16 ธันวาคม 2565
บริการ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดของธุรกิจ Food Delivery ในปี 2566 จะมีมูลค่าประมาณ 8.1 – 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.8 ถึงหดตัวร้อยละ 6.5 (จากฐานที่สูงในปี 2565) โดยปัจจัยหลักมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้ตามปกติ และผู้บริโภคมีการปรับพฤติกรรมมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคกลับมานั่งทานอาหารในร้าน และซื้อกลับมาทานด้วยตนเองมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทของธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ปรับลดลง อย่างไรก็ดี มูลค่าตลาดดังกล่าวยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิดอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความคุ้นชินการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นของผู้บริโภคและการทำตลาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร รวมถึงแนวโน้มราคาต่อออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น... อ่านต่อ
FileSize KB
22 มิถุนายน 2565
ธุรกิจ Food Delivery เผชิญโจทย์ยากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย ความจำเป็นในการสั่งอาหารมาส่งที่พักลดลง ราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น … ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก หรือไรเดอร์ทำให้จำเป็นต้องหาวิธีการรับมือกับรายได้สุทธิที่ลดลง โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงานรับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า ขณะที่ในระยะข้างหน้า การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น คงจะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของการจัดส่งอาหาร ทั้ง แพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ร้านอาหาร และไรเดอร์เอง ทั้งนี้ ท่ามกลางโจทย์ธุรกิจที่มีความซับซ้อน การแข่งขันที่รุนแรง และต้นทุนธุรกิจทุกด้านปรับตัวเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธุรกิจจัดส่งอาหารน่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 – 5.0 หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8.0 หมื่นล้านบาท ชะลอลงจากที่เติบโตร้อยละ 46.4 ในปี 2564... อ่านต่อ
14 กันยายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่าโควิด-19 จะเป็นตัวเร่งให้มูลค่าตลาด B2C E-commerce มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าธุรกิจค้าปลีกในภาพรวม แต่สัญญาณดังกล่าวส่งผลต่อภาพการแข่งขันที่ยากและรุนแรงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เล่น ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง และการเติบโตของ E-commerce อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการปรับช่องทางการซื้อขายสินค้าจากเดิมที่ซื้อผ่านช่องทางหน้าร้าน (Physical store) มาเป็นการซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัว จึงเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวในแต่ละช่องทางการขายให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งหากรายได้ที่เข้ามาไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ น่าจะเผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ... อ่านต่อ
4 สิงหาคม 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของธุรกิจ E-commerce โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้บริโภคต่างมีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตาม... อ่านต่อ
8 มิถุนายน 2564
สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังพบคลัสเตอร์การระบาดใหม่ในหลายพื้นที่ ทำให้การกลับมาเปิดภาคเรียนในวันที่ 14 มิ.ย. 64 ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งหนึ่งในแนวทางลดผลกระทบ คือ การเรียนออนไลน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเรียนออนไลน์ เป็นภาวะจำเป็นในช่วงที่ยังมีการระบาดของโรคโควิด แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ ความไม่พร้อมในอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ สะท้อนจากผลสำรวจที่พบว่า กลุ่มผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยจะมีปัญหาเรื่องของอุปกรณ์การเรียนอย่างคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต (เครื่องมือสื่อสารในการเรียน) และอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะกลุ่มที่มีบุตรหลานในวัยเรียนมากกว่า 1 คน จะเผชิญกับข้อจำกัดในการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม และบางส่วนมองว่าต้องมีภาระรายจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ... อ่านต่อ
5 สิงหาคม 2563
จากความนิยมในการใช้บริการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงการทำตลาดของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทั้งปี 2563 จำนวนครั้งของการจัดส่งอาหารจะอยู่ที่ 66- 68 ล้านครั้งหรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 78.0-84.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด... อ่านต่อ
16 เมษายน 2563
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทั้งเชิงบวกและลบต่อธุรกิจ On-Demand ส่งผลให้มีการขยายตัวของมูลค่าตลาดในบริการบางประเภท ขณะที่บางส่วนกลับมีการหดตัวตัวลงอย่างมาก อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในกลุ่ม On-Demand ที่ได้รับความนิยมในปี 2563 จะมีมูลค่าสุทธิที่ 1.42 แสนล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.5 จากสถานการณ์ปกติ ซึ่งหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ว่าจะคลี่คลายเมื่อไร... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการขนส่งทางบกไทยต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง เนื่องจากบริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยักษ์ใหญ่ที่แต่เดิมเน้นให้บริการกับผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ กลับเริ่มขยายการลงทุนในประเทศไทยโดยเน้นการให้บริการกับผู้ผลิตที่ต้องการกระจายสินค้าภายในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยังให้เทคโนโลยีดิจิตัลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการขนส่งไทย จึงทำให้ผู้ประกอบการขนส่งไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... อ่านต่อ
จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับสถานการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีกในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า กว่าร้อยละ 60.0 ของผู้ประกอบการค้าปลีก มียอดขายที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ส่วนใหญ่ทำธุรกิจค้าปลีกสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง/น้ำมัน อุปโภคบริโภค) และในจำนวนดังกล่าวมีผู้ประกอบการค้าปลีกถึงร้อยละ 65.0 ที่ยังไม่มั่นใจกับผลประกอบการของตนเองว่าจะกลับมาฟื้นตัวหรือดีขึ้นเมื่อไร สะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในระยะข้างหน้า ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวและกดดันการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ยอดขายของค้าปลีกปี 2563 น่าจะเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7-3.0 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.1 โดยค้าปลีกที่เจาะกลุ่มลูกค้าฐานรากและกำลังซื้อปานกลางลงล่างอย่างร้านค้าปลีกดั้งเดิมและไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็น Segment ที่คาดว่าจะยังคงเผชิญข้อจำกัดของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค้าปลีกซูเปอร์มาร์เก็ตและ E-Commerce ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อปานกลางขึ้นบนยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าค้าปลีกใน Segment อื่นๆ ... อ่านต่อ
26 กันยายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในรูปแบบ E-Market Place (ตลาด... อ่านต่อ
26 พฤษภาคม 2559
... อ่านต่อ
3 มีนาคม 2558