16 มีนาคม 2566
บริการ
ภัยไซเบอร์... อาจทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการซื้อสินค้าผ่าน B2C E-commerce มากขึ้น... อ่านต่อ
FileSize KB
16 พฤศจิกายน 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มูลค่าตลาด B2C E-Commerce ปี 2565-2566 จะเติบโตชะลอลง หลังจากที่เร่งตัวสูงด้วยอัตราเลขสองหลักในช่วงโควิด-19 โดยในปี 2566 คาดว่าตลาดอาจขยายตัวราว 4-6% ซึ่งต่ำสุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ย 26% ต่อปี โดยจำนวนผู้ใช้บริการ E-Commerce รายใหม่ น่าจะเริ่มอิ่มตัวหลังจากที่เข้ามาจำนวนมากในช่วงโควิด-19 อีกทั้งค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น ยังคงกดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคให้มีการใช้จ่ายอย่างจำกัด นอกจากนี้ ธุรกิจยังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงรอบด้าน รวมถึงระบบโลจิสติกส์ หรือการจัดส่งสินค้าที่อาจล่าช้าและมีต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น ภายใต้ปัจจัยท้าทายดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การบริหารจัดการตลอด Supply chain ตั้งแต่การคัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ลูกค้า ช่องทางการขายที่หลากหลาย รวมถึงการใส่ใจในการให้บริการลูกค้าที่ดีสม่ำเสมอ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างหรือรักษายอดขาย ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและมีทางเลือกค่อนข้างมาก... อ่านต่อ
22 มิถุนายน 2565
ธุรกิจ Food Delivery เผชิญโจทย์ยากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลาย ความจำเป็นในการสั่งอาหารมาส่งที่พักลดลง ราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น … ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก หรือไรเดอร์ทำให้จำเป็นต้องหาวิธีการรับมือกับรายได้สุทธิที่ลดลง โดยกลุ่มตัวอย่างกว่า 70% ใช้เวลาทำงานรับออเดอร์ให้มากขึ้น เพื่อให้รายได้กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า ขณะที่ในระยะข้างหน้า การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น คงจะต้องเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ของการจัดส่งอาหาร ทั้ง แพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ร้านอาหาร และไรเดอร์เอง ทั้งนี้ ท่ามกลางโจทย์ธุรกิจที่มีความซับซ้อน การแข่งขันที่รุนแรง และต้นทุนธุรกิจทุกด้านปรับตัวเพิ่มขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธุรกิจจัดส่งอาหารน่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 – 5.0 หรือมีมูลค่าประมาณ 7.7 – 8.0 หมื่นล้านบาท ชะลอลงจากที่เติบโตร้อยละ 46.4 ในปี 2564... อ่านต่อ
1 มีนาคม 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จากภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความไม่แน่นอนของโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากความไม่สงบในยูเครนที่อาจยืดเยื้อ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้คาดว่า ปี 2565 ธุรกิจ B2C E-commerce กลุ่มสินค้า แม้อาจขยายตัวราว 13.5% หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 5.65 แสนล้านบาท แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงและต่ำสุดเทียบกับ 3 ปีก่อนหน้าที่ขยายตัวเฉลี่ย 40% ต่อปี อีกทั้งการเติบโตของธุรกิจ หลักๆ แล้วน่าจะไม่ได้เกิดจากค่าใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นการปรับพฤติกรรมและช่องทางการซื้อขายสินค้าจากหน้าร้าน (Physical stores) มาเป็นออนไลน์ (E-Commerce) มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัว ที่เดิมผู้บริโภคซื้อผ่านไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และคอนวีเนี่ยนสโตร์ ก็หันมาซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้ประกอบการกลุ่มนี้มากขึ้น แต่ในขณะที่ยอดขายในภาพรวมของผู้ประกอบการอาจจะยังโตในกรอบที่จำกัด และเป็นผลของราคาเป็นหลัก... อ่านต่อ
14 กันยายน 2564
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่าโควิด-19 จะเป็นตัวเร่งให้มูลค่าตลาด B2C E-commerce มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าธุรกิจค้าปลีกในภาพรวม แต่สัญญาณดังกล่าวส่งผลต่อภาพการแข่งขันที่ยากและรุนแรงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เล่น ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง และการเติบโตของ E-commerce อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการปรับช่องทางการซื้อขายสินค้าจากเดิมที่ซื้อผ่านช่องทางหน้าร้าน (Physical store) มาเป็นการซื้อขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้ส่วนตัว จึงเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวในแต่ละช่องทางการขายให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งหากรายได้ที่เข้ามาไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ น่าจะเผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ... อ่านต่อ
8 กันยายน 2564
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ (VAT for Electronic Service: VES) เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดเก็บภาษีในโลกของเศรษฐกิจดิจิทัล (Taxation of the Digital Economy) โดยที่ผ่านมา หลายประเทศได้มีการออกกฎหมายการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศในหลากหลายรูปแบบและครอบคลุมแต่ละธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างกัน ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีนี้ตามหลักการเพื่อสร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ และช่วยให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการทั้งผู้ประกอบการธุรกิจและผู้บริโภคในที่สุดแล้วคงได้รับผลกระทบจากการส่งผ่านต้นทุนและราคา ซึ่งจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมในแต่ละธุรกิจ ... อ่านต่อ
26 พฤษภาคม 2563
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การทำธุรกิจ E-Commerce ภายใต้สภาวะ New normal แม้ว่าจะกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์ (B2C E-Commerce เฉพาะสินค้า) เติบโตขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับการแข่งขันที่รุนแรงเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ E-Market place ต่างชาติ ซึ่งนอกจากจะเผชิญแรงกดดันจากประเด็นกำลังซื้อของผู้บริโภคแล้ว ยังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในกลุ่มสินค้า Non-food กับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะ (Specialty store) ที่มี Website หรือ Brand รวมถึงไม่สามารถขยายครอบคลุมสินค้ากลุ่ม Food และ FMCG ได้ง่าย เพราะผู้ประกอบการ Modern trade อย่างพวกซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ต่างอาศัยจังหวะดังกล่าวโหมเข้ามาทำตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คาดว่าปี 2563-2565 กลุ่ม E-Market place ต่างชาติ จะยังขาดทุนต่อเนื่องราวร้อยละ 30-40 ต่อปี เมื่อเทียบกับรายได้... อ่านต่อ
28 พฤศจิกายน 2562
ปัจจุบัน E Marketplace ได้เริ่มมาลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าแบบ E Fulfillment มากขึ้น เนื่องจาก E Fulfillment คือ หัวใจของ E Marketplace ที่มีหน้าที่มากกว่าการจัดส่งสินค้าให้ถึงปลายทาง แต่ยังใช้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การซื้อซ้ำ และการเพิ่มยอดขายของ E Marketplace ในที่สุด ดังนั้น จึงเกิดศูนย์กระจายสินค้าสำหรับ E Fulfillment รูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นการย่นระยะเวลาในการสั่งซื้อ (shorten order cycle) และ จัดส่งสินค้าให้รวดเร็วที่สุด... อ่านต่อ
8 พฤศจิกายน 2562
ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการขนส่งทางบกไทยต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง เนื่องจากบริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยักษ์ใหญ่ที่แต่เดิมเน้นให้บริการกับผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ กลับเริ่มขยายการลงทุนในประเทศไทยโดยเน้นการให้บริการกับผู้ผลิตที่ต้องการกระจายสินค้าภายในประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทโลจิสติกส์ต่างชาติยังให้เทคโนโลยีดิจิตัลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการขนส่งไทย จึงทำให้ผู้ประกอบการขนส่งไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... อ่านต่อ
จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับสถานการณ์และมุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีกในกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่า กว่าร้อยละ 60.0 ของผู้ประกอบการค้าปลีก มียอดขายที่แย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ส่วนใหญ่ทำธุรกิจค้าปลีกสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง/น้ำมัน อุปโภคบริโภค) และในจำนวนดังกล่าวมีผู้ประกอบการค้าปลีกถึงร้อยละ 65.0 ที่ยังไม่มั่นใจกับผลประกอบการของตนเองว่าจะกลับมาฟื้นตัวหรือดีขึ้นเมื่อไร สะท้อนถึงความกังวลของผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในระยะข้างหน้า ท่ามกลางกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวและกดดันการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ยอดขายของค้าปลีกปี 2563 น่าจะเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7-3.0 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.1 โดยค้าปลีกที่เจาะกลุ่มลูกค้าฐานรากและกำลังซื้อปานกลางลงล่างอย่างร้านค้าปลีกดั้งเดิมและไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็น Segment ที่คาดว่าจะยังคงเผชิญข้อจำกัดของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค้าปลีกซูเปอร์มาร์เก็ตและ E-Commerce ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อปานกลางขึ้นบนยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าค้าปลีกใน Segment อื่นๆ ... อ่านต่อ
24 กันยายน 2562
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจ Last-mile Delivery ในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ ยังคงขยายตัวตามการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce เป็นหลัก ราวร้อยละ 11.0 ต่อปี หรือมีมูลค่าประมาณ 36,000 – 37,000 ล้านบาท ในปี 2563 อย่างไรก็ดี หลังจากนี้ คาดว่า ตลาดจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงและยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นของกลุ่ม E-Market Place ซึ่งกำลังพัฒนาระบบ Last-mile Delivery ภายใต้ แบรนด์ตัวเอง หรือจับมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ นำมาซึ่งความเสี่ยงในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่สูง หรือมีสายป่านไม่ยาวพอ ... อ่านต่อ
26 กันยายน 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในรูปแบบ E-Market Place (ตลาด... อ่านต่อ