3 เมษายน 2563
เศรษฐกิจต่างประเทศ
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ทั่วโลกยังคงส่อเค้ารุนแรงและมีแนวโน้มที่จะยังไม่สามารถควบคุมได้ในระยะอันใกล้ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงเชิงลบสูงขึ้น และกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ ดังนั้น รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกจึงต่างออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงเงินมหาศาล ... อ่านต่อ
FileSize KB
10 ตุลาคม 2561
เป็นที่น่าสังเกตว่า ค่าเงินบาทและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว เริ่มมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ “แกว่งตัว” ชัดเจนขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเงินบาทอ่อนค่าไปแตะระดับ 33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา (ซึ่งเป็นวันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยประมาณ 4.63 และ3.26 พันล้านบาท ตามลำดับ) หรือคิดเป็นอัตราการอ่อนค่าถึง 2.6% เพียงไม่กี่วันจากระดับ 32.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นเดือนต.ค. 2561 ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยิลด์) ของไทยระยะ 10 ปี ขยับขึ้นต่อเนื่องไปที่ 2.88% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2559 สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของไทย อาจจะช่วยบรรเทาความผันผวนของค่าเงินบาทลงได้บ้างบางส่วน อย่างไรก็ดี เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยแวดล้อมที่รออยู่ในระยะที่เหลือของปี ทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แม้จะไม่ใช่ปัจจัยใหม่ แต่เมื่อผนวกกับช่วงห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และไทย ก็อาจจะทำให้ทิศทางของเงินบาท "มีความอ่อนไหว" ต่อปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น โดยธนาคารกสิกรไทย ยังคงตัวเลขคาดการณ์ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2561 ที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ (กรอบคาดการณ์ที่ 32.50-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ) ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%จากระดับ 1.75-2.00% เป็น 2.00-2.25% ในวันที่ 25-26 กันยายน 2561 ตลอดจนประกาศเพิ่มระดับการลดขนาดงบดุลไปที่ระดับสูงสุดที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือน ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีพัฒนาการที่แข็งแกร่ง รวมทั้ง ทิศทางของเงินเฟ้อที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด คงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด รวมทั้ง การลดขนาดงบดุลในระดับที่เร่งขึ้น คงเป็นปัจจัยท้าทายต่อประเทศในตลาดเกิดใหม่ ที่อาจจะเผชิญกับความผันผวนของกระแสเงินทุนมากขึ้น สำหรับประเด็นเรื่องสงครามการค้าที่ยกระดับรุนแรงขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ไม่น่าจะปรับเปลี่ยนมุมมองต่อการประเมินภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของเฟดในปีนี้ โดยมองว่ายังมีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ... อ่านต่อ
16 สิงหาคม 2561
ตลาดการเงินทั่วโลก ยังคงเฝ้าจับตาความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตของค่าเงิน Lira ตุรกีอย่างใกล้ชิด เพราะแม้ในขณะนี้ค่าเงิน Lira จะฟื้นตัวขึ้นมาได้บางส่วน (หลังร่วงแตะระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ที่ 7.2362 ต่อดอลลาร์ฯ เมื่อ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา) แต่คงต้องยอมรับว่า ยังมีความเสี่ยงที่เงิน Lira จะเผชิญแรงเทขายอีกหลายระลอก ท่ามกลางข้อจำกัดของเครื่องมือ/ทรัพยากรที่จะใช้ดูแลความผันผวน ขณะที่ ความอ่อนแอของพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตุรกีเอง ก็อาจไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ... อ่านต่อ
15 สิงหาคม 2561
ในปี 2561 เป็นปีที่เศรษฐกิจตุรกีอาจจะเผชิญกับแรงกดดันที่มาจากรอบด้าน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจที่เข้ามารุมเร้า ทั้ง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่เร่งการไหลออกของเงินทุนตลอดจน กดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการอ่อนค่าลงของเงิน Lira ที่ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อทะยานขึ้น ทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าปัจจัยที่กระตุ้นให้ค่าเงิน Lira เผชิญกับวิกฤติรอบใหม่ นั้นมาจากปัจจัยการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐฯที่ตึงเครียดขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐฯ อาจจะดำเนินมาตรการกีดดันการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจตุรกี ... อ่านต่อ
18 พฤษภาคม 2555
... อ่านต่อ
5 กันยายน 2554