Display mode (Doesn't show in master page preview)

9 เมษายน 2563

พลังงาน

โรงไฟฟ้าชุมชนแบบชีวมวลผสมผสาน…ตอบโจทย์เป้าหมายธุรกิจ พร้อมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3096)

คะแนนเฉลี่ย

​โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนับได้ว่าเป็นนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญอันหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานในพื้นที่ชุมชน และสร้างรายได้เสริมให้เกิดแก่ชุมชน ผ่านการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเพื่อเป็นเชื้อเพลิง โดยโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทชีวมวลน่าจะทำให้เกษตรกรในปัจจุบันได้รับประโยชน์สูงสุดจากการขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้แก่โรงไฟฟ้าชุมชนได้ โดยเฉพาะวัสดุทางการเกษตรที่รวบรวมได้จากแปลงเพาะปลูก ซึ่งยังไม่ได้รับการนำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ขณะที่ภาครัฐก็พยายามสนับสนุนให้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชุมชนใช้ชีวมวลดังกล่าวเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

อย่างไรก็ดี การใช้ชีวมวลจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างเดียวก็อาจทำให้เกิดข้อจำกัดด้านขนาดของโรงไฟฟ้าที่จะลงทุน ส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดแรงจูงใจที่จะลงทุน ดังนั้น การผสมผสานชีวมวลจากทั้งแปลงเพาะปลูกและโรงงานแปรรูป ตลอดจนให้ชุมชนและโรงงานแปรรูปเข้ามามีส่วนร่วมทุน น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจของตนได้ ขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของโรงไฟฟ้าชุมชนที่จะสร้างความมั่งคั่งให้แก่เกษตรกร

โรงไฟฟ้าชุมชนแบบชีวมวลผสมผสานจะส่งผลให้ผู้ประกอบการได้กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น และระยะเวลาคืนทุนมีแนวโน้มลดลง โดยที่โรงไฟฟ้าชุมชนแบบผสมผสานชีวมวล 3 MW จะก่อให้เกิดกำไรราว 14.6 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน 8.2 ปี ในขณะที่โรงไฟฟ้าขนาด 10 MW จะมีกำไรราว 57.1 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน 7 ปี

ดูรายละเอียดฉบับเต็ม