29 มีนาคม 2567
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
23 มกราคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2562 จะอยู่ที่ประมาณ 13,560 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.9 (YoY) โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับเพิ่มทางด้านค่าใช้จ่ายการทำบุญ/ท่องเที่ยวเป็นหลัก ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องเซ่นไหว้ให้ภาพที่ทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน ส่วนเงินแต๊ะเอียมีแนวโน้มปรับลดลงค่อนข้างเด่นชัดกว่ากิจกรรมอื่น สำหรับในปี 2562 นี้มีปัจจัยพิเศษที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว อาทิ การเลือกตั้ง ที่น่าจะกำหนดขึ้นภายในเดือนมีนาคม 2562 นี้ ซึ่งอาจทำให้มีเม็ดเงินที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งลงสู่ภาคธุรกิจ รวมถึงช่วยฟื้นความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนและการลงทุนของภาคธุรกิจในระยะถัดไป และปัจจัยสำคัญคือ มาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% สำหรับการใช้จ่ายในช่วงระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ถือเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยจูงใจให้เกิดเม็ดเงินการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ได้พอสมควร... อ่านต่อ
29 มิถุนายน 2561
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2561 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 77.6% จากระดับ 78.0% ในไตรมาส 4/2560 อย่างไรก็ดี ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2561 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 12.17 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.2% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และเช่าซื้อรถยนต์... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ท่ามกลางภาพรวมของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยที่เติบโตดี แต่มีตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่จำนวนนักท่องเที่ยวหลายประเทศเดินทางมาเที่ยวไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ทิศทางตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคตะวันออกกลางเที่ยวไทยอาจจะยังติดลบ แม้คาดว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจมีการเติบโต แต่ยังมีปัจจัยเฉพาะที่ต้องติดตามอย่างความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม GCC สถานการณ์ค่าเงินเรียล (Rial) ของอิหร่านที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ... อ่านต่อ
11 เมษายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ... อ่านต่อ
12 มกราคม 2561
ครัวเรือนไทยมีมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพในอีก 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการบริโภคของภาคเอกชนในช่วงไตรมาสที่ 1/2561 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันทางด้านค่าใช้จ่ายและภาระหนี้ที่ลดลง ประกอบกับครัวเรือนมีความคาดหวังถึงรายได้ที่ดีขึ้นในปี 2561 ... อ่านต่อ
4 เมษายน 2560
10 กุมภาพันธ์ 2560
9 มิถุนายน 2558
6 กุมภาพันธ์ 2558
8 มกราคม 2558
3 กรกฎาคม 2557
1 กุมภาพันธ์ 2555
21 พฤศจิกายน 2554
17 มิถุนายน 2552
17 เมษายน 2552
20 มีนาคม 2551