31 มกราคม 2567
เศรษฐกิจไทย
... อ่านต่อ
FileSize KB
10 ตุลาคม 2566
9 พฤษภาคม 2566
3 เมษายน 2566
22 ธันวาคม 2565
ด้วยสถานการณ์การฟื้นตัวด้านรายได้ที่ยังเปราะบางและภาวะค่าครองชีพสูง กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ยังต้องวางแผนการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่กลับมาทำกิจกรรมนอกบ้านและเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ผ่านมาในครึ่งหลังของปี 2565 ก็กลับมามีการจัดงานเฉลิมฉลองตามปกติ สอดคล้องไปกับผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการฉลองเทศกาล โดยอาจจัดสรรค่าใช้จ่ายบางส่วนเพิ่มเติมจากปกติสำหรับทำกิจกรรมในช่วงเทศกาลภายใต้งบประมาณที่จำกัด ... อ่านต่อ
21 กันยายน 2565
ด้วยราคาอาหารเจที่อาจถูกปรับขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย แต่สัดส่วนของคนกรุงเทพฯ ที่เลือกกินเจช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังปรับพฤติกรรมโดยการลดวันที่กินเจลง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เพิ่มสูงเกินไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปริมาณการบริโภคอาหารเจของคนกรุงเทพฯ น่าจะหดตัวราว 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ ราคาอาหารเจอาจปรับขึ้นประมาณ 10% จากปีก่อน ส่งผลให้เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2565 น่าจะอยู่ที่ 3,200 ล้านบาท หรือขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากสภาพตลาดและพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ โจทย์สำคัญของธุรกิจอาหารเจในปีนี้ จึงอยู่บนความท้าทายด้านการบริหารจัดการต้นทุน ควบคู่ไปกับการชูจุดขายด้านราคาที่คุ้มค่า ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่จูงใจให้คนเลือกซื้อหรือใช้บริการ... อ่านต่อ
10 พฤษภาคม 2565
จากสถานการณ์โควิดที่ผ่อนคลาย ทำให้นักเรียนสามารถกลับไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ (On-Site) ซึ่งจะเริ่มทยอยเปิดเรียนในวันที่ 17 พ.ค. 2565 และในช่วงเวลานี้ของทุกปี ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียนจะมีภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา แต่เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ราคาสินค้าหลายประเภทและพลังงานเร่งตัวสูงขึ้น ขณะที่การจ้างงานและรายได้ภาคครัวเรือนยังอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายของผู้ปกครองบางกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยเหล่านี้ ... อ่านต่อ
30 มีนาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า มูลค่าการใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 อยู่ที่ 23,400 ล้านบาท ลดลง 2.5% หดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ผลจากค่าครองชีพและเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเม็ดเงินใช้จ่ายรายกิจกรรมปรับตัวลดลงเกือบทุกประเภทกิจกรรม สอดคล้องกับสัญญาณการใช้จ่ายในภาพรวมที่ผู้บริโภคในทุกกลุ่มรายได้ปรับลดค่าใช้จ่ายลง เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการร้านค้าก็เผชิญต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ต้องทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าบางส่วน ซึ่งนอกจากการส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจในระยะนี้แล้ว ธุรกิจจะต้องเน้นการบริหารต้นทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการแข่งขันที่เข้มข้นในระยะยาว... อ่านต่อ
24 มกราคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดันการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนของคนกรุงเทพฯ ในปี 2565 ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron จะสร้างความกังวลต่อผู้บริโภคอยู่บ้าง แต่ด้วยพฤติกรรมคนไทยเชื้อสายจีนบางกลุ่มที่ยังให้ความสำคัญกับเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้คนกรุงฯ กลุ่มดังกล่าวยังคงวางแผนทำกิจกรรม แต่คงเป็นไปอย่างระมัดระวังและปรับตัวให้สอดรับกับสภาพตลาดและกำลังซื้อ... อ่านต่อ
18 มกราคม 2565
จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ค่าครองชีพที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในหมวดอาหาร ค่าไฟฟ้าและค่าเดินทาง สร้างความกังวลและผลกระทบให้กับคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน จะได้รับผลกระทบที่มากกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ ส่งผลให้มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเลือกใช้จ่ายสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น แฟชั่น รวมถึงการหันไปใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกลง เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ถูกกว่า สินค้ามือสอง หรือสินค้าแบรนด์รอง เป็นต้น นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังคงมองว่าปัญหาค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นอาจจะลากยาวมากกว่า 1 ปี ดังนั้น ในระยะสั้น นอกเหนือจากการออกมาตรการของภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคได้บางส่วน รวมถึงการตรึงราคาสินค้า/ลดราคาสินค้าของภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ในระยะยาว ภาครัฐและเอกชนควรเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขปัญหาอุปทานขาดแคลน (Supply shortage) ตลอดจนการเพิ่มโอกาสการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ภาคธุรกิจจะต้องมีความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนให้มากขึ้น เพื่อชะลอการปรับเพิ่มขึ้นของราคาและสร้างโอกาสการเติบโตในระยะถัดไป... อ่านต่อ
13 ธันวาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เทศกาลปีใหม่ 2565 น่าจะให้ภาพบรรยากาศที่กลับมาคึกคักมากขึ้นกว่าปีก่อน จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการเข้าถึงวัคซีนที่ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐ และการเร่งจัดแคมเปญส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการในช่วงเทศกาล อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ที่อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการใช้จ่ายช่วงปีใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังมีมุมมองที่ระมัดระวังว่าเม็ดเงินการใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี ‘65 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 30,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.0% (YoY) จากฐานที่ต่ำในช่วงปีใหม่ปีที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาสินค้าและค่าครองชีพสูงขึ้นด้วย (กรณีไม่มีการระบาดรุนแรงเพิ่มเติม) ... อ่านต่อ
9 ตุลาคม 2562
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวิธีการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินมาตรการตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. จนถึง 30 พ.ย. 2562 โดยในปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จบางส่วนได้เริ่มออกมาใช้สิทธิ์ตามจังหวัดปลายทางต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 1 โดยผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ... อ่านต่อ
12 มิถุนายน 2561
จากการสำรวจภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพ.ค. 2561 พบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน (KR-ECI) และในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9 และ 46.2 ตามลำดับ จากปัจจัยทางด้านสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศเป็นสำคัญ แต่รายได้และการมีงานทำของครัวเรือนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยผลทางด้านราคาที่ลดลง และหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตร... อ่านต่อ
8 พฤษภาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64 มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่ เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว ยกเว้นค่าเรียนเสริมทักษะ ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และค่าชุดนักเรียน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายลดลง โดยส่วนใหญ่มองหาสินค้าราคาไม่แพง ประกอบกับผู้ผลิตสินค้ายังคงต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการตรึงราคาสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว... อ่านต่อ
4 พฤษภาคม 2561
ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.9 ในเดือนเม.ย. 2561 จากมุมมองของครัวเรือนที่เป็นบวกมากขึ้นต่อประเด็นทางด้านภาระค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะบรรเทาลง หลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ รวมถึงครัวเรือนบางส่วนมีการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานไปบ้างแล้ว ... อ่านต่อ