.5%
(รวบรวมจากโครงการจัดสรร, โครงการคอนโดมิเนียม และบ้านปลูกสร้างเอง,*ประมาณการ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และผู้ซื้อควรคำนึงถึง คือ การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หรือการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย โดยขึ้นอยู่กับโครงการสาธารณะของภาครัฐ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ หรือโครงการรถไฟฟ้า ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งจะเห็นได้จากบทเรียนโครงการอสังหาริมทรัพย์รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เริ่มประสบปัญหาการขาย ในกรณีของโครงการรถไฟฟ้า แม้ว่ารัฐบาลจะมีมติเห็นชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง ซึ่งคาดว่าน่าจะส่งผลบวกต่อภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่ในการพิจารณาศักยภาพของทำเล ผู้ประกอบการและผู้ซื้ออาจต้องมองปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย และประเมินถึงความเสี่ยงหากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนโครงการที่เคยกำหนดไว้

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม


อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง