16 ธันวาคม 2564
เศรษฐกิจต่างประเทศ
จากการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 14-15 ธ.ค. ที่ผ่านมา เฟดแถลงว่าเฟดจะลดวงเงิน QE ในอัตราที่เร่งขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิม ซึ่งจะส่งผลให้วงเงิน QE ทั้งหมดจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2565 พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปี 2565 ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นอย่างมาก ประกอบกับตลาดแรงงานที่เข้าใกล้อัตราจ้างงานเต็มที่ (full employment) ... อ่านต่อ
FileSize KB
16 มกราคม 2563
ความตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในเฟส 1 (Phase 1) การที่สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าให้จีนบางส่วนเท่านั้น ทว่าสินค้าส่วนใหญ่ของจีนยังต้องเผชิญภาษีในปี 2563 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงแทบไม่ต่างจากปี 2562 ซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใด นอกจากนี้ จีนยังต้องปฏิบัติตามข้อแลกเปลี่ยนในการนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อีก 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงื่อนไขอื่นที่มาพร้อมกันที่ยังต้องติดตามความคืบหน้าของเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะต่อไป... อ่านต่อ
5 กันยายน 2562
สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในแง่ของมูลค่าสินค้าที่เรียกจัดเก็บและระดับความรุนแรงของอัตราภาษีนำเข้า อาจทำให้ผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นมาแตะมูลค่าใกล้เคียง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2562
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพิ่มความตึงเครียดมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศลุกลามไปยัง “ประเด็นค่าเงิน” จากที่ก่อนหน้านี้ การตอบโต้ระหว่างกันมักจะอยู่ในขอบเขตของเรื่องภาษีและการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ล่าสุดระบุว่า “จีนเป็นผู้บิดเบือนค่าเงิน” ซึ่งนับเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้น หลังจากที่ทางการจีนปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าทะลุแนว 7 หยวนต่อดอลลาร์ฯ... อ่านต่อ
1 สิงหาคม 2562
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีตามที่ตลาดคาด ไปที่กรอบ 2.00-2.25% ในการประชุมเมื่อวันที่ 30-31 ก.ค. 2562 อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฎสัญญาณใดๆ จากถ้อยแถลงของประธานเฟด ที่บ่งชี้ถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยรอบต่อไป ซึ่งผลการประชุมเฟดล่าสุดนี้ สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดการเงินทั่วโลกที่รอคอยและคาดหวังว่าจะเห็นท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่านี้จากเฟด ขณะที่ เงินบาทอ่อนค่าลงกลับมาที่ระดับประมาณ 30.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ (ณ 1 ส.ค. 2562) ... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงไม่ได้บทสรุปที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย อีกทั้งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จะเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 25 จากที่ร้อยละ 10 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคมนี้ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาพทางการค้าโลก ซึ่งการขึ้นภาษีครั้งนี้สะท้อนแรงกดดันที่สหรัฐฯ ต้องการเร่งให้จีนเจรจาตามแนวทางที่คาดหมายไว้ เพื่อนำไปสู่บทสรุปที่พึงใจแก่ทั้งสองฝ่ายจนสามารถยุติสงครามการค้านี้ได้ภายในสิ้นปี 2562... อ่านต่อ
3 ธันวาคม 2561
จากการประชุมนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ของอาร์เจนติน่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้ตกลงระงับการเก็บภาษีสินค้านำเข้าของแต่ละฝ่ายเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 90 วัน หลังจากการประชุม เพื่อเปิดทางสู่การเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า โดยทรัมป์ตกลงที่จะเลื่อนการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2562 นี้ออกไปอีก 60 วัน เป็นวันที่ 1 มีนาคม 2562 การตกลงครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะประนีประนอมกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมากที่การเจรจาจะไม่สำเร็จภายใน 90 วัน ดังนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่สหรัฐฯ จะยังคงขึ้นภาษีนำเข้าจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มีนาคม 2562... อ่านต่อ
7 พฤศจิกายน 2561
จากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ที่พรรครีพับลิกันสูญเสียคะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคเดโมแครต ในขณะที่ยังสามารถรักษาคะแนนเสียงข้างมากในวุฒิสภาไว้ได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะมีนัยต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป โดยเฉพาะการผ่านร่างกฎหมายที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะทำได้ยากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผ่านร่าง พรบ. งบประมาณ รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งอาจส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจนมีผลต่อจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในขณะที่นโยบายการค้ากับจีนคงยังดำเนินต่อไปได้ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ และจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกให้ต้องเผชิญความยากลำบากในปี 2562 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ไทยอาจสูญเสียประโยชน์ทางการค้าสุทธิคิดเป็นมูลค่า 3,100-4,500 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2562 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.6-0.9 ของ GDP ไทย ... อ่านต่อ
19 กรกฎาคม 2561
นับจากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนได้ปรับอ่อนค่าลงกว่า 3.5% และทำสถิติใหม่ระดับ 6.73 หยวนต่อดอลลาร์ฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 ทั้งนี้ ปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงค่อนข้างรวดเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลจากความเสี่ยงด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความเสี่ยงมากขึ้นทั้งนี้ หากทางการจีนมีการส่งสัญญาณดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม หรือ โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอลง อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินหยวนในระยะข้างหน้า มีโอกาสอ่อนค่าลง สำหรับผลกระทบต่อไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวน คงเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตาม ผ่านความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศเหล่านี้ ทั้งนี้ หากพิจาณาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนับจากต้นปีที่ผ่านมา พบว่าการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีความสัมพันธ์กับค่าเงินหยวนค่อนข้างมาก โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.94 ดังนั้น แนวโน้มของทิศทางค่าเงินบาทอาจจะปรับอ่อนค่าลงตามค่าเงินหยวน ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามในระยะต่อไป คงได้แก่ พัฒนาการของประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยหากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้ารุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้ค่าเงินหยวนมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่ามากขึ้น รวมทั้ง อาจส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย ... อ่านต่อ
2 มิถุนายน 2553
... อ่านต่อ