21 พฤศจิกายน 2565
สถาบันการเงิน
หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตั้งแต่รอบการประชุมเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% จนทำให้ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามในทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม 2565 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มหนาตามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งนี้ จำนวนแคมเปญเงินฝากพิเศษหนาตาขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 โดยส่วนใหญ่เป็นการออกแคมเปญของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นการออกเพื่อชดเชยโครงการ/แคมเปญเงินฝากที่ครบกำหนด หรือเตรียมจะครบกำหนด แต่เมื่อหักปัจจัยดังกล่าวแล้ว ก็ยังพบว่า มีสัญญาณการออกแคมเปญเงินฝากที่เร่งตัวขึ้น ... อ่านต่อ
FileSize KB
27 กรกฎาคม 2565
สัญญาณจากผลการประชุม กนง. เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ไทยคงเข้าใกล้จังหวะการเริ่มปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว และจากแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับสูงทำให้น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้และเพิ่มเติมอีกในช่วงต้นปี 2566 ... อ่านต่อ
19 ตุลาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธ.พ. ไทย) อยู่ที่กรอบ 3.25-3.35 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ 3/2564 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 ที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 5.72 หมื่นล้านบาท... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2563
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้าแพ็กเกจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งจะเน้นการลดภาระทางการเงินสำหรับลูกหนี้รายย่อย (ลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และปรับลดดอกเบี้ยในกรณีแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาว) รวมไปถึงกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลูกหนี้แต่ละรายมีภาระผ่อนต่อเดือนน้อยลง ระยะเวลาผ่อนนานขึ้น และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่สอดคล้องกับกระแสรายได้ของตนเองมากขึ้น... อ่านต่อ
17 ตุลาคม 2562
แม้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3/2562 ที่ทยอยประกาศออกมาจะสะท้อนว่า ระบบธ.พ. ไทยในภาพรวมยังคงรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้จากการบันทึกกำไรจากรายการพิเศษ การปรับลดค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ และการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทิศทางชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน ยังมีผลกดดันกรอบการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลัก โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิซึ่งอาจชะลอตัวตามสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อ และได้รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว... อ่านต่อ
26 กันยายน 2562
สินเชื่อสุทธิของธ.พ. (14 แห่ง) ในเดือน ส.ค. 2562 เติบโตเพียง 3.84% YoY เท่ากับในเดือนก.ค. 2562 ซึ่งยังคงเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 21 เดือน โดยสถานการณ์สินเชื่อยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจที่ยังเผชิญแรงกดดันจากการชำระคืนหนี้ ซึ่งสวนทางกับยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่เติบโตในกรอบจำกัด ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรไทยที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การออกหุ้นกู้ยังเป็นทางเลือกระดมทุนที่มีต้นทุนที่ต่ำสำหรับธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ แม้สินเชื่อรายย่อย จะประคองการขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ชะลอตัวลงจากผลของฐานที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดรถยนต์ น่าจะซึมซับความต้องการของผู้ซื้อไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
25 เมษายน 2562
สินเชื่อสุทธิเดือน มี.ค. 62 ยังขยายตัวได้จากเดือนก่อน แต่ไม่สามารถหนุนภาพรวมสินเชื่อไตรมาสแรกให้กลับเป็นบวกได้ จากปัจจัยหลักที่สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารขนาดใหญ่บางแห่งยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยมีแรงหนุนตลอดไตรมาส จากสินเชื่อหลักทั้งสินเชื่อบ้านตามการเร่งโอนก่อนมาตรการ LTV ใหม่ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ตามยอดขายรถใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนเงินฝาก ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนทุกกลุ่มธนาคาร แต่ยังเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน ตามการบริหารสภาพคล่องของแต่ละธนาคารให้เหมาะสมกับความต้องการเบิกใช้สินเชื่อ... อ่านต่อ
24 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวมรวมข้อมูลผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ. 10 แห่ง) ในไตรมาส 1/2562 โดยพบว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวม 5.51 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/2562 เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการบันทึกรายได้และกำไรพิเศษจากเงินลงทุนที่เกิดขึ้นระหว่างไตรมาส ประกอบกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ก็มีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี หากไม่นับรวมรายได้และกำไรจากเงินลงทุนซึ่งเป็นรายการพิเศษดังกล่าว จะพบว่า ยังมีหลายประเด็นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่รออยู่ในช่วงไตรมาสที่เหลือของปี อาทิ การหารายได้ค่าธรรมเนียมจากส่วนอื่นๆ มาทดแทนรายได้ที่หายไปจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล การประคองอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อ และการดูแลปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในภาพรวมยังเผชิญโจทย์ท้าทายในการฟื้นตัวด้วยเช่นเดียวกัน ... อ่านต่อ
26 มีนาคม 2562
สินเชื่อสุทธิเดือน ก.พ. 62 เร่งตัวขึ้นตามแรงหนุนของสินเชื่อรายย่อยหลัก ทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อรถ ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจและเอสเอ็มอียังเพิ่มขึ้นไม่มาก จากการระดมทุนโดยตรงของภาคธุรกิจเพื่อชำระคืนหนี้ธนาคารและการชะลอตัวของการส่งออกที่มีผลกระทบต่อสินเชื่อเพื่อส่งออกบางประเภท ขณะที่เงินฝากยังปรับตัวสูงขึ้นในบัญชีออมทรัพย์และกระแสรายวันเป็นหลัก สะท้อนการแข่งขันด้านราคาที่ยังไม่เกิดขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการส่งสัญญาณของ ธปท. ที่คลายความเคร่งครัดในการดำเนินนโยบายการเงินลง ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มสภาพคล่องของ ธพ จะยังผ่อนคลายตลอดช่วงครึ่งแรกของปีนี้... อ่านต่อ
26 กุมภาพันธ์ 2562
สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยเดือน ม.ค. 2562 ชะลอตัวลงจากปัจจัยฤดูกาล โดยเฉพาะการชำระคืนหนี้ในฝั่งภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี โดยยอดคงค้างสินเชื่อลดลงจากเดือนก่อน 6 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 0.52% MoM แม้ว่าสินเชื่อรายย่อยยังขยายตัวดีจากแรงส่งของสินเชื่อหลักทั้งสินเชื่อบ้านที่ยังอยู่ในช่วงเร่งโอนรับมอบก่อนมาตรการใหม่มีผล และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ที่บางส่วนเป็นผลจากส่งมอบรถค้างจองช่วงท้ายปี ขณะที่เงินฝากในเดือน ม.ค. 2562 ขยับขึ้นกว่า 7 หมื่นล้านบาท หรือ 0.59% MoM จากเงินฝากภาครัฐและเงินฝากพิเศษบางธนาคาร ทำให้สภาพคล่องผ่อนคลายลง ซึ่งภายใต้เงื่อนไขด้านสภาพคล่องของธนาคาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าจะยังไม่เป็นปัจจัยนำที่ผลักดันให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเงินฝากที่ชัดเจน จนส่งผลต่อการปรับขึ้นโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทั้งระบบ แต่จังหวะเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป คงยังต้องรอการส่งสัญญาณเชิงนโยบายของ ธปท. ควบคู่กับการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงหลังการเลือกตั้ง ... อ่านต่อ
31 มกราคม 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือน เป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ จากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่บ่งชี้ถึงโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ลดทอนลง ส่งผลให้มีแรงเทขายดอลลาร์ฯ ออกมามาก ขณะมุมมองต่อทิศทางของการเคลื่อนไหวของเงินบาท ดังนี้ แนวโน้มค่าเงินบาทนั้น ทิศทางการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ฯ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนให้ค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางปรับตัวแข็งค่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 โดยตลาดยังคงให้น้ำหนักกับเรื่องปัจจัยการเมืองในประเทศสหรัฐฯ ทั้งเรื่องการผ่านร่างงบประมาณฯ เพดานหนี้สาธารณะที่จะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจจะนำมาสู่ภาวะการหยุดทำการของหน่วยงานราชการ (ภาวะชัตดาวน์) มาก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้อ่อนค่าลงในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง ทิศทางค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวนอยู่ เนื่องจากมีตัวแปรทั้งในเรื่องการเมืองสหรัฐฯ และมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ ปัจจัยการเมืองของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ซึ่งจะยังเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้มีความผันผวน อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดี รวมถึงตลาดมีมุมมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น ตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยประกาศออกมา และเฟด กลับมาส่งสัญญาณถึงความจำเป็นในการปรับดอกเบี้ย ต่างจะเป็นปัจจัยที่กลับมาหนุนค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้กลับมาแข็งค่าได้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลให้เงินบาทพลิกทิศทางกลับมาอ่อนตัวลง ... อ่านต่อ
26 พฤศจิกายน 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน ต.ค. 2561 กลับมาเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน 8.2 หมื่นล้านบาท หรือ 0.73% มาที่ 11.427 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวดีขึ้นของสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท และสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 2.28 แสนล้านบาท หรือ 1.86% MoM มาที่ 12.504 ล้านล้านบาท จากเงินฝากภาครัฐในเข้ามาพักในบัญชี CASA ที่และเงินฝากเอกชนทั้งบัญชี CASA และเงินฝากประจำ มีผลให้สภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง สำหรับแนวโน้มในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องและจบปีที่ 6.0% โดยมีสินเชื่อรายย่อยเป็นตัวนำการขับเคลื่อนหลัก ขณะที่ด้านเงินฝากอาจจะเริ่มเห็นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีระยะเวลาการฝากยาวขึ้นเพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายบางส่วน ... อ่านต่อ
6 สิงหาคม 2561
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบที่ห้าของปี 2561 ในวันที่ 8 ส.ค. 2561 นี้เพื่อช่วยให้การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจในประเทศมีการกระจายตัวมากขึ้น ตลอดจน ช่วยส่งเสริมให้พัฒนาการของเงินเฟ้อไทยขยับขึ้นสู่เป้าหมายอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทและการไหลออกของเงินทุนยังไม่น่าจะนำมาสู่ประเด็นความเสี่ยงเชิงเสถียรภาพ มองไปในระยะข้างหน้า สภาพคล่องของตลาดการเงินโลกที่ปรับลดลง ส่งผลให้ทิศทางของต้นทุนการเงินอยู่ในช่วงขาขึ้น ขณะที่สถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อาจเพิ่มความท้าทายในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในอาเซียน... อ่านต่อ
25 กรกฎาคม 2561
ภาพรวมสินเชื่อสุทธิเดือน มิ.ย. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.06 แสนล้านบาท เป็น 11.31 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.95% MoM สูงที่สุดในรอบครึ่งแรกปีนี้ ทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนไต่ระดับขึ้นเป็น 5.02%YoY และ 2.23%YTD โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากธนาคารขนาดใหญ่ ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอียังปรับตัวลดลงในบางธนาคาร ... อ่านต่อ
25 มิถุนายน 2561
สินเชื่อสุทธิเดือน พ.ค. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6.59 หมื่นล้านบาท เป็น 11.20 ล้านล้านบาท หรือ 0.59% MoM แต่ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อนทำให้อัตราเพิ่มเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนยังไต่ระดับขึ้นเป็น 4.99%YoY และ 1.27%YTD โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ค่อนข้างกระจายตัวไปแทบทุกธนาคาร ตามการเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง ขณะที่สินเชื่อรายย่อยได้แรงหนุนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่วนเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย 700 ล้านบาท หรือ 0.01% MoM เป็น 12.36 ล้านล้านบาท จากเงินฝากทุกประเภทของธนาคารขนาดใหญ่ 2 แห่ง แม้ธนาคารขนาดเล็กจะมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษใหม่ 7 ตัวในเดือนนี้ก็ตาม... อ่านต่อ
25 พฤษภาคม 2561
สินเชื่อ-เงินฝาก ระบบธนาคารไทยในเดือน เม.ย. 2561 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.78 หมื่นล้านบาท เป็น 11.14 ล้านล้านบาท หรือ 0.61%MoM และ 4.81%YoY ซึ่งเพิ่มขึ้นกระจายเกือบทุกธนาคารจากสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อรายย่อย ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้ว่าแรงส่งสินเชื่อจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.21 แสนล้านบาท หรือ 0.99%MoM และ 6.28%YoY ส่วนใหญ่เกิดจากเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ที่ไหลเข้ามาพักในธนาคารขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภาพรวมสภาพคล่องของธนาคารผ่อนคลายลง... อ่านต่อ