19 เมษายน 2567
สถาบันการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
3 ตุลาคม 2565
แม้ยอดคงค้างเงินกู้ยืมของครัวเรือนจะขยับขึ้นสู่ระดับ 14.76 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2/2565 แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงตลอดในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะการชะลอตัวในส่วนของหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้รถ ... อ่านต่อ
25 พฤศจิกายน 2562
สินเชื่อสุทธิในเดือน ต.ค. 2562 ลดลงจากเดือนก่อน 8.77 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางแรงกดดันของสินเชื่อในแทบทุกธนาคาร โดยเฉพาะจากการชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และรัฐบาล อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อย อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อไม่มีหลักประกันอื่นๆ ยังขยายตัวสูงตามปัจจัยฤดูกาล ซึ่งจากภาพดังกล่าวทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ ณ เดือน ต.ค. 2562 ชะลอลงมาที่ 11.702 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 2.40% YoY จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี สอดคล้องกับสัญญาณอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม ... อ่านต่อ
18 กรกฎาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย จะอยู่ที่ประมาณ 5.1-5.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/2562 ลดลงจากกำไรสุทธิที่ 5.259 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 โดยกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 2/2562 อาจมีกรอบการฟื้นตัวที่จำกัด เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ ทั้งการปล่อยสินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ยังคงรอจังหวะการฟื้นตัวที่ชัดเจนของกิจกรรมทาง... อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า บริบทความคุ้มทุนของธุรกิจเอทีเอ็มเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากตู้เอทีเอ็มที่ให้บริการในบางจุดเริ่มถูกแทนที่ด้วยโมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งหากตู้เอทีเอ็มที่เกิดความไม่คุ้มทุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้าอาจกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตให้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากความต้องการใช้เงินสดลดลงอย่างรวดเร็วอาจเป็นปัจจัยที่เร่งให้การประกอบธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตเกิดขึ้นในลักษณะการใช้ตู้เอทีเอ็มร่วมกันระหว่างธนาคาร ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทุก ๆ การลดลง 5% ของจำนวนตู้เอทีเอ็มที่มีทั่วประเทศในปัจจุบัน จะช่วยลดต้นทุนทั้งหมดในการประกอบธุรกิจเอทีเอ็มให้แก่สถาบันการเงินทั้งระบบได้ 5,220 – 5,880 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.03 ต่อจีดีพีโดยประมาณ อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่จะลดลงยังคงขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้เอทีเอ็มร่วมกันในอนาคตตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางการที่จะประกาศใช้ในระยะข้างหน้า และการเจรจาร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ... อ่านต่อ
29 มกราคม 2562
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.18 แสนล้านบาท (+1.03% MoM) ส่งผลให้ภาพรวมสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2561 ขยายตัว 5.17% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2560 โดยมียอดคงค้างสินเชื่อสุทธิ 11.63 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อเดือนธ.ค. 2561 เร่งตัวขึ้นในทุกประเภท นำโดย สินเชื่อรายย่อย ขณะที่ ยอดคงค้างเงินรับฝากเดือน ธ.ค. 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1.36 แสนล้านบาท (+1.09% MoM) มาที่ 12.58 ล้านล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับยอดคงค้างเงินฝาก ณ สิ้นปี 2560 ภาพรวมเงินฝากในปี 2561 เติบโตขึ้น 3.96% นำโดย เงินฝากออมทรัพย์ในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อในปี 2562 มีโอกาสชะลอลงมาที่ 5.0% โดยคาดหวังการขยายตัวของทิศทางการลงทุนภายในประเทศจะเป็นแรงหนุนต่อเนื่องให้สินเชื่อธุรกิจ ขณะที่ สินเชื่อรายย่อยอาจเติบโตชะลอลง เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน และแรงหนุนจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะน้อยลงกว่าปี 2561 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สินเชื่อรายย่อยบางประเภท อาทิ สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (clean loan) และสินเชื่อที่มีหลักประกันที่ปลอดภาระ อาจประคองทิศทางการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการทั่วไปภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ต.ค. 2561 กลับมาเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.73% มาที่ 11.427 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวดีขึ้นของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 2.28 แสนล้านบาท หรือ 1.86% MoM มาที่ 12.504 ล้านล้านบาท จากเงินฝากภาครัฐในเข้ามาพักในบัญชี CASA ที่และเงินฝากเอกชนทั้งบัญชี CASA และเงินฝากประจำ มีผลให้สภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง สำหรับแนวโน้มในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องและจบปีที่ 6.0% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำการขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ด้านเงินฝากอาจจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะเวลาการฝากยาวขึ้นเพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายบางส่วน ... อ่านต่อ
5 ตุลาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทย ไตรมาส 3/2561 ว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 7.7% YoY ซึ่งเป็นทิศทางการขยายตัวที่ชะลอลง และหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จะปรากฏภาพกำไรสุทธิที่ลดลง 9.1% QoQ โดยทิศทางดังกล่าว สะท้อนผลกระทบจากการลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินฯ ที่ชัดเจนขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกัน มีโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งอาจยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองหนี้ฯ เพื่อรองรับสถานการณ์เอ็นพีแอลที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังต้องเน้นกลยุทธ์การบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่กับการผลักดันรายได้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ดอกเบี้ย (ตามแรงส่งของสินเชื่อที่ยังขยายตัวดี) และรายได้ค่าธรรมเนียมประเภทอื่นๆ เพื่อประคองความสามารถในการทำกำไรเฉพาะหน้า ขณะที่ หนึ่งในประเด็นติดตามสำคัญ คือ แนวทางดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์ของ ธปท.และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อาจมีผลต่อทิศทางตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ตลอดจนภาพรวมสินเชื่อในช่วงเดือนที่เหลือได้ ... อ่านต่อ
26 กันยายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน ส.ค. 2561 เพิ่มขึ้น 2.64 หมื่นล้านบาท เป็น 11.34 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.23% จากเดือนก่อน และ 5.85% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้คาดว่า ภาพรวมทั้งปีของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ มีโอกาสขยายตัวสูงกว่ากรอบประมาณการที่คาดไว้ที่ 4.8-5.3% โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากสินเชื่อรายย่อยที่คาดว่าจะโตดีในทุกองค์ประกอบ สินเชื่อเอสเอ็มอีที่เริ่มทยอยฟื้นตัว และการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงท้ายปีที่อาจช่วยกระตุ้นสินเชื่อภาคธุรกิจ ขณะที่เงินฝากเดือน ส.ค. 2561 ปรับตัวลดลงเป็น 12.27 ล้านล้านบาท เนื่องจากธนาคารให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนการเงินให้สอดคล้องกับความสามารถในการหารายได้ ... อ่านต่อ
14 กันยายน 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมครั้งนี้แม้ว่าพัฒนาการของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะสนับสนุนถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดเกิดใหม่ ทำให้ความจำเป็นในการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ยังมีไม่มาก มองไปข้างหน้า จุดสนใจของตลาดคงอยู่ที่จังหวะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ท่ามกลางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดอีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อาจทวีความแรงมากขึ้น ส่งผลต่อความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค แต่จากปัจจัยเสถียรภาพภายนอกประเทศที่ยังแข็งแกร่งของไทย ทำให้ความเสี่ยงที่เงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็วยังจำกัด ประกอบกับ ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า กนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ สำหรับประเด็นผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า คงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ กนง. ยังคงระมัดระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน เพื่อรอติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ... อ่านต่อ
24 สิงหาคม 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน ก.ค. 2561 ทรงตัวจากเดือนก่อนที่ 11.31 ล้านล้านบาท แต่หากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและสิ้นปีก่อน สินเชื่อยังเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 5.92%YoY และ 2.30%YTD โดยสินเชื่อที่ยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งในเดือนนี้ คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ถูกหักลบด้วยการชำระคืนสินเชื่อภาคธุรกิจจำนวนมากในธนาคารขนาดใหญ่และกลาง ประกอบกับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านภาพรวมเงินฝากยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน 2.66 หมื่นล้านบาท หรือ 0.22% MoM เป็น 12.30 ล้านล้านบาท ตามการลดลงของเงินฝากประจำภาคธุรกิจในธนาคารขนาดใหญ่และกลางบางแห่ง ส่งผลให้สภาพคล่องของระบบธนาคารตึงตัวขึ้นเป็น 87.23%... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน มิ.ย. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.06 แสนล้านบาท เป็น 11.31 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.95% MoM สูงที่สุดในรอบครึ่งแรกปีนี้ ทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนไต่ระดับขึ้นเป็น 5.02%YoY และ 2.23%YTD โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากธนาคารขนาดใหญ่ ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังปรับตัวลดลงในบางธนาคาร ... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
สินเชื่อ-เงินฝาก ระบบธนาคารไทยในเดือน เม.ย. 2561 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.78 หมื่นล้านบาท เป็น 11.14 ล้านล้านบาท หรือ 0.61%MoM และ 4.81%YoY ซึ่งเพิ่มขึ้นกระจายเกือบทุกธนาคารจากสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้ว่าแรงส่งสินเชื่อจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.21 แสนล้านบาท หรือ 0.99%MoM และ 6.28%YoY ส่วนใหญ่เกิดจากเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ที่ไหลเข้ามาพักในธนาคารขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภาพรวมสภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ก.พ. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.7 หมื่นล้านบาท เป็น 11.05 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.61% MoM และ 4.36% YoY โดยส่วนใหญ่เพิ่มจากสินเชื่อในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อมีระยะเวลา ส่วนสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนหลักของสินเชื่อเช่าซื้อ โดยปรับตัวดีขึ้นทั้งตลาดรถใหม่ รถมือสอง และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังทยอยฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตยังชะลอตัวลงจากการชำระคืนหนี้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ... อ่านต่อ
14 กุมภาพันธ์ 2561
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในภาพรวม ปิดปี 2560 ด้วยอัตราการเติบโตที่ชะลอลงจาก 7.6% (YoY) ในปี 2559 มาที่ 6.0% ขณะที่ สำหรับในปี 2561 นั้น แม้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงฟื้นตัวขึ้น ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและแรงผลักจากการทำตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ จะยังอยู่ในกรอบจำกัดประมาณ 6.0-7.0% เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน... อ่านต่อ
27 กุมภาพันธ์ 2555