26 กันยายน 2565
ตลาดการเงิน
... อ่านต่อ
FileSize KB
12 กันยายน 2565
5 กันยายน 2565
29 สิงหาคม 2565
22 สิงหาคม 2565
15 สิงหาคม 2565
8 สิงหาคม 2565
1 สิงหาคม 2565
25 กรกฎาคม 2565
18 กรกฎาคม 2565
18 กันยายน 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น ตามทิศทางค่าเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ซึ่งมีแรงหนุนจากข่าวการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายตามการส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงิน และยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นเวลานานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (อาทิ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านที่หดตัวลง) ก็อ่อนแอกว่าที่คาดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับจังหวะการซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
31 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังตลาดการเงินในประเทศกลับมาเปิดทำการหลังช่วงวันหยุดยาว โดยการแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามภาพรวมของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินด้วยทุกเครื่องมืออย่างเต็มรูปแบบอย่างไม่จำกัดเพื่อหนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับสู่เส้นทางการฟื้นตัว ทั้งนี้เงินบาทขยับแข็งค่าผ่านแนว 31.20 แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยลบจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 2/63 ของสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวลงลึกสุดในรอบกว่า 70 ปี ... อ่านต่อ
17 กรกฎาคม 2563
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลงในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากปัจจัยในประเทศ ทั้งความกังวลต่อความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ และปัจจัยทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิค หลังเงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ไปได้ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 1 เดือนครึ่งที่ระดับ 31.76 บาทต่อดอลลาร์ฯ ช่วงปลายสัปดาห์ ก่อนฟื้นกลับมาบางส่วน แต่ภาพรวมเงินบาทยังเป็นทิศทางอ่อนค่าสอดคล้องกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย หลังสหรัฐฯ-จีนมีประเด็นตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น... อ่านต่อ
26 มิถุนายน 2563
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีอานิสงส์จากสัญญาณทยอยคลายล็อกดาวน์เศรษฐกิจ และการออกมายืนยันว่า ข้อตกลงทางการค้าสหรัฐฯ และจีนในเฟสแรกยังเป็นไปตามเดิม นอกจากนี้เงินบาทยังแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องหลังกนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามเดิม อย่างไรก็ดีกรอบการแข็งค่าของเงินบาทชะลอลงบางส่วน เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเป็นระยะจากสถานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสัญญาณเสี่ยงต่อการระบาดซ้ำของโรคในหลายประเทศ... อ่านต่อ
7 กุมภาพันธ์ 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกตามการปรับโพสิชันก่อนการประชุมกนง. อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังกนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ 1% ขณะที่ผู้ว่าการธปท. ระบุว่า แม้เงินบาทได้อ่อนค่าลงมาแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่ยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนไหวอยู่มาก ทั้งนี้เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าจนถึงช่วงปลายสัปดาห์ซึ่งสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน) ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ... อ่านต่อ
31 มกราคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลง สอดคล้องกับทิศทางของหลายสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับแรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ ขณะที่แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนของผู้ประกอบการในประเทศก็เป็นปัจจัยลบของเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
24 มกราคม 2563
เงินบาททยอยอ่อนค่าลง ทั้งนี้เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อทำกำไรหลังเงินดอลลาร์ฯ มีแรงหนุนก่อนหน้านี้จากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค นำโดย เงินหยวนของจีน ซึ่งมีปัจจัยกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่เริ่มมีการยืนยันผู้ติดเชื้อในหลายๆ ประเทศ นอกจากประเทศจีน... อ่านต่อ
17 มกราคม 2563
เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าและเคลื่อนไหวในกรอบที่ระมัดระวังมากขึ้น หลังจากที่ธปท. แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทและพร้อมใช้มาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดค้าปลีก และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบของเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี สกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชียแข็งค่าขึ้นตามเงินหยวน รับข่าวสหรัฐฯ ไม่ระบุจีนบิดเบือนค่าเงิน และสหรัฐฯ-จีนได้ลงนามดีลการค้าเฟสแรกอย่างเป็นทางการแล้ว... อ่านต่อ
10 มกราคม 2563
เงินบาทกลับมาแข็งค่าปลายสัปดาห์ โดยเงินบาททรงตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะอ่อนค่าลงแตะระดับ 30.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือน สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นในตะวันออกกลาง หลังมีรายงานข่าวระบุว่า อิหร่านโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรัก เพื่อเป็นการตอบโต้ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบกลับมาบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ หลังสหรัฐฯ แถลงตอบโต้อิหร่านด้วยวิธีการคว่ำบาตร ไม่ใช่ปฏิบัติการทางการทหาร ซึ่งทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลางลง และเปลี่ยนจุดสนใจกลับไปที่การเตรียมลงนามดีลการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนในช่วงกลางเดือนม.ค. ... อ่านต่อ
3 มกราคม 2563
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง ขณะที่กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังธปท. ส่งสัญญาณดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด (หลังจากเงินบาทแข็งค่าหลุดแนว 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ไปแตะระดับ 29.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่งท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบางในช่วงสิ้นปี 2562) นอกจากนี้ทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคที่ขยับอ่อนค่าลงท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นในตะวันออกกลาง ก็เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันต่อเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
20 ธันวาคม 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าช่วงสั้นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนการประชุมกนง. ซึ่งมีจุดสนใจอยู่ที่การทบทวนประมาณการเศรษฐกิจและสัญญาณดอกเบี้ยในปีหน้า อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ แม้ว่ากนง. จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ระดับเดิมตามที่ตลาดคาด เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ กลับมาเผชิญแรงขาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินปลอดภัย (ทั้งเงินเยนและเงินบาท) หลังปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ถูกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง ประกอบกับมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย. และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนธ.ค.... อ่านต่อ
13 ธันวาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้แนว 30.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค นำโดย เงินหยวนของจีน หลังจากมีรายงานข่าวระบุว่าสหรัฐฯ และจีนใกล้ที่จะบรรลุดีลการค้าเฟสแรกระหว่างกัน ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงเทขายอย่างหนักหลังเฟดส่งสัญญาณภายหลังการประชุมรอบนี้ว่า จะยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้าหากไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่หนุนเงินบาทเช่นกัน... อ่านต่อ
6 ธันวาคม 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทเผชิญแรงขายในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากข้อมูล PMI ของจีนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนพ.ย. กระตุ้นแรงขายสินทรัพย์และสกุลเงินปลอดภัย เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบประมาณ 1 เดือนที่ 30.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังธปท. ส่งสัญญาณติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาท พร้อมกับระบุเตือนถึงแนวโน้มที่เงินบาทอาจผันผวนและไม่ได้แข็งค่าเพียงด้านเดียวเหมือนในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติก็เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน ... อ่านต่อ
29 พฤศจิกายน 2562
เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ หลังประธานาธิบดีของสหรัฐฯ และจีนต่างแสดงท่าทีเชิงบวกต่อโอกาสการเกิดดีลการค้าเฟสแรกระหว่าง 2 ประเทศ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด (อาทิ จีดีพีไตรมาส 3 และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค.) ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าได้เป็นระยะในระหว่างสัปดาห์ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ-และจีน โดยเฉพาะในประเด็นฮ่องกงและการเจรจารายละเอียดของดีลการค้า ขณะที่เส้นตายกำหนดการที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนวันที่ 15 ธ.ค. กำลังใกล้เข้ามา... อ่านต่อ
18 ตุลาคม 2562
เงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้ระดับ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ อีกครั้ง โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุม FOMC ช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ นอกจากนี้สัญญาณบวกของข้อตกลง BREXIT ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
11 ตุลาคม 2562
เงินบาทอ่อนค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 6 ปีที่ 30.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลต่อความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนในประเด็นการเจรจาการค้า และระหว่างสหภาพยุโรปและอังกฤษในเรื่องรายละเอียดของข้อตกลง BREXIT อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกดังกล่าวลงในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่ธปท. ส่งสัญญาณเตรียมจะออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทใน 1-2 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ แรงหนุนสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นรับความคาดหวังเชิงบวกต่อผลการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยกดดันของเงินบาทด้วยเช่นกัน... อ่านต่อ
4 ตุลาคม 2562
เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทขยับอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค และแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงท่ามกลางความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงจากสงครามการค้า สถานการณ์ BREXIT และสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตในสหรัฐฯ และยูโรโซน นอกจากนี้ สถานะขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยลบต่อเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ตอกย้ำทิศทางชะลอตัว อาทิ การจ้างงานภาคเอกชน และดัชนี ISM ภาคบริการในเดือนก.ย.... อ่านต่อ
27 กันยายน 2562
เงินบาททยอยอ่อนค่าลงมาเคลื่อนไหวในกรอบที่อ่อนค่ากว่าระดับ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในระหว่างสัปดาห์ ขณะที่ ทิศทางของของสกุลเงินเอเชียในภาพรวม เผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และประเด็น BREXIT นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ จากสัญญาณเชิงบวกของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งกระตุ้นความคาดหวังว่าทั้ง 2 ประเทศจะสามารถหาข้อสรุประหว่างกันได้ ... อ่านต่อ
20 กันยายน 2562
เงินบาททยอยแข็งค่ากลับมาท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และสถานะขายพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ยังหนุนให้เงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นช่วงก่อนการประชุมเฟดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยแข็งค่ากลับมาในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ (ที่ขยับขึ้นหลังเฟดไม่ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนในเรื่องการลดดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า) เริ่มจำกัดลง ประกอบกับธนาคารกลางของหลายประเทศยังไม่ลดดอกเบี้ยลงตามเฟด แม้ว่าจะยังคงส่งสัญญาณพร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินก็ตาม... อ่านต่อ
13 กันยายน 2562
เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีที่ 30.36 บาทต่อดอลาร์ฯ สอดคล้องกับเงินหยวน และสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ท่ามกลางสัญญาณเชิงบวกของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน หลังจากสหรัฐฯ เลื่อนเวลาการปรับขึ้นภาษีจากวงเงินสินค้านำเข้า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ออกไปเป็นวันที่ 15 ต.ค. จากกำหนดเดิมวันที่ 1 ต.ค.นี้ ขณะที่จีนก็ได้เปิดเผยรายการสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 1 ปีจนถึง 16 ก.ย. 2563 นอกจากนี้ ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ยังมีแรงหนุนจากท่าทีผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ด้วยเช่นกัน อนึ่ง ECB ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับ ECB ลงมาที่ -0.50% และประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์รอบใหม่ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ... อ่านต่อ
6 กันยายน 2562
เงินบาทเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับค่าเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางความกังวลต่อสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นช่วงกลางสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายหลังจากดัชนี ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯ สะท้อนภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ประกอบกับสกุลเงินในภูมิภาคและสินทรัพย์เสี่ยงกลับมาได้รับแรงหนุนจากการที่ตลาดคลายความกังวลต่อสถานการณ์ BREXIT และเหตุการณ์ในฮ่องกงลงบางส่วน กระนั้นก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด อาทิ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และดัชนี ISM ภาคบริการเดือนส.ค. ... อ่านต่อ
30 สิงหาคม 2562
เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือนที่ 30.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับแรงหนุนของสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ ภายหลังจากที่สหรัฐฯ และจีน ปรับขึ้นภาษีตอบโต้กัน ซึ่งทำให้ภาวะสงครามการค้ามีความตึงเครียดมากขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ตามแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนจากในประเทศ ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ขณะที่ ตลาดรอประเมินความคืบหน้าและโอกาสการกลับมาเจรจาเพื่อลดข้อพิพาททางการค้าระหว่างกันของสหรัฐฯ และจีน ... อ่านต่อ
2 สิงหาคม 2562
เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงหลังผลการประชุมเฟด โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ที่ชะลอลงระหว่างที่ตลาดรอติดตามผลการประชุมเฟดและการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ดี เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ หลังจากที่ถ้อยแถลงของประธานเฟดยังไม่สะท้อนถึงโอกาสของการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป แม้เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบล่าสุดก็ตาม สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า แต่ลดช่วงติดลบกลับมาได้เกือบทั้งหมด ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ... อ่านต่อ